วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตอนที่ 6. ปฐมบท ของจุดเริ่มต้นทำสงครามกับการก่อการร้าย แย่งชิงทรัพยากร สู้เป้าหมายตะวันออกกลาง






การทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้าย ตบตาชาวโลก ของสหรัฐ และพันธมิตร (จบ)
ตอนที่ 6. ปฐมบท ของจุดเริ่มต้นทำสงครามกับการก่อการร้าย แย่งชิงทรัพยากร สู้เป้าหมายตะวันออกกลาง
“เครื่องบิน”
  • ตอนนี้ท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจแล้วถึงความแข็งแรงของตึกแฝดที่ไม่สามารถพังมันลงมาได้ด้วยการรื้อถอนแบบดั้งเดิมใดๆ แต่ด้วยการระเบิดนิวเคลียร์ความร้อนใต้ดินอย่างรุนแรงเท่านั้น อีกคำถามที่น่าสนใจสำหรับการพิจารณา คือ เครื่องบินโดยสารที่ทำจากอลูมิเนียม สามารถเจาะทะลุตึกแฝด อย่างที่ถ่ายทอดให้เราดูทางโทรทัศน์ได้หรือไม่
  • ตัวอย่างการชนของเครื่องบินกับตัวตึกเวิร์ดเทรดhttp://www.youtube.com/watch?v=cXxZNHrtyuU ตามเนื้อหาที่ได้ชมเป็นวิดีโอ การแต่งเรื่อง 9/11 อย่างน่าเกลียดที่สุดโดย Evan Fairbanks ซึ่งจะเห็นเครื่องบินอลูมิเนียม ตัดทะลุผ่านโครงเหล็กตึกทิศใต้ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (ซึ่งหนาเทียบเท่ากับเกราะหน้ารถถัง) อย่างง่ายดายราวกับว่าเครื่องบินทำด้วยเหล็ก และตึกทำด้วยเนย อีกทั้งเราจะสังเกตุได้ว่า ชายคนที่อยู่ในคลิป ไม่ได้มีปฏิกิริยาต่อเสียงเครื่องบินที่กำลังเข้ามาหรือเสียงแปลก ๆ ของอลูมิเนียมที่ชนทะลุเหล็ก ชายคนดังกล่าวมีปฏิกิริยาต่อการระเบิดในตึกเพียงแค่นั้น ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจน เมื่อดูเครื่องบิน - ท่านจะสังเกตุได้ว่าเครื่องบินหายเข้าไปในตึก - โดยไม่มีชิ้นส่วนเครื่องบินตกหล่นแม้แต่ชิ้นน้อย และสิ่งที่น่าขำที่สุดคือ - ความเร็วของเครื่องบินไม่ได้ลงลดเมื่อ "ทะลุผ่าน" ตึก....
  • อย่างแรกสุด เพื่อที่จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เราลองกลับมาดูอย่างสั้นๆ ถึงจุดเริ่มที่บทความตอนที่ 5 เนื่องจากตึกแฝดไม่ได้ถล่มเพราะน้ำมันเชื้อเพลิงจากเครื่องบิน แต่เป็นเพราะการระเบิดนิวเคลียร์ความร้อนใต้ดินขนาดใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้นมันถล่มลงมาใน “คำสั่งที่ผิดพลาด” และนอกจากนี้ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 7 ซึ่งไม่ได้ถูกชนโดย “เครื่องบินก่อการร้าย” ใดๆก็ถล่มลงมาด้วย เราสามารถสันนิษฐานได้ว่าเครื่องบินไม่ได้จำเป็นจริงๆ มันเกินความจำเป็น เพราะมันไม่ได้ช่วยอะไรกับการถล่มของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์นี้ (น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเพลิงไหม้อาจนำเข้ามาในถังบาร์เรล) เมื่อเครื่องบินนั้นเกินความจำเป็น จึงสามารถจะเชื่อได้ว่า อาชญากรรมในวันที่ 11 กันยายนสามารเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมีเครื่องบินลำใดๆมาเกี่ยวข้อง ตึกแฝดและตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 7 ก็ต้องถล่มอยู่ดี เนื่องจากบางคนได้ตัดสินไปเช่นนั้นและไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ “เครื่องบิน” เพราะฉะนั้นนักวิจัยเหตุการณ์ 11 กันยายนผู้มีเหตุผลหลายท่านเริ่มที่จะตั้งคำถามต่อแถลงการณ์ของรัฐบาลสหรัฐฯที่ว่ามี “เครื่องบิน” ที่พุ่งชนตึกแฝดอย่างชัดเจน งานวิจัยมากมายปรากฎอยู่บนอินเตอร์เน็ตในขณะนี้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งวีดีโอที่โด่งดัง “เงื่อนงำเกี่ยวกับ กันยา” (September clues) และ “โกหก” (FOXED OUT) บนเวบไซต์ยูทูบ) ซึ่งประกอบไปด้วยการวิเคราะห์คลิป 11 กันยายนหลายๆอันซึ่งแสดงให้เห็นถึง “เครื่องบิน” และการพิสูจน์ว่า “เครื่องบิน” นี้เป็นภาพที่สร้างขึ้น อย่างไรก็ตามผู้เขียนข้อความเหล่านี้เลือกใช้วิธีการอื่น แทนที่การวิเคราะห์สิ่งที่ไม่สอดคล้องกันหลายๆอย่างของวีดีโอเกี่ยวกับเหตุการณ์ 11 กันยายนดังกล่าว ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่าผู้เขียนข้อความเหล่านี้เลือกที่จะมุ่งตรงไปยังประเด็นที่ตนต้องการ อลูมิเนียมไม่สามารถเจาะทะลุเหล็กได้ ในการที่จะเชื่อว่าเครื่องบินอลูมิเนียมโบอิ้ง 767 สองลำสามารถที่จะทะลุทะลวงเสารอบนอกหนาสองชั้น เหมือนกับว่ากฎฟิสิกส์ตัดสินใจที่จะไปพักผ่อนในวันที่ 11 กันยายน 2001 อย่างกระทันหัน
  • เป็นที่เข้าใจได้ว่าบางคนอาจจะตั้งคำถามต่อไปนี้ เมื่อเครื่องบินที่ทำจากอลูมิเนียมบินด้วยความเร็วเกือบ 500 ไมล์ต่อชั่วโมง เนื่องจากมวลมหาศาลและความเร็วมันจึงมีพลังงานจลน์มากพอที่จะเจาะทะลุตึกแฝด แม้ว่าตึกแฝดจะทำจากเหล็กกล้าก็ตาม อย่างไรก็แล้วแต่นี่เป็นวิธีการที่ผิด ใช่ ตามปรกติมันดูเหมือนว่าเครื่องบินลำใหญ่ ที่กำลังเคลื่อนที่อย่างเร็วก็คือพลังงานจำนวนมาก และคนที่คิดว่ามันมีเหตุผลสำหรับเครื่องบิน ในการที่จะสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับตึกที่พุ่งชน แต่ท่านคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้น สมมุติว่า ถ้าเครื่องบินหยุดอยู่กับที่ในอากาศ และใครบางคนหยิบหนึ่งในตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ขนาดมหึมาขึ้นมา แกว่งมันไปมาอย่างรุนแรง และฟาดใส่เครื่องบินที่ความเร็ว 500 ไมล์ต่อชั่วโมง? 
  • ท่านคิดว่ามันจะทำให้เครื่องบินพังยับ หรือเครื่องบินจะทะลุผ่านตึกที่เข้ามาปะทะอย่างง่ายดาย โดยที่ไม่มีแม้กระทั่งชิ้นส่วนที่เล็กที่สุดหลงเหลืออยู่ด้านนอกของตึกเลย (ตึกที่มีความหนาสองเท่าของเกราะด้านหน้าของรถถัง)? ลองคิดถึงปัญหาสมมติฐานดังกล่าว เพราะว่าแม้เครื่องบินจะพุ่งชนตึกที่ตั้งอยู่กับที่ หรือเครื่องบินที่หยุดอยู่กับที่แล้วเอาตึดพาดใส่เครื่องบินด้วยความเร็ว 500 ไมล์ หลักฟิสิกส์ของเหตุการณ์นี้ก็ยังคงเหมือนกัน ความรู้สึกตอบโต้โดยสัญชาตญาณต่อการทำลาย จาก “เครื่องบินที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว” อาจจะไม่ถูกต้องเท่าใดนัก
  • "ตัวอย่างของเครื่องบินที่พุ่งชนตึก ซึ่งแม้แต่ปลายส่วนหางด้านบนอันบอบบาง ก็ยังทะลุเข้าไปในโครงสร้างเหล็กหนาได้ โดยไม่มีเศษชิ้นส่วนใดของเครื่องบินหลุดออกมาแม้แต่น้อย ซึ่งตามหลักฟิสิกส์ ไม่มีทางเป็นไปได้" http://www.youtube.com/watch?v=inXhxm47JrY
  • ซึ่งสิ่งที่ควรจะเป็นตามหลักฟิสิกส์ ยานยนต์หรือากาศยาน เวลาพุ่งเข้าชนอาคารที่โครงสร้างแข็งแรง จะไม่สามารถทะลุเข้าไปในอาคาร เนื่องด้วยตัวถังที่กลวงของยานพาหนะ โดยมากจะติดคาอยู่ภายนอกอาคาร ดูจากภาพประกอบเครื่องบินชนอาคาร ที่เคยเกิดขึ้น.
  • หลายคนที่ในตอนแรกไม่ได้ให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดต่อการก่อสร้างของตึกแฝด และคิดในตอนแรกว่าด้านนอกของตึกแฝด ทำมาจากหน้าต่างกระจกแผ่นใหญ่เพียงอย่างเดียว (ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่าเครื่องบินสามารถเจาะเข้ามาได้) ต่อมากลับตกตะลึงว่าตึกแฝดในความเป็นจริงแล้วภายนอกอาคารทำจากเสาเหล็กกล้าอย่างหนา ไม่ได้ต่างจากเสาแกนกลางตึกเหล็กกล้าด้านใน และเสาเหล็กกล้าที่ติดตั้งอย่างแน่นหนานี้ที่จริงแล้วประกอบกันเป็นผนังด้านนอกของตึก เมื่อเรื่องนี้เป็นที่ชัดเจน มันยังชัดเจนอีกด้วยว่าไม่มีเครื่องบินที่จะสามารถพุ่งชนเข้าไปได้ทั้งลำ (รวมไปถึงแม้กระทั่งปลายของปีกและหาง ไม่ต้องพูดถึงเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนใต้ปีกเลย) ผ่านเสาเหล็กกล้าอย่างหนารอบนอกที่ติดตั้งอย่างแน่นหนา และหายเข้าไปในตึกหมดทั้งลำโดยที่ไม่มีแม้กระทั่งชิ้นส่วนที่บอบบางที่สุดของเครื่องบินหล่นลงมาที่พื้นถนนเลย
  • ผู้อ่านสูงวัยบางท่านอาจจะพอจำได้ว่า อะไรคือผลของการพุ่งชนเรือรบหลักและเรือบรรทุกเครื่องบินของอเมริกา โดยเครื่องบินพลีชีพกามิกาเซ่ ของญี่ปุ่นถ้าเครื่องบินเหล่านั้นชนเข้าที่ด้านข้างเรือ เครื่องบินแค่แตกออกเป็นเสี่ยง (โดยที่ไม่ได้เจาะทะลุด้านข้างเรือ) และตกลงอย่างง่ายดาย ในกรณีของเรือที่ไม่หุ้มเกราะ สิ่งที่มากที่สุดที่สุดที่เจาะทะลุเข้าไปในเรือได้จริงๆ คือ มอเตอร์เหล็ก แต่ไม่เคยมีส่วนอื่นของเครื่องบิน เช่น ปีก หาง หรือลำตัว ทะลุเข้าไปในตัวเรือได้ จะมีใครที่เชื่อจริงๆหรือว่าเครื่องบิน “โบอิ้ง” ทั้งลำ (รวมไปถึงหาง ปีก และเครื่องยนต์ขนาดใหญ่) ที่ทำจากอลูมิเนียม จะสามารถเจาะทะลุผ่านผนังเสาเหล็กหนา 2.5 นิ้ว (หนากว่าเกราะรถถัง) ซึ่งเสาแต่ละต้นตั้งห่างจากกัน 1 เมตรตามแนวรอบนอกตึกแฝด?
  • จริงๆแล้วมันอาจจะยากเกินไปสักหน่อยที่จะทำความเข้าใจว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับอลูมิเนียมที่จะเจาะทะลุเหล็ก ดังนั้นเพื่อที่จะทำความเข้าใจเรื่องนี้โดยเฉพาะ นี่คือคำบอกใบ้เล็กๆน้อยๆ – ข้อสมมติฐานเบื้องต้น เป็นที่ทราบกันดีว่ากระสุนปืนใหญ่เจาะเกราะทำจากวัสดุที่แข็งแรงกว่าเกราะที่ต้องการจะเจาะทะลุ ตามปกติกระสุนปืนใหญ่เจาะเกราะจะทำจากแร่วูลแฟรม(ทังสเตน) (อเมริกาก็ผลิตลูกปืนใหญ่เจาะเกราะ โดยใช้แร่ยูเรเนียม-238 แทนที่แร่วุลแฟรมซึ่งมีราคาแพง แร่ยูเรเนียม-238นี้ ถือได้ว่าเป็นแร่ที่ไร้ประโยชน์ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังสามารถใช้เป็นวัสดุสำหรับทำเป็นเกราะป้องกันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นแร่ที่มีน้ำหนักและความหนาแน่นมากกว่าเหล็กทั่วไป)
  • กระสุนปืนใหญ่เจาะเกราะที่ทำจากอลูมิเนียมไม่ได้มีอยู่จริง มันคือความจริงที่พิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง เหมือนกับที่ไม่มีดาบอลูมิเนียมหรือเครื่องมือตัดเจาะอื่นๆทำจากโลหะนี้อยู่จริง ความคิดที่ว่าสิ่งของที่ทำจากอลูมิเนียมอาจจะสามารถตัดเหล็กได้ฟังดูจะ “แปลกเหลือเชื่อ” ไปสักหน่อย แต่ไม่ได้หมายความว่าบ้า ควรจะมีการระบุเพิ่มเติมด้วยว่า กระสุนปืนใหญ่เจาะเกราะที่ใช้ยิงต่อสู้กับรถถังหรือสิ่งหุ้มเกราะอื่นๆ พุ่งไปที่เป้าหมายด้วยความเร็วอย่างน้อยสามเท่าของความเร็วของเสียง ดังนั้นถึงแม้ว่ามันจะทำจากแร่วูลแฟรม ความจริงข้อนี้เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้มันมีประสิทธิภาพในการเจาะเกราะได้ นอกจากนี้ความเร็วที่สูงมากเป็นปัจจัยที่จำเป็นลำดับที่สองด้วย ความเร็วของกระสุนปืนใหญ่เจาะเกราะแบบปรกติที่ถูกยิงออกจากปืนใหญ่ต่อสู้รถถังมีมากกว่าความเร็วเสียงสามเท่าหรืออย่างน้อย 1,000 เมตรต่อวินาที แต่โดยปรกติจะเร็วกว่านั้น ขณะที่ความเร็วในการเดินทางสูงสุดของเครื่องบินโดยสารโบอิ้งลำใดๆก็ตามช้ากว่าความเร็วเสียง คือ น้อยกว่า 250 เมตรต่อวินาทีในกรณีที่ดีที่สุด
  • เป็นการดีที่เราจะพิจารณาเสาเหล่านี้อีกครั้ง และจินตนาการว่าผนังหนาสองเท่าเปรียบเทียบได้กับเกราะบางอันที่ใช้ทำรถถัง ในการที่จะเจาะทะลุเสาพวกนี้เพียงอย่างเดียวคงจะเป็นงานที่ท้าทายสำหรับกระสุนปืนใหญ่เจาะเกราะที่ถูกยิงออกจากปากกระบอกอันยาวของปืนใหญ่ต่อสู้รถถังในระยะเผาขน ในความเป็นจริงแนวคิดเกี่ยวกับ “ผนังสองชั้น” นี้นำมาใช้ได้แค่กับกรณีของกระสุนปืนใหญ่เจาะเกราะเท่านั้น เพราะว่ามันต้องพบกับภารกิจในการเจาะทะลุเพียงแค่ผนังสองชั้นที่ทำมุมฉากกับวิถีกระสุน
  • อย่างไรก็ตาม เครื่องบินอลูมิเนียมต้องเผชิญกับภารกิจที่ใหญ่ยิ่งกว่า นั่นคือผนังเสาสองชั้นที่ทำมุมฉากกับมัน มันต้องตัดผนังมากกว่าสองชั้น ซึ่งขนานไปกับมัน เพราะปล่องแต่ละอันมีผนัง 4 ด้านไม่ใช่แค่ 2 และสองด้านที่คู่ขนานนี้จะต้องมี “ความหนา” ที่มากมายยิ่งกว่าอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผนังเสาด้านที่ขนานกับตัวเครื่องบิน มีความหนาถึง 17 นิ้ว"
  • ตอนนี้มันคงจะง่ายขึ้นที่จะพิจารณาประสิทธิภาพในการเจาะเกราะ ที่กล่าวมาของ “เครื่องบินอลูมิเนียมโบอิ้ง 767” หลังจากการเปรียบเทียบกับกระสุนปืนใหญ่เจาะเกราะ ทำไม “คณะกรรมาธิการเหตุการณ์ 11 กันยายน” หรือเหล่า “วิศวกร” จากสถาบันมาตรวิทยาสหรัฐฯ (NIST) ที่กล่าวถึงข้างต้นถึงไม่ต้องการที่จะพยายามทำการทดสอบแบบเจาะลึกกับผู้โดยสารเครื่องบินโบอิ้ง 767 ที่ถูกละเลยและกับเสาจำนวนมากเหล่านั้น การทดสอบแบบนี้อาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่จะพิสูจน์ให้กับคนที่ยังสงสัยว่ามันเป็น “เครื่องบินก่อการร้าย” จริงๆที่ถล่มตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ความเข้าใจพิเศษอันนี้นำหลายคนไปสู่ความเชื่อที่ว่า เนื่องจากเครื่องบินประเภทที่ทำจากอลูมิเนียมไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำนี้ ดังนั้นจึงมีเพียงแค่เครื่องบินประเภท “ภาพที่สร้างขึ้น จากซีจีกาฟฟิก ในภาพยนต์” ที่สามารถเจาะทะลุผนังเหล็กหนาสองชั้นรอบนอกของตึกแฝด ลักษณะของ “โพรงซึ่งถูกเจาะโดยเครื่องบิน” ดูไม่เหมือนรูปร่างของเครื่องบินแม้แต่น้อย โดยหลักการแล้ว คำอธิบายของเหตุการณ์นี้ง่ายมาก ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นจากแท่งเหล็กแค่เพียงอย่างเดียว แต่มันยังมีแผ่นอลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ ครอบอยู่ด้านนอกของตัวตึก และต่างจากเสาเหล็กโครงสร้างของตึก (ซึ่งเป็นชิ้นเดียวกันนับตั้งแต่ฐานล่างหินแกรนิตของแมนฮัตตั้น ไปถึงด้านบนสุดของยอดตึก) แผ่นอลูมิเนียมเหล่านี้ประกอบขึ้นจากแผ่นอลูมิเนียมสั้นๆ หลายๆ แผ่นต่อกันเป็นส่วนๆ ขึ้นไป ปัญหาเรื่องผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ 11 กันยายน ก็คือ การวางระเบิด (เพื่อที่จะสร้างโพรงหลอกๆ จากการชนของเครื่องบิน) ดังนั้นการวางระเบิดต้องทำจากภายนอกไม่ใช่จากภายในตึก กล่าวคือการวางระเบิดนั้นต้องกระทำโดยให้แรงระเบิดเป็นไปในทิศทางเข้าด้านในตัวตึก เพื่อแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นได้เกิดขึ้นจริง แต่ที่จริงโพรงดังกล่าวมันถูกทำลายด้วยระเบิดจากภายใน และดังนั้นผู้คนจึงพบเห็นชิ้นส่วนของตึกได้บนถนนของแมนฮัตตันแทนที่จะเป็นล้อหรือเครื่องยนต์ของเครื่องบิน
  • แน่นอนว่าที่กล่าวมานั้นไม่สามารถยอมรับได้ การจะไปติดระเบิดจากด้านนอกของตัวตึกแฝดก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน เพราะมันจะทำให้เป็นที่สังเกตได้ ผู้ก่อการฉลาดแกมโกงของเหตุการณ์ 11 กันยายน จึงวางระเบิดซ่อนไว้ในระหว่างใต้ส่วนอลูมิเนียมครอบด้านนอกตัวตึกและตัวเสาเหล็กกล้าของตึกเอง แรงระเบิดพุ่งเข้าไปด้านในของตัวตึกเพื่อตัดเสาเหล็กตรงจุดที่ต้องการอย่างแม่นยำ แล้วมันก็ใช้การได้เสียด้วย
  • จริงๆแล้วก็มีการตัดตรงเสาเหล็กด้านในหลายๆจุด ที่ต้องการเพื่อให้เกิดเป็นโพรงที่ตรงกับจุดที่ควรจะถูกชนโดยเครื่องบิน ยิ่งไปกว่านั้นตรงปลายของเสาเหล็กมีการดัดโค้งงอเข้าไปด้านในอย่างที่ควรจะเป็น แต่โชคไม่ดีที่ผู้ก่อการเหตุการณ์ 11 กันยายน ลืมคิดคำนวนถึงบางอย่างไป แม้ว่าแรงระเบิดส่วนใหญ่ของระเบิดเหล่านี้มีทิศทางเข้าสู่ด้านในตัวตึก ตามทิศทางโค้งงอของเหล็ก แต่บางส่วนกลับระเบิดออกในทางกลับกัน ส่งผลให้เกิด “การถีบกลับ” และการถีบกลับนี้เองเป็นตัวระเบิดส่วนหน้าของตัวตึกที่เป็นอลูมิเนียม แทนที่จะเป็นการตัดแผ่นอลูมิเนียมอย่างระมัดระวังในจุดที่ต้องการ การระเบิดอย่างไร้ระเบียบควบคุมไม่ได้ ได้ทำให้ชิ้นส่วนอลูมิเนียมยาวๆ ทั้งชิ้นตกราวกับถูกโยนออกมาด้านนอกถนน
  • เนื่องมาจากระเบิดที่ถูกติดตั้งไว้ยังไม่ได้คำนวนถึงแรงยึดติดกันของแผ่นอลูมิเนียมผนังด้านนอกให้ดี เป็นผลให้จุดที่โดนระเบิดแต่ละที่มีความเสียหายไม่เท่ากัน ดูได้จากแผ่นอลูมิเนียมที่บ้างก็หลุดออกมาหนึ่งส่วน สองส่วน และในบางที่ก็ถึงสามส่วนเลยทีเดียว และด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ “โพรงที่ถูกเจาะโดยเครื่องบิน” มีสภาพและรูปร่างโง่ๆ เป็นบันไดแทนที่จะมีรูปร่างเป็นรูปของ“เครื่องบิน”อย่างที่ควรจะเป็น (ตามภาพที่ 3)
  • ในรูป (ภาพที่ 3 ) ที่มีเห็นผู้หญิงคนหนึ่ง กำลังยืนพิงเสาเหล็กต้นหนึ่งของตึกเวิลด์เทรดที่หลุดยื่นอย่างหมดหวัง ทราบชื่อในภายหลังว่าเป็นนางเอ็ดน่า ซินตรอน ซึ่งหวังจะได้รับการช่วยเหลือในนาทีสุดท้ายก่อนการพังทลายของตึก โชคร้ายที่เธอเสียชีวิตขณะที่ตึกทิศเหนือถล่ม แม้ว่าในช่วงวินาทีสุดท้ายของชีวิตนี้หล่อนได้แสดงให้ทั่วโลกได้เห็น (ในความเป็นจริง จุดที่เธอยืนอยู่เรียกได้ว่าเป็น “hot spot” ซึ่งควรเป็นที่ๆ “เหล็กหลอมละลาย”)ไม่สามารถอยู่ในบริเวณนั้นได้ อเมริกาได้โกหกหน้าตาเฉยต่อชาวโลก
  • แน่นอนว่า คนที่ไม่รู้เรื่องราวอีกมากมายที่อ่านมาถึงจุดนี้ ย่อมตั้งคำถามที่มีเหตุผล – เกี่ยวกับพยานบุคคลซึ่งเห็น “เครื่องบิน” ด้วยตาตนเองล่ะ คำตอบคือ พยานที่ไม่เห็นเครื่องบินใดๆ เลย มีจำนวนเท่าๆ กันกับ “ประจักษ์พยาน” ซึ่งแสร้งทำเป็น “เห็น” “เครื่องบิน” เหล่านั้น ดังนั้นท่านคงเข้าใจแล้วว่า เหตุการณ์ 11 กันยายน นั้นเป็นการลวงโลกครั้งยิ่งใหญ่ และหากไม่มีใครจัดการนำเอาวีดีโอ “เครื่องบิน” ชนทะลุตึกเหล็กแฝดอย่างง่ายดายราวกับเครื่องบินทำจากเหล็ก ส่วนตึกก็ราวกับทำมาจากเนยแข็งก็ไม่ปาน แล้วยังนำวีดีโอเหล่านั้นออกเผยแพร่ทางสื่อมวลชนทุกแขนง ดังนั้นจะเป็นการไร้เหตุผลหรือ หากผมจะเสนอว่า เขาได้เตรียมการทั้งหมดเอาไว้ล่วงหน้าก่อนแล้วทั้งพยานบุคคลปลอมๆ ที่บอกว่าเป็นคนถ่าย “วีดีโอ” เหล่านั้น และเห็น “เครื่องบิน” ด้วยตาของพวกเขาเอง? เป็นที่แน่นอนว่าเราต้องเสนอว่า มีใครบางคนสร้างเหตุการณ์นี้ขึ้น “พยานบุคคล” ซึ่งเห็นภาพเหตุการณ์เหล่านี้ด้วยตาตนเอง ตอนที่เครื่องบินอลูมิเนียมชนทะลุกำแพงสองชั้นของตึกเหล็กคู่แฝด เป็นนักแสดงที่ได้รับการว่าจ้างโดยผู้ก่อการเหตุการณ์ 11 กันยายน เพื่อให้ลวงสื่อและตบตาชาวโลก.
  • ป.ล. และนั่นคือสิ่ง ที่รัฐบาลสหรัฐฯ อเมริกา ได้กระทำการกับพลเมือง อเมริกัน ด้วยการสังเวยชีวิตประชาชน ของตนเอง เพื่อเป็นข้ออ้างปราบปรามการก่อการร้าย ที่มุ่งเป้าหมายเข้าครอบครองทรัพยากรสำคัญ ในตะวันออกกลาง เงินงบประมาณที่ถูกทุ่มลงไปในการทำสงคราม เข้ากระเป๋าพวกนายทุน และนักการเมืองอเมริกา โดยที่อเมริกันชน ไม่ได้รับผลประโยชน์ไดๆ จากการดำเนินการต่างๆของสงครามในตะวันออกกลาง ที่ผ่านมาเนิ่นนานนับ 10 ปี
  • และยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงโดยง่าย แต่อย่างใด.

อ้างอิง : http://www.judicialwatch.org/about/
อ้างอิง : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Free_Syrian_Army
อ้างอิง : https://en.m.wikipedia.org/…/Islamic_State_of_Iraq_and_the_…
อ้างอิง : http://en.wikipedia.org/wiki/Nuclear_weapons_testing
อ้างอิง : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Al-Nusra_Front
อ้างอิง : https://en.m.wikipedia.org/wiki/September_11_attacks
อ้างอิง : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Osama_bin_Laden
อ้างอิง : https://en.m.wikipedia.org/wiki/
Isis Islamic state
อ้างอิง : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Iraq war
อ้างอิง : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Libya war
อ้างอิง : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Syrian war
อ้างอิง : http://www.examiner.com/…/obama-ordered-cia-to-train-isis-j…
อ้างอิง : http://www.counter punch.org/
อ้างอิง : https://www.linkedin.com/grp/post/4081643-6009261
อ้างอิง : http://edition.cnn.com/…/opi…/iraq-war-oil-juhasz/index.html
อ้างอิง : http://www.huffingtonpost.com/2013/03/18/iraq-war-
อ้างอิง : http://www.911thology.com/nexus1.html
อ้างอิง : http://www.911-truth.net/11th_of_September-the_Third_Truth_…
อ้างอิง : http://www.911-truth.net/11th_of_September-the_Third_Truth_…
อ้างอิง : http://www.911-truth.net/11th_of_September-the_Third_Truth_…
costs_n_2885071.html
อ้างอิง : Operations By Iran's Military Mastermind - Business Insider". Business Insider. 9 July 2014.
อ้างอิง : "Sectarian divisions change Baghdad's image". MSNBC. 3 July 2006. Retrieved18 February 2007.
อ้างอิง : "U.S. says Iraq pullout won't cause dramatic violence". MSNBC. 18 November 2010. Retrieved 26 November 2010.[dead link]
อ้างอิง : a b c "The JRTN Movement and Iraq's Next Insurgency | Combating Terrorism Center at West Point". Ctc.usma.edu.Retrieved2014-08-02.
อ้างอิง : "UK 'to continue deporting failed Iraqi asylum seekers'". 22 November 2010. Retrieved 26 November 2010.
อ้างอิง : Galbraith, Peter W. (2007). The End of Iraq: How American Incompetence Created a War Without End. Simon & Schuster.ISBN 978-0743294249.
อ้างอิง : "Al-Qaeda's Resurgence in Iraq: A Threat to U.S. Interests". U.S Department of State. 5 February 2014. Retrieved 26 November2010.
อ้างอิง "A Timeline of Iraq War, Troop Levels".The Huffington Post.
อ้างอิง : "Deputy Assistant Secretary for International Programs Charlene Lamb's Remarks on Private Contractors in Iraq". U.S. Department of State. 17 July 2009. Retrieved 23 October 2010
อ้างอิง :International Institute for Strategic Studies; Hackett, James (ed.) (3 February 2010). The Military Balance 2010. London:Routledge. ISBN 1-85743-557-5.
Epatko, Larisa (November 15, 2012)."Syria and Turkey: A Complex Relationship". PBS NEWSHOUR. 15 November 2012.
อ้างอิง : "Training of moderate Syrian rebels 'allowed in Turkey'". 31 March 2015.
อ้างอิง : U.S. weapons reaching Syrian rebels".Washington Post. September 11, 2013.
อ้างอิง : "Hollande confirms French delivery of arms to Syrian rebels". 2014-08-21. 2015-01-16
อ้างอิง : 8.0 8.1 8.2 Wladimir van Wilgenburg (12 June 2015). "The Rise of Jaysh al-Fateh in Northern Syria". Terrorism Monitor(Jamestown Foundation) XIII (12): อ้างอิง : 9.0 9.1 9.2 Gareth Porter (28 May 2015)."Gulf allies and ‘Army of Conquest’". Al-Ahram Weekly.
อ้างอิง : "Jabhat al-Nusra, IS clash in Daraa".Al Monitor. 16 December 2014.
อ้างอิง : "Al-Nusra overtakes Hazm in Aleppo countryside". Al Monitor. 3 March 2015.
อ้างอิง : "The Islamic State in Southern Syria".Carter Center. 15 May 2015. สืบค้นเมื่อ 10 June 2015.
อ้างอิง : Demir, Arzu (28 January 2015)."Preparations for international brigade in Rojava". Firat News Agency. Archived fromthe original on 2015-02-11. อ้างอิง :http://www.bbc.com/news/world-us-canada-34589250
อ้างอิง : "Free Syrian Army fires military chief". 16 February 2014.
อ้างอิง : "U.N. withdraws staffers as violence rages in Syria".Edition.cnn.com. 25 May 2013.
อ้างอิง : Mroue, Bassem; Suzan Fraser (2012-12-08). "Syria Rebels Create New Unified Military Command". Huffington Post. AP.Archived from the original on 2012-12-08.
อ้างอิง : "FSA alliance pushes back against Islamic Front". The Daily Star. 17 December 2013.
อ้างอิง : 20.0 20.1 20.2 20.3 "Leading Syrian rebel groups form new Islamic Front". 22 November 2013.
อ้างอิง : "Missile blast wounds Syrian rebel commander: activists". Reuters. 20 February 2013.
อ้างอิง : Reports: Bombing Kills Head of Syrian Rebel Group
อ้างอิง : Top Syrian rebel commander dies from wounds (Reuters), 18 November 2013
อ้างอิง "Khorasan leader killed by U.S. air strike in Syria last week, Al-Qaida member tweets".Haaretz. September 28, 2014. อ้างอิง : 25.0 25.1 "Officials: Khorasan Group bomb maker thought dead survived". CNN.
อ้างอิง : "U.S. Condemns Terrorist Attacks in Iraq and Pledges to Help Combat al Qaeda".United States Department of State. 10 August 2013.
อ้างอิง : "Military Skill and Terrorist Technique Fuel Success of ISIS". New York Times. 27 August 2014.
อ้างอิง : http://www.rferl.org/…/islamic-state-why-kady…/26692100.html
อ้างอิง : "Top ISIS Leaders are Revealed".Alarabiya. 13 February 2014.
อ้างอิง : "As Syria war enters fourth year, regime eyes victory". Times. 11 March 2014.
อ้างอิง :ISIS’ Iraq offensive could trigger Hezbollah to fill gap left in Syria Daily Star, 16 June 2014
"Training of moderate Syrian rebels 'allowed in Turkey'". bbc.com.BBC News. 31 March 2015.
อ้างอิง : "U.S. weapons reaching Syrian rebels".September 11, 2013.
อ้างอิง : "Hollande confirms French delivery of arms to Syrian rebels". 2014-08-21. อ้างอิง : 8.0 8.1 8.2 Wladimir van Wilgenburg (12 June 2015). "The Rise of Jaysh al-Fateh in Northern Syria". Terrorism Monitor(Jamestown Foundation) XIII (12): 3.
อ้างอิง : 9.0 9.1 9.2 Gareth Porter (28 May 2015)."Gulf allies and ‘Army of Conquest’". Al-Ahram Weekly.
อ้างอิง : "Jabhat al-Nusra, IS clash in Daraa".Al Monitor. 16 December 2014.
อ้างอิง : "Al-Nusra overtakes Hazm in Aleppo countryside". Al Monitor. 3 March 2015.
อ้างอิง : "The Islamic State in Southern Syria".Carter Center. 15 May 2015.
อ้างอิง : Demir, Arzu (28 January 2015)."Preparations for international brigade in Rojava". Firat News Agency. Archived fromthe original on 2015-02-11. สืบค้นเมื่อ 11 February 2015.
อ้างอิง : "Free Syrian Army fires military chief". 16 February 2014.
อ้างอิง "U.N. withdraws staffers as violence rages in Syria".Edition.cnn.com. 25 May 2013.
อ้างอิง : Mroue, Bassem; Suzan Fraser (2012-12-08). "Syria Rebels Create New Unified Military Command". Huffington Post. AP.Archived from the original on 2012-12-08.
อ้างอิง : "FSA alliance pushes back against Islamic Front". The Daily Star. 17 December 2013.
อ้างอิง : "Leading Syrian rebel groups form new Islamic Front". 22 November 2013. อ้างอิง : "Missile blast wounds Syrian rebel commander: activists". 20 February 2013. อ้างอิง : Reports: Bombing Kills Head of Syrian Rebel Group
อ้างอิง : Top Syrian rebel commander dies from wounds 18 November 2013
อ้างอิง : "Khorasan leader killed by U.S. air strike in Syria last week, Al-Qaida member tweets".Haaretz. September 28, 2014.
อ้างอิง : "Officials: Khorasan Group bomb maker thought dead survived". CNN.10 December 2014.
อ้างอิง : "Military Skill and Terrorist Technique Fuel Success of ISIS". New York Times. 27 August 2014.
อ้างอิง : "Top ISIS Leaders are Revealed".Alarabiya. 13 February 2014.
อ้างอิง : http://www.atlanticcouncil.org/…/kurdish-arab-rebel-allianc…
อ้างอิง "As Syria war enters fourth year, regime eyes victory". Times. 11 March 2014.
อ้างอิง : "Syria's diminished security forces". AFP. 28 August 2013.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น