วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตอนที่ 3. อาณานิคมของสเปน


อเมริกันพื้นเมือง (อินเดียนแดง) กับคนขาว
ตอนที่ 3.อาณานิคมของสเปน
  • การเดินทางมาถึงของ โคลัมบัส ในการค้นหาโลกใหม่ ได้ค้นพบเวเนซุเอลา ใน ค.ศ.1499 
  • (นักเดินเรือชาวอิตาลียน ชื่อ อเมริโก เวสปุกชี (Americo Vespucci) เดินทางสำรวจให้กับสเปน ได้แล่นเรือสำรวจชายฝั่งประเทศเวเนสุเอลา ทะเลสาบมาราไคโบ พบเห็นบ้านเรือนของชนพื้นเมืองก่อตั้งอยู่ริมน้ำ คล้ายหมู่บ้านของชาวเวนิส จึงเรียกดินแดนที่เขาพบนี้ว่า เวเนสุเอลา ซึ่งหมายถึง เวนิสน้อย) ในปี ค.ศ. 1567 เวเนซูเอลา กลายเป็นอาณานิคมของสเปน การมาถึงของคนขาว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อชนพื้นเมืองตลอดไป ในช่วงถัดไปอีก 350 ปี
  • ยุคแห่งการสำรวจสเปน เริ่มตั้งหลักแหล่งอยู่ในหมู่เกาะแคริบเบียนและผู้พิชิต(conquistador) ก็เริ่มโค่นจักรวรรดิท้องถิ่นที่พบเช่นจักรวรรดิแอซเท็คและจักรวรรดิอินคา ต่อมาคณะสำรวจก็ขยายดินแดนของจักรวรรดิสเปนตั้งแต่บริเวณที่เป็นแคนาดาปัจจุบันในทวีปอเมริกาเหนือไปจนจรด เตียร์ราเดลฟวยโก ทางตอนใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ การเดินทางสำรวจของสเปนเป็นการเดินทางรอบโลกที่เริ่มโดยเฟอร์ดินันด์ มาเจลลันในปี ค.ศ. 1519 และจบลงด้วย Juan Sebastian Elcano ในปี ค.ศ. 1522 ซึ่งเป็นการสำรวจ ตามความตั้งใจ ของโคลัมบัส ในการพยายามหาเส้นทางไปยังเอเชีย โดยการเดินทางไปทางตะวันตก ซึ่งทำให้สเปนหันมาสนใจ ในตะวันออกไกล โดยการก่อตั้งอาณานิคมในเกาะกวม, ฟิลิปปินส์ และเกาะใกล้เคียง ระหว่าง “ยุคทองของสเปน” (Siglo de Oro) จักรวรรดิสเปน ประกอบด้วยเนเธอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก, เบลเยียม, ส่วนใหญ่ของอิตาลี, บางส่วนของเยอรมนี, บางส่วนของฝรั่งเศส, ดินแดนในแอฟริกา, เอเชีย และ โอเชียเนีย และดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกา เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 สเปนก็ครอบครองดินแดนที่กว้างใหญ่ที่สุดกว่าที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ก่อนหน้านั้น
  • การค้าขายระหว่างสเปนและอาณานิคมก็รุ่งเรือง สินค้าต่างๆ ที่รวมทั้งโลหะมีค่าจากอเมริกา ถูกนำกลับมาสเปน ในกองเรือสมบัติ (Spanish treasure fleets) เป็นประจำทุกปี กองเรือมะนิลา(Manila Galleon) ก็เชื่อมระหว่างฟิลิปปินส์ กับอเมริกา โดยมีเรือติดต่ออย่างสม่ำเสมอ ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก การค้าขายส่วนใหญ่เป็นการทำเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง ให้แก่ราชนาวีของสเปน และเพื่อพิทักษ์จักรวรรดิสเปนในยุโรป
  • ในอเมริกา สเปนปกครองอาณาจักรอันกว้างใหญ่ บนพื้นฐานของแรงงานและการใช้ประโยชน์ของประชากรอินเดียน สเปนต้องการจะนำศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ไปยังดินแดนใหม่ ชาวสเปนหลายหมื่นคนข้ามมหาสมุทร มายังดินแดนใหม่ ชาวสเปนมาพร้อมกับ โรคร้าย! ที่ชาวพื้นเมืองในโลกใหม่ไม่มีภูมิคุ้มกัน สิ่งที่ตามมาเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรม ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เช่น ไข้ทรพิษ โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคติดต่ออื่น ๆ ทำลายประชากรพื้นเมืองนับล้าน เป้าหมายของพวกเขาคือการขยายอาณาจักรเพื่อความยิ่งใหญ่ ผลขอบการขยายอาณาเขตปกครองที่ตามมาคือการบังคับใช้แรงงานอินเดียน มีการอภิปรายที่เกิดขึ้นในสเปน เกี่ยวกับสิทธิของชาวอินเดียน นี่เป็นครั้งแรกที่ประเทศต่างๆ ในยุโรปได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับสถานะของคนที่ไม่ใช่คริสเตียน โลกของอินเดียนได้เปลี่ยนไปตลอดกาล โดยนักสำรวจของสเปน ด้วยพฤติกรรมที่ผิด หลักการปกครองของสเปนในอเมริกา.
  • นักล่าอาณานิคมชาวสเปน "conquistadors"(ผู้ออกแสวงหา และพิชิต) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขุนนาง ที่ไม่ดีมาจากทางทิศตะวันตก และทิศใต้ของสเปน สามารถที่จะพิชิตจักรวรรดิใหญ่ ของโลกใหม่ ด้วยเทคโนโลยีทางทหารที่เหนือกว่า ชนเผ่าในท้องถิ่น เมื่อสเปนได้รับชัยชนะ พื้นที่ของชนเผ่าจะถูกแบ่งออกเป็น"encomiendas"หรือทุนของที่ดิน
  • "conquistadors" (ผู้ออกแสวงหา) คือผู้ที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ระบบนี้เป็นระบบที่ทารุณกรรมอย่างหนักต่ออินเดียน ทั่วทวีปอเมริกา อินเดียนถูกลดสถานภาพลงไปอยู่ในสภาพของการเป็นทาส เนื่องจากการปกครอง ที่เลวทรามและรุนแรง
  • ประชากรของแรงงานพื้นเมือง เริ่มมีจำนวนไม่เพียงพอ สำหรับอาณานิคมสเปน ที่กว้างใหญ่ พวกเขาเริ่มที่จะนำเข้าทาสแอฟริกัน มาใช้ในการทำงาน ในสวนตาลและเหมืองแร่เงิน การเหยียดสีผิวยังคงมีบทบาทในโลกใหม่ สังคมโคโลเนียลมีการแบ่งลำดับชั้นระหว่างผู้ปกครองและทาส ระบบอาณานิคมของ สเปน ที่แยกความแตกต่าง สำหรับกลุ่มที่มีเลือดของอินเดียน และ แอฟริกัน เกิดการแบ่งชนชั้นในทุกดินแดนของสเปนในทวีปอเมริกา ด้วยระบอบนี้ การเลือกปฏิบัติและการปราบปราม เป็นคุณลักษณะของการปกครอง โดยอาณานิคมสเปน ตลอดประวัติศาสตร์.
  • รัฐบาลของสเปนในกรุงมาดริด พยายามอย่างหนักในการควบคุมโลกใหม่แม้จะมีระยะทางห่างใกลจากยุโรป การใช้ระบบการทำงานของ viceroyalties (อำนาจของอุปราช ผู้สำเร็จราชการ) และ audencias (ผู้รับราชโองการ) สถาบันพระมหากษัตริย์ สามารถที่จะควบคุม การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของสเปนในทวีปอเมริกา พระมหากษัตริย์มีสิทธิที่จะได้รับหนึ่งในห้าของกำไร จากเหมืองแร่ทั้งหมด และรายได้ที่มากนี้ช่วยให้สเปน กลายเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในยุโรป ในช่วงปี ค.ศ 1600
  • การผสมผสานระหว่างศาสนา และ การเมือง คือสิ่งที่สเปนนำมาใช้สร้างระบบการปกครอง ที่จะกลายเป็นรูปแบบของการปกครองในอเมริกาตะวันตกเฉียงใต้: "สาธารณรัฐโดมินิกัน" ฟรานซิสและมิชชันนารี่(ผู้เผยเเพร่ศาสนา) นิกายเยซูอิต (คริสตศาสนา) ที่ต้องดูแลของพื้นที่ขนาดใหญ่ใน เท็กซัส/แอริโซนา/นิวเม็กซิโก และแคลิฟอร์เนีย ในภายหลัง โดยมีเป้าหมายของการนำศาสนาคาทอลิกไปยังโลกใหม่ สเปนก็ยังสามารถที่จะใช้รัฐบาลคริสตจักรที่มีอยู่ สำหรับงานทางการเมืองของตัวเอง กฎหมายที่เด็ดขาดมาจาก มาดริด อาณานิคมของสเปนก็ได้แผ่ขยายครอบคลุมกว้างใหญ่ขึ้น ทั้งในทวีปอเมริกา
  • เหนือ และ อเมริกาใต้ โดยเฉพาะอเมริกาใต้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนของอาณานิคม สเปน (ในสมัยโบราณเวเนซุเอลา และ แคริบเบียนมีชนพื้นเมืองอินเดียนแดงอาศัยอยู่ คือเผ่า Arawak ในปี ค.ศ.1522 ได้ตกเป็น อาณานิคมของ สเปน ครั้งแรกในละตินอเมริกา )
  • ในที่สุดสงครามอิสรภาพ ในช่วงต้นศตวรรษที่สิบเก้า ก็ได้เกิดขึ้น กับสงครามประกาศอิสระภาพ ของ Simon Bolivar ซีมอง โบลีวาร์ (ในภาษาสเปน: Simón Bolívar) เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวให้ประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้เป็นอิสระ หรือที่เรียกกันในนามว่า "สงครามโบลีวาร์" โบลีวาร์เป็นนักการต่อสู้เพื่อความอิสระให้ประเทศ. เวเนซุเอลา / โคลอมเบีย/ เอกวาดอร์/ เปรู/ปานามาและ โบลิเวีย เป็นอิสระจากอาณานิคมสเปน เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม "ผู้กู้อิสรภาพ"
  • Simón Bolívar 
    • -ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหภาพโคลอมเบีย เมื่อ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1819 – 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1830 
    • -ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโบลิเวีย เมื่อ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1825 – 29 ธันวาคม ค.ศ. 1825 
    • -ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเปรู
  • เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1824 – 28 มกราคม ค.ศ.1827
  • โบลิวาร์เกิดใน ปี ค.ส.1783 ในเมืองการากัส (เวเนซุเอลา) ในตระกูลขุนนางที่มาจากสเปน และกลายเป็นเด็กกำพร้า ตอนอายุสิบหก เขาเติบโตขึ้นมาในช่วงที่ความคิดและอุดมการณ์ที่มีผลต่อความคิดของเขาอย่างลึกซึ้ง เขาเคยอ่านงานเขียน ของนัก ปรัชญา อย่าง จอห์น ล็อค (john locke) / รูสโซส์ (JEAN-JACQUES ROUSSEAU.) / วอลแตร์ (Voltaire)/บารอน เดอ มองเตสกิเออร์ (Baron de Montesquieu) และนักปรัชญาอื่น ๆ นอกจากนี้เขายังชื่นชมในความสามารถ ของ นโปเลียน อีกด้วย. ซีมอง โบลีวาร์ เป็นคนเข้มแข็งมาก ตราบเท่าที่ไม่มีวันแห่งมาตุภูมิ การปลดปล่อยจากการปกครองของสเปน เขาจะต่อสู้จนถึงวันหนึ่งแห่งชัยชนะ ในที่สุด เวเนซุเอลา ก็มาถึงจุดเริ่มต้นของความเป็นอิสระโดยขบวนการต่อต้านการปกครองของ สเปน ในปี ค.ศ.1806, โดย ฟรานซิส เดอมิแรนดา เริ่มการปฏิวัติใน การากัส แต่ล้มเหลว ในปี.ค.ศ. 1810 (หลังจากนั้น 1 ปี ในช่วงที่สเปนเข้าควบคุมกองทัพ อาณานิคม "ฟรานซิส เดอมิแรนดา"ถูกคุมขัง)
  • ในวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ 1811 ผู้ว่าราชการแห่ง เวเนซูเอลาได้ถูกปลดออก 
  • ในปี ค.ศ. 1819 ก็มาถึงจุดเปลี่ยน เมื่อ โบลิวาร์นำหน่วยเล็ก ๆ ของเขาข้ามแม่น้ำ และ ข้ามเทือกเขาแอนดีช บนทางที่แคบและสูงชันโดยกองทัพโคลอมเบีย เข้าโจมตีสเปน โบลิวาร์ชนะการรบ เมื่อ 7 สิงหาคม 1819 นับเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามที่แท้จริง 
  • เวเนซูเอลา ประกาศอิสรภาพ ภายใต้การนำของ Simon Bolivar ในมิถุนายน ค.ศ 1821 เพื่อแยกตัวเอง ออกจากการปกครอง เป็นอาณานิคม ภายใต้อำนาจของ สเปน
  • ปี ค.ศ 1822 ประกาศอิสรภาพโคลัมเบีย / เอกวาดอร์ และปานามา.
  • หลังจากปีของความวุ่นวายในประเทศ และในที่สุดละตินอเมริกา ได้รับอิสรภาพ โดย Simon Bolivar (SimónBolívar) ผู้นำในความสำเร็จ ของอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1821 จนถึง ค.ศ.1830, เวเนซุเอลา / โคลัมเบีย /ปานามา /เอกวาดอร์และประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ เป็นสาธารณรัฐโคลัมเบีย (GranColombia ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศ คือ Repúblicade Colombia) หลังจากนั้น เวเนซูเอลา แยกเป็นประเทศเอกราชในปี ค.ศ. 1830 (สาธารณรัฐเวเนซุเอลา)
  • ***(ผู้ว่าราชการเวเนซุเอลา ถูกไล่ออก นั่นคือจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติต่อต้านการปกครองของสเปนในเวเนซุเอลา (ค.ศ.1811) ได้มีการทำประกาศอย่างเป็นทางการ ของความเป็นอิสระ กับคณะนายพลทหาร )***
  • --------------------------------------------------------------------
  • คณะผู้นำทางทหารที่เกี่ยวข้อง กับการต่อต้านการปกครองของ สเปน
  • จอมพล.เซบาสเตียน ฟรานซิส เดอมิแรนดา รอทดิเกส
  • (แม่ทัพและพลเรือเอกของฝรั่งเศส แห่งเวเนซุเอลา จอมพลพันเอกสเปน)
  • นายทหารของกองทัพสเปน และ ฝรั่งเศส อยู่ในระดับของพันเอก และ จอมพลตามลำดับ เขามีส่วนร่วมในสงครามสำคัญๆ หลายสมรภูมิ ทั้งสงคราม ในแอลเจียร์ (เมืองหลวงของ แอลจีเรีย) สงครามในทวีปแอฟริกา และสงครามอิสรภาพอเมริกันการปฏิวัติฝรั่งเศส และสงครามอิสรภาพของเวเนซูเอลา
  • "ฟรานซิส เดอมิแรนดา" เป็นแกนนำสำคัญ เกี่ยวกับการทำประกาศอย่างเป็นทางการในการประกาศอิสรภาพ "เอกสารปลดปล่อยอเมริกัน "กับจักรวรรดิสเปน รู้จักกันในชื่อ"The First เวเนซุเอลาสากล -สากลอเมริกัน" เขาเป็นผู้มีส่วนร่วมของอิสรภาพ ของสหรัฐอเมริกา ต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส และความเป็นอิสระของเวเนซูเอลาในภายหลัง การปฏิวัติเวเนซูเอลา ที่ช่วยปูทางสำหรับการเป็นอิสระในละตินอเมริกา แผนสำหรับการปลดปล่อยอาณานิคมสเปนด้วยความช่วยเหลือของประชาชนแต่ล้มเหลวในที่สุด แต่เขายังคงเป็นที่รู้จักกันในนามของ "ผู้บุกเบิก" ที่ปูทางให้ Bolívarและอื่น ๆ ทำการปฎิวัติมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ในเส้นทางชีวิตของเขามีส่วนร่วมในการสู้รบ ในสงครามสำคัญทั้งสามสงคราม 
  • 1.สงครามเพื่อประชาธิปไตยอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา 
  • 2.สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส
  • 3.สงครามอเมริกันอิสรภาพ กับสเปน
  • เขาเน้นนโยบายการเป็นผู้สนับสนุนที่แข็งแกร่ง ความเป็นอิสระและอำนาจอธิปไตยของประเทศ ในเวทีระหว่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในพระราชบัญญัติของการประกาศอิสรภาพ ของเวเนซูเอลาและผู้เริ่มต้นและเป็นผู้นำของสังคมรักชาติ เขายังเป็นผู้สร้างของแผนงานทางการเมือง โคลัมเบีย โดย ซิมอง โบลิวาร์ พยายามที่จะดำเนินการ หลังจากการปลดปล่อยของ โคลอมเบีย / เอกวาดอร์และเวเนซุเอลา ในปี ค.ศ.1826 มีเป้าหมายที่จะรวมดินแดนอาณานิคม เป็นประเทศ
  • "ฟรานซิส เดอมิแรนดา"ถูกคุมขังในท้ายที่สุดของชีวิต เเละเสียชีวิตในเรือนจำ เมื่ออายุ ได้ 66 ปี 
  • --------------------------------------------------------------------
  • นายพล. โฮเซ เดอ ซาน มาร์ติน Jose de San Martin ในภาษาสเปน: José Francisco de San Martín Matorras ) เป็นนายพลชาวอาร์เจนตินา ผู้ซึ่งเป็นผู้นำในการประกาศเอกราชอเมริกาใต้ ตอนล่าง (อาร์เจนตินาและชิลี) จากประเทศสเปน
  • เป็นผู้นำในการปลดปล่อย ในอาร์เจนตินาและชิลี ให้เป็นเอกราช ค.ศ 1818
  • เริ่มจากการประกาศเอกราชของประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ ด้วยเหตุที่อาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือได้ประกาศเอกราช ตั้งเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา จึงเป็นตัวอย่างที่ชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ ต้องการเอกราช
  • โดยเริ่มจากชาวอาณานิคมในเมืองคารากัส ได้ก่อการกบฏขึ้นในปี ค.ศ. 1810 ขับไล่แม่ทัพของสเปน ออกไปและตั้งคณะกรรมการขึ้นปกครองตนเอง โดยมีผู้นำในอาณานิคมหลายคน ที่ต้องการปลดปล่อยอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ให้เป็นอิสระ
  • --------------------------------------------------------------------
  • การยึดครองสเปน โดยฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1808 ภายใต้การนำของ จักรพรรดินโปเลียน เป็นการตัดขาดการติดต่อ กับอาณานิคมในอเมริกา อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง มีผลทำให้ สงครามอิสรภาพสเปนอเมริกันโดยคณะนายพลทหารที่สำคัญๆ เกิดขึ้น ต่อเนื่องกันระหว่าง ค.ศ. 1810 ถึง ค.ศ. 1830 มีผลทำให้รัฐต่างๆของสเปน ในอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ได้รับอิสรภาพจากสเปน ดินแดนที่เหลือที่รวมทั้งคิวบา,เปอร์โตริโก, ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสเปนมาจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้รับอิสรภาพ. (ดินแดนในอเมริกาเหนือ ส่วนใหญ่มาถูกผนวกโดยสหรัฐอเมริกา)
  • หลัง สงครามสเปน-อเมริกัน ดินแดนที่เหลือในหมู่เกาะแปซิฟิกขายให้แก่จักรวรรดิเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1899 เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สเปนก็เหลือแต่ดินแดนในแอฟริกา ในกินีสเปน, ซาฮาราสเปน และโมร็อกโกสเปน สเปนถอนตัวจากโมร็อกโกในปี ค.ศ. 1956 และมอบอิสรภาพให้แก่อิเควทอเรียลกินีในปี ค.ศ. 1968 เมื่อสเปนถอนตัวจากซาฮาราสเปนในปี ค.ศ. 1976 ในช่วงแรกอาณานิคมก็ถูกผนวกโดยโมร็อกโกและมอริเตเนีย แต่ต่อมาก็รวมเป็นโมร็อกโกทั้งหมดในปี ค.ศ. 1980 แม้ว่าตามทฤษฎีของสหประชาชาติ ซาฮาราสเปนยังคง อยู่ภายใต้การบริหารของสเปน ในปัจจุบัน หมู่เกาะคะเนรี และบริเวณอีกสองบริเวณบนฝั่งทะเลแอฟริกาเหนือเซวตา และ เมลียายังคงเป็นดินแดนบริหารของสเปน (หมดยุคสมัยแห่ง อาณานิคมสเปน)
  • ป.ล. เราจะเห็นความแตกต่าง ของการทำสงครามเพื่ออิสระภาพ ในอเมริกาเหนือ เป็นไปในแนวทาง เพื่อรวมเป็นสหพันธรัฐขนาดใหญ่ กลายเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาในท้ายที่สุด ในขณะที่อเมริกาใต้ สงครามเพื่ออิสรภาพ นำไปสู่ความเป็นเอกราช ของประเทศต่างๆ หลายประเทศ ในตอนท้าย... แต่ไม่ว่าบทสรุปจะจบลงแบบไหนนั้น ชนพื้นเมืองอเมริกัน ล้วนไม่ได้รับสิทธิ เสรีภาพ และ อิสรภาพ อย่างแท้จริง.

ป.ล.2 จบตอนที่ 3 ติดตามตอนต่อไป ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น