วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตอนที่ 3. ยุทธศาสตร์การแตกแยก ซีเรีย โดยสหรัฐฯ และ พันธมิตร






การทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้าย ตบตาชาวโลก ของสหรัฐฯ และพันธมิตร
ตอนที่ 3. ยุทธศาสตร์การแตกแยก ซีเรีย โดยสหรัฐฯ และ พันธมิตร
  • ซีเรียเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน และยังเป็นพันธมิตรที่สำคัญของ "รัสเซีย'' ในภูมิภาคตะวันออกกลาง การมีบทบาทและอิทธิพลของรัสเซีย ที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้ เป็นสิ่งที่สหรัฐฯ ไม่อาจยอมรับได้ เรื่องใดที่ขัดต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และพันธมิตร หรือมีผลประโยชน์ให้กับคู่แข่งของสหรัฐ (เช่นรัสเซีย) สหรัฐฯจะต้องหาทางขัดขวางและทำลาย อย่างเช่นกรณีโครงการท่อแก๊สอาหรับ(Arab Gas Pipeline) ที่วางแนวผ่านเมือง อเลโป ภาคเหนือของซีเรีย ไปยังเมืองฮอมส์(ซีเรีย) แล้วแยกไปยัง เมืองทริโปลี ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ของเลบานอน สู่ดามัสกัส(ซีเรีย) อัลริฮาบ(จอร์แดน) อัมมาน(จอร์แดน) อากาบา(จอร์แดน) ข้ามอ่าวอากาบา ไปยังเมืองทาบา ของอียิปห์ แล้วออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่เมืองอาริช ในฉนวนฉนวนกาซา โดยไม่ผ่านดินแดน "อิสราเอล" ถ้าโครงการนี้สำเร็จลุล่วง จะสร้างความเข้มแข็งให้ กับชาติอาหรับที่เป็นพันธมิตรกับรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศซีเรีย โดยรวมแล้วรัสเซียจะมีความมั่นคงในภูมิภาคนี้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการทำสงครามโค่นล้ม ประธานาธิบดี อัล อัดซาด ของซีเรีย จึงเป็นหนทางที่จะหยุดโครงการนี้ได้ เพราะท่อแก๊สจะต้องทอดผ่านประเทศซีเรีย ที่มีความยาวถึง 1,200 กิโลเมตร และเป็นการทำลายพันธมิตรของรัสเซียไปในตัว สาเหตุที่แท้จริงของสงคราม คือต้องการทำลายอิทธิ พลของรัสเซียในภูมิภาคนี้ การโค่นล้ม อัดซาด นั้นเพราะต้องการให้พันธมิตร "ของสหรัฐฯ'' ได้ครองอำนาจแทน เพื่อควบคุมได้ง่ายขึ้น
  • ในขบวนต่อต้าน ประธานาธิบดี อัดซาด มีกลุ่มก่อการร้ายเข้าร่วมด้วยหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่ม Isis กลุ่ม Al Nusra Front ฯลฯ แต่ละกลุ่มต่างไม่ยอมรับ การนำของกลุ่มอื่น การต่อสู้จึงมีลักษณะเป็นอนาธิปไตย ไม่มีวินัย บางครั้งขัดแย้งกัน "ถึงกับรบกันเอง'' สงครามได้ทำลายซีเรียในวงกว้าง ทั้งเมืองอเลโป เมืองฮอมส์ และดามัสกัส รอบนอกพินาศย่อยยับ ประชาชนซีเรีย เสียชีวิตสูงถึง 300,000 ราย และต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัยสงครามมากถึง 12 ล้านคน ขณะที่กลุ่มที่มีอำนาจและบทบาทมากที่สุดก็คือกลุ่ม Isis ที่ได้รับการสนับสนุนทั้งเงินและอาวุธจากตุรกี / ซาอุดิอาระเบีย / บาร์เรน / กาตาร์ ที่ต้องการขัดขวางโครงการท่อส่งก๊าซ ของซีเรีย แม้จะยังโค่นอัดซาด ไม่สำเร็จแต่โครงการท่อส่ง ก๊าซนี้ก็ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะเกิดสันติภาพใน ซีเรีย ซึ่งจะเป็นเมื่อไหร่ไม่เป็นที่แน่ชัด เท่านั้นยังไม่พอหากโค่นล้ม อัดซาด สำเร็จได้แล้ว อาจมีรัฐใหม่เกิดขึ้นใน ซีเรีย และอีรัก โดยการตั้งรัฐอิสระของกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ ที่เข้าครอบครองพื้นที่ซีเรีย ต่อไปในอนาคต การโจมตีทางอากาศ (Air Strikes) ทิ้งระเบิดกลุ่ม ISIS ของสหรัฐฯ และพันธมิตร ที่เป็นข่าว...การโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯ ไม่ได้ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่กลุ่มก่อการร้ายแต่อย่างใด แต่เป้าหมายที่แท้จริงก็คือการทำลายโครงสร้างพื้นฐาน ของระบบสาธารนูปโภค หลักเช่น โรงจ่ายไฟฟ้า ระบบการประปา ระบบขนส่ง และอื่นๆ ของซีเรีย จนได้รับความเสียหาย ทำให้ไม่ว่าสงครามจะจบลงแบบใด กว่าซีเรียจะกู้สภาพของประเทศให้กลับมาดั่งเดิม ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี ผู้ที่ได้รับเคราะห์กรรมหนักที่สุดเห็นจะเป็นประชาชนชาวซีเรีย โดยเฉพาะสตรีและเด็กๆ เป็นการสูญเสียอย่างประเมินค่าไม่ได้
  • กรณีข้อกล้าวหาว่า อัดซาส ใช้อาวุธเคมีโจมตีฝ่ายต่อต้าน รัฐบาล
  • ภารกิจค้นหาความจริงของสหประชาชาติได้รับการร้องขอ จากประเทศสมาชิก เพื่อตรวจสอบซีเรีย กับการตรวจสอบ 16 ข้อกล่าวหาจากการโจมตีด้วยอาวุธเคมี 7 ข้อกล่าวหาได้รับการตรวจสอบ (อีก 9 ข้อกล่าวหา ได้ถูกตัดทิ้งเพราะขาด ข้อมูลที่เพียงพอหรือความน่าเชื่อถือ) และใน 4 กรณี ของข้อกล่าวหา ผู้ตรวจการของสหประชาชาติ ได้รับการยืนยันการใช้งานของ ก๊าซพิษซาริน ตามรายงาน แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อาวุธเคมี.. หลายประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป มีการกล่าวหาว่า รัฐบาลซีเรีย ดำเนินการโจมตีทางเคมีที่รุนแรง ในปี 2013 ที่ Ghouta เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้เกิดความพยายามระหว่างประเทศ ในการเข้าตรวจสอบอาวุธเคมีของซีเรีย เริ่มในปี 2015 แต่ภารกิจของสหประชาชาติ ก็ยังไม่สามารถเปิดเผยร่องรอยของสารพิษซาริน ตามที่ประกาศก่อนหน้านี้ ได้แต่อย้างใด มีแต่เพียงการโต้แย้งหารือ ใน "เว็บไซต์การวิจัยทางทหาร"
  • ซึ่งนั่นก็คือการกล่าวอ้างของสหรัฐฯ อย่างเลื่อนลอยที่มีต่อซีเรีย ซึ่งสารพิษดังกล่าวอาจถูกใช้โดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย ที่หวังจะส่งผลให้ซีเรีย มีจุดจบที่ไม่ต่างกัน กับ อีรัก ด้วยข้อกล่าวหาว่าครอบครองและใช้อาวุธทำลายล้างสูง.
  • จุดประสงค์ของสหรัฐฯ กับเป้าหมายในตะวันออกกลาง ที่จะนำมาซึ่ง รัฐอิสระที่จะถูกก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ ที่พยายามโค่น อัดซาด เพื่อเเบ่งแยกซีเรีย เเล้วเข้าครอบครองทรัพยากรน้ำมัน และกีดกันคู่แข่งสำคัญ ที่เป็นชาติมหาอำนาจขั้วอื่น อย่างรัสเซียในท้ายที่สุด ..
  • รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2014 
  • นาง.ซูซาน ไรซ์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของทำเนียบขาว ซึ่งเธอเปิดเผยว่า รัฐบาลสหรัฐบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นกับรัฐบาลตุรกี เรื่องการให้ทางวอชิงตัน และ พันธมิตร ใช้ฐานทัพหลายแห่งในประเทศตุรกี เป็นฐานที่มั่นในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้าย Isis หนึ่งในนั้นรวมถึงฐานทัพอากาศ อินเซียร์ลิก ของตุรกี ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศตุรกี ที่ติดกับพรดแดนซีเรียด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายยังคงต้องหารือลงลึกกันในอีกหลายประเด็น ที่รวมถึงการหารือว่าจะใช้ฐานทัพแห่งใด สำหรับฝึกปรือกลุ่มนักรบ "ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย" ให้ทำหน้าที่กองกำลังภาคพื้นดินต่อสู้กับกลุ่ม Isis ในอนาคต
  • ในปี 2014 ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ ของสหรัฐอาศัยฐานทัพ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ( ยูเออี ) กาตาร์ และคูเวต เป็นหลัก นอกเหนือจากบรรดาเรือพิฆาต ซึ่งจอดอยู่ในทะเลแดง และ อ่าวเปอร์เซีย ทั้งนี้ ตุรกีเป็นประเทศที่มีพรมแดน ติดกับทั้งซีเรียและอิรัก ซึ่่งมีพลเมืองเชื้อสายเคิร์ดอาศัยอยู่มาก และกำลังเผชิญกับภัยคุกคามอย่างหนักจากกลุ่ม Isis กระนั้นรัฐบาลอังการา(ตุรกี) ยังคงสงวนท่าที เรื่องการให้ความช่วยเหลือทางทหาร เนื่องจากมองว่าสหรัฐ ยังไม่มีแผนระยะยาวอย่าง ชัดเจน เรียกเสียงวิจารณ์อย่างหนักจากทั้งใน และต่างประเทศ โดยเฉพาะจากวอชิงตัน
  • นับตั้งแต่กลุ่ม Isis พยายามยึดครองเมือง โคบานี ทางตอนเหนือของซีเรีย เมืองสำคัญของชาวเคิร์ดในซีเรีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการต่อสู้ และอพยพออกจากพื้นที่จำนวนมาก
  • วันที่ 28 เมษายน 2015 สภาของสหรัฐฯได้อนุมัติเงินจำนวน $585 billion (ประมาณ 20 ล้านล้านบาท) ให้กับกลุ่มติดอาวุธกบฎสายกลางในซีเรีย เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลซีเรีย และคาดว่าจะอนุมัติเงินสนับสนุนให้อีกจำนวน $6.6 billion (ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท) ซึ่งกลุ่มต่อต้านรัฐบาล ซีเรีย หรือที่เรียกกันว่ากบฏสายกลางซีเรีย นั้นจะมีบทให้เเสดงถึง 2 บทบาท ในยามรับความช่วยเหลือจากสหรัฐกลุ่มเหล่านี้จะทำในนามกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซีเรีย เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2558 สำนักข่าวหลายแห่งได้เสนอข่าวว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามา เป็นผู้สั่งการให้ซีไอเอฝึกนักรบกลุ่มไอซิส (ISIS =the Islamic State of Iraq and Syria) โดยเอกสารที่ถูกเปิดเผยนี้มาจากกลุ่มเฝ้ามองระบบยุติธรรมหรือ Judicial Watch การฝึกดังกล่าวซีไอเอจะใช้หน่วยฝึก 2 หน่วยคือเจ้าหน้าที่ซีไอเอโดยตรงและอีกหน่วยหนึ่งเป็นครูฝึกรับจ้าง (contractors) ฝึกนักรบเหล่านี้โดยใช้พื้นที่ของประเทศจอร์แดนเป็นสนามฝึกเมื่อปี 2012
  • จากรายงานพบว่าเป้าหมายดั้งเดิมของสหรัฐเพื่อที่จะทำให้รัฐบาลซีเรียอ่อนกำลังลง สาเหตุเพราะสหรัฐมองว่ารัฐบาลอัล-อัสซาด ทำสงครามก่ออาชญากรรมกับประชาชนของตัวเอง แต่ในความเป็นจริงแล้วเมื่อซีไอเอฝึกกลุ่มกบฎซีเรีย (Syrian rebels) กลุ่มเหล่านี้กลับเป็นสมาชิกของ ISIS ทั้งสิ้น และนั่นนำมาซึ่งความไม่สงบวุ่นวายที่ไม่รู้จบ
  • สำหรับเอกสารที่กลุ่ม Judicial Watch ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ได้เกิดขึ้นจากการยื่นฟ้องรัฐบาลกลางและ ศาลสั่งให้เปิดเผยเอกสาร โดยเป้าหมายของกลุ่มคือการสอบสวนการคอร์รัปชั่นและการใช้อำนาจไปในทางที่ผิด (corruption and abuse) ของรัฐบาลสหรัฐ เอกสารดังกล่าวมีมากกว่า 100 หน้าได้รับมาจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (เพนตากอน)และกระทรวงการต่างประเทศ เอกสารส่วนหนึ่งที่ออกมาจากสำนักงานข่าวกรองกลาโหม ( the Defense Intelligence Agency - DIA) ระบุว่าประธานาธิบดี. บารัค โอบามา และ กลุ่มมิตรประเทศของสหรัฐ พิจารณาจัดตั้งกลุ่มซาลาฟิสท์(Salafist organization )ขึ้นทางตะวันออกของซีเรีย เพื่อกระหน่ำให้รัฐบาลอัล-อัสซาด ถูกโค่นเร็วยิ่งขึ้น "และนี่คือสิ่งที่กลุ่มต่อต้านรัฐบาลซีเรียต้องการ เพื่อทำให้รัฐบาลซีเรียถูกโดดเดี่ยวมากยิ่งขึ้น" รายงานของ DIA ระบุ สำหรับกลุ่ม Salafists เป็นกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงและเป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มวาห์ฮาบิ( Wahhabi)ในซาอุดิอาระเบีย.. เอกสารเหล่านี้ยังถูกแจกจ่ายไปยังหน่วยงานต่างๆของสหรัฐ อาทิเช่น สำนักงานบัญชาการรบกลาง (the U.S. Central Command =CENCOM), หน่วยข่าวกรองกลาง(CIA), สำนักงานสืบสวนกลาง (FBI), กระทรวงความมั่นคงภายในสหรัฐ (the Department of Homeland Security - DHS) ,กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองทหารยังได้ให้คำเตือนไว้ ในเอกสารว่าหากสงครามกลางเมือง ในซีเรียเสียหายมากเท่าใด ก็จะมีผลกระทบที่จะไปเกิดขึ้นกับ อีรัก อันเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ยังเปราะบาง หากเกิดสถานการณ์ เช่นนี้ขึ้นมีการประเมินว่าจะทำให้กลุ่มอัล-กอห์อิดะในอิรัก ( al-Qaida in Iraq =AQII) กลับเข้าไปยึดครองเมืองโมซุล และ เมืองรามาดิในอิรักได้ (ทั้งสองเป็นเมืองใหญ่ที่อัล-กอห์อิดะ เคยยึดครองมาแล้ว)
  • DIA ยังประเมินว่า กลุ่มไอซิสคงจะประกาศเรื่องนี้ผ่านไปยัง หัวหน้ากลุ่มศาสนาที่สัมพันธ์กับกลุ่มก่อการร้ายในอิรักและซีเรีย รวมทั้งกลุ่มที่ฝ่ายบริหารโอบามาเรียกว่า “แกนหลักกอห์อิดะ” (core al-Qaida) ซึ่งหมายถึงกลุ่มอัล-กอห์อิดะในคาบสมุทรอาระเบียนทั้งมวล
  • เอกสารที่ถูกเปิดเผยขึ้นมาเป็นการยืนยันว่าสหรัฐ,กลุ่มสหภาพยุโรปและชาติอื่นๆมองเห็นว่ากลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ISIS ถือเป็น "ทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์ที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ในซีเรีย"
  • สำหรับผลที่ตามมาทำให้เกิดความโกลาหลขึ้นในบางส่วนของอิรัก นับตั้งแต่กลุ่มไอซิสก้าวข้ามพรมแดนของซีเรีย ไปสู่อีรัก และขยายความโกลาหลไปยังลิเบีย อีกประเทศหนึ่ง ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน 2014
  • การขนย้ายอาวุธให้ไอซิส เอกสารที่กลุ่ม Judicial Watch ได้รับมาเปิดเผยว่าฝ่ายบริหารโอบามายังเป็นห่วงเรื่องการขนย้ายอาวุธ ทั้งนี้ได้ขนจากเมืองเบงกาซีในลิเบียไปให้กองกำลังฝ่ายกบฎ,สมาชิกกลุ่มไอซิส,กลุ่มแนวร่วมอัล-นุสรา (Al-Nusra Front) รวมทั้งกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมอื่นๆในซีเรีย
  • เมื่อเดือนตุลาคม 2012 รายงานยืนยันว่า “อาวุธเหล่านี้เป็นของอดีตทหารลิเบียที่ถูกสะสมไว้ จากนั้นถูกส่งออกจากเมืองท่าเบงกาซีของลิเบียไปยังเมืองท่าบาเนียส์ (Port of Banias) และเมืองท่าบอร์ อิลสาม (Port of Borj Islam) ในประเทศซีเรีย
  • อาวุธที่ส่งออกปลายเดือนสิงหาคม 2012 ประกอบด้วยปืนยาวลอบสังหาร(Sniper rifles),จรวด RPG, ปืนใหญ่ขนาด 125 มม.และ 155 มม.”
  • เอกสารเปิดเผยด้วยว่าภายหลังจากรัฐบาล โมอัมมาร์ กัดดาฟี ถูกโค่นและกัดดาฟีเองถูกสังหารเมื่อเดือนตุลาคม 2011 จนกระทั่งเกือบ 1 ปีหรือตกเดือนกันยายน 2012 จึงนำอาวุธทางทหารของลิเบียมารวมกันในคลังอาวุธเมืองเบงกาซี ลิเบีย จากนั้นอาวุธเหล่านี้ถูกส่งออกทางท่าเรือเมืองเบงกาซี ไปยังเมืองท่าอื่นๆของ ซีเรีย เรือที่ลำเลียงอาวุธเป็นเรือขนาดกลางบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ ได้ประมาณ 10 ตู้หรือน้อยกว่านี้
  • ป.ล.ความโกลาหล / สงคราม / คราบเลือดและ น้ำตา ในตะวันออกกลาง ที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน และไม่มีทีท่าว่าจะจบลงโดยง่าย พัฒนาการของความวุ่นวายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ชาติตะวันตกอย่างสหรัฐฯและพันธมิตร ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องมาตั้งแต่ต้น..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น