วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตอนที่ 2. ไวรัสมรณะ อีโบล่า! กับความน่าสงสัยใน"ต้นกำเนิด"





การทำสงครามทางชีวภาพ (อาวุธเชื้อโรค)
ตอนที่ 2. ไวรัสมรณะ อีโบล่า! กับความน่าสงสัยใน"ต้นกำเนิด"
  • อีโบลา เป็นเชื้อไวรัส จัดอยู่ในสกุล Ebolavirus วงศ์ Filoviridae ประเภท Mononegavirales 
  • อีโบลาเกิดจากไวรัสสี่ชนิด ได้แก่ 
    • -ไวรัสบันดิบูเกียว (Bundibugyo virus / BDBV) 
    • -ไวรัสอีโบลา (Ebola virus / EBOV)
    • -ไวรัสซูดาน (Sudan virus / SUDV) 
    • -ไวรัสป่าตาอี (Taï Forest virus / TAFV)
  • ระหว่างการระบาด ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุด คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • แม้องค์การอนามัยโลกจะได้พยายามอย่างหนัก ก็ยังไม่สามารถบอกได้โดยชัดเจน ถึงต้นกำเนิดของเชื้อมรณะดังกล่าว มีเพียงแค่การคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นเชื้อโรคที่มาจากค้างคาวประเภทกินผลไม้ เนื่องจากยังไม่อาจทราบได้ว่าสัตว์ชนิดใดเป็นพาหะของไวรัส องค์การอนามัยโลกจึงวางมาตรการเข้มงวดกำหนด ให้ไวรัสอีโบลาต้อง ควบคุมความปลอดภัยชีวภาพ ไว้ที่ระดับ 4" (Biosafety Level 4) ซึ่งจะต้องจัดการห่อหุ่มในการขนย้ายและจัดเก็บด้วยความระมัดระวัง"อย่างสูง"
  • ไข้เลือดออกอีโบลามีความร้ายแรงถึงเสียชีวิต เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนที่สามารถใช้ป้องกันและรักษาได้ นอกจากการระมัดระวังในด้านความปลอดภัยทางชีวภาพไว้ที่ระดับ 4 แล้ว อีโบลา ยังถูกจัดเป็นเชื้อชีวภาพที่อาจใช้ "ก่อการร้ายทางชีวภาพ ประเภท A" (Category A bioterrorism) อีกด้วย โดยศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค ขององค์การอนามัยโรค
  • (ไวรัสอีโบลามีศักยภาพที่จะนำมาใช้พัฒนาเป็นอาวุธได้ในสงครามชีวภาพได้ ไวรัสสามารถแพร่เชื้อได้โดยละอองที่สร้างจากห้องปฏิบัติการ โดยทำให้มีขนาด 0.8–1.2 ไมโครเมตร ที่สามารถติดต่อ จากการหายใจเข้าไปได้ เนื่องจากช่องทางการติดเชื้อที่เป็นไปได้นี้ ไวรัสเหล่านี้จึงถูกจัดเป็นอาวุธชีวภาพหมวด A ล่าสุด ไวรัสได้แสดงว่าแพร่จากหมู สู่ไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ได้โดยไม่ต้องสัมผัส)
  • ประสิทธิภาพของอีโบลา นั้นมีความร้ายแรงที่สูงมากและความรวดเร็ว ซึ่งสามารถฆ่าประชากรในชุมชนหรือเมืองทั้งหมดได้ ต้องเผาทำลายให้หยุดก่อนระบาดเข้าไปในชุมชนที่ใหญ่
  • ในอดีตไม่มีการแพร่ระบาด ของโรคชนิดนี้เกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ 
  • พบเชื้อครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2519 หลังจาก สงครามเวียดนาม ในสงครามเวียดนามอเมริกา ส่งทหารไปรบที่เวียดนาม เป็นสงครามที่ยาวนานถึง 16 ปี และเป็นสงครามอันแสนอัปยศ ของอเมริกา ทหารอเมริกาเสียชีวิตมากมาย สุดท้ายอเมริกา พ่ายแพ้เวียดนาม ไปในที่สุด
สาเหตุหลัก ในการแพ้สงครามเวียดนาม ของอเมริกา
    • 1. แพ้คน ยุทโธปกรณ์ของอเมริกา ในช่วงสงครามเวียดนามนั้นดีกว่า เวียดนาม หลายเท่านัก แต่แพ้ ความอดทน และความขยัน ในการทำสงคราม ของคนเวียดนาม คนเวียดนามรบแบบกองโจร เมื่ออเมริกาไม่ทันระวังตัวก็จะเข้าจู่โจม พออเมริกา ตั้งตัวได้ก็ถอยหนี เหมือนเกมส์ แมว ไล่จับ หนู ไม่รบซึ่งหน้า.
    • 2. แพ้สภาพภูมิประเทศ ไม่คุ้นเคยกับสภาพภูมิประเทศ ทำให้ตกไปอยู่ในชัยภูมิ ที่ด้อยกว่า และเสียเปรียบ ในการรบ.
    • 3. แยกแยะ มิตรกับศัตรู ไม่ออก เพราะชาวบ้าน กับ นักรบเวียดนาม มีความคล้ายคลึง กันไปหมด.
    • 4. สัตว์ร้ายนานาชนิด เช่นงูเห่า งูจงอาง ทากดูดเลือด และอื่นๆ แต่ สัตว์ที่ร้ายที่สุด คือยุง นำมาซึ่งโรค ไข้เลือดออก กับไข้จับสั่น (มาลาเลีย) เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ ทหาร อเมริกาเจ็บป่วยและเสียชีวิต เป็นจำนวนมาก เป็นเรื่องที่ทางอเมริกาเอง ก็ต้องยอมรับว่า โรคร้ายเหล่านี้ มีผลในการทำสงคราม ถึงกับทำให้การรบ แพ้ หรือ ชนะกันได้
  • อเมริกาทำสงครามเวียดนามยาวนาน ถึง 16 ปี อเมริกาก็ถอนทหารออกจากเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2516 (แต่ยังมีการรบกันภายในเวียดนามต่อไป อีก 2 ปี.. )
  • และหลังจากนั้น ก็พบผู้ป่วย ไวรัสอีโบล่า รายแรกเกิดขึ้น (และนั่นคือความน่าสงสัยในต้นกำเนิด ของไวรัสมรณะ พอสิ้นสงครามเวียดนาม โลกก็กำเนิด เชื้อโรคร้ายแรง ชนิดใหม่ ขึ้น)
  • ระบุเชื้อไวรัสอีโบล่า ที่พบครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2519 ที่ แอฟริกา ในจังหวัดแห่งหนึ่งของประเทศซูดาน ผู้ป่วยมีอาการเลือดออกภายใน แล้วเสียชีวิต
  • มีความเป็นไปได้ที่อเมริกา จะพัฒนาเชื้อชีวภาพชนิดใหม่ที่เป็นอาวุธ ที่มีอานุภาพ ร้ายแรงฆ่าสามารถฆ่าคนได้เป็นจำนวนมาก จากการรบ ที่ยาวนานในเวียดนาม อเมริกาอาจใช้ ทหารของตนเป็นตัวทดลอง ในการรับเชื้อ แล้วดูอาการ ดูความรุนแรงของเชื้อโรค อย่างไข้เลือดออก แล้วนำตัวอย่างเชื้อไปพัฒนา ในห้องทดลอง ให้เชื้อมีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม สามารถนำไปใช้เป็นอาวุธได้ .
  • เป็นที่น่าสังเกตุว่า เชื้อไวรัส อีโบล่า มีการแสดงอาการ ภาวะการติดเชื้อคล้าย โรคไข้เลือดออก ในบางระยะของการฟักตัวและ ระยะแสดงอาการของโรค 
  • (อาจเป็นสายพันธุ์ใหม่ของ โรคไข้เลือดออก ที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์)
  • ที่น่าสังเกตุที่สุดการระะบาดของเชื้อ มักเกิดขึ้นในภูมิภาค แอฟริกาเท่านั้น 
  • (ใช้เป็นห้องทดลอง ดูผลการวิจัย ดูการระบาด และ ความรุนแรง ของโรค)
  • และทุกครั้งที่เกิดการระบาด หน่วยงาน CDC มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าว ทุกครั้ง (CDC = Centers for Disease Control หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐอเมริกา)
  • เชื้ออีโบล่ามีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แรกพบการระบาดของเชื้ออีโบล่า การเสียชีวิต เกิดจากเลือดออกภายในเท่านั้น... แต่ในช่วงหลัง พบผู้ป่วยเลือดออก ตาม หู ตา จมูก ปาก ทวารหนัก และจ้ำเลือดตามผิวหนัง 
  • เชื้อมีความน่ากลัวมากแค่ ใกล้ชิด ผู้ป่วยก็อาจติดเชื้อได้ การไอ หรือ จาม ก็สามารถแพร่เชื้อ ได้เช่นกัน ถ้าแพร่ระบาดในเมืองใหญ่ๆของโลก เพียงไม่นาน สามารถทำให้ประเทศที่มีการระบาดนั้นกลายเป็นประเทศที่มีสภาพ”รัฐที่ล้มเหลว “(Failed State)
  • การระบาดของเชื้อ อีโบล่า ครั้งล่าสุด เมื่อปี พ.ศ.2557 มีการกระจายตัวของโรค ในวงกว้าง ในหลายประเทศ ของแอฟริกา เช่น กีนี / ไลบีเลีย / เซียร์ร่าลีโอน /ไนจีเรีย มีผู้ติดเชื้อสูงถึง27,000 คน ในเวลาอันสั้น อัตราการเสียชีวิตสูง รวมไปถึงทีมแพทย์ จากอเมริกา ที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยแล้วได้รับการติดเชื้อ อีโบล่า ด้วย.
  • ที่สำคัญ รัฐบาลอเมริกา นำแพทย์ที่ติดเชื้อดังกล่าว กลับไปรักษาที่ อเมริกา
  • (ดอกเตอร์. เอียน โครเซียร์ แพทย์ชาวอเมริกัน ที่ลงพื้นที่ในนามองค์การอนามัยโลก รักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสอีโบลาที่ประเทศเซียร์ราลีโอน) เป็นเหตุให้อเมริกันชน มากมายเกิดอาการหวาดผวา 
  • แต่การรักษา ทำให้อาการดีขึ้น จนทีมแพทย์ที่ทำการรักษา ดอกเตอร์. เอียน ออกมาประกาศว่า แพทย์ดังกล่าวที่ติดเชื้อ ได้ปลอดเชื้อ ไวรัสอีโบล่า แล้ว ทำให้อเมริกันชน หายใจโล่งขึ้นมาทันที.. แต่จากผลการตรวจล่าสุด แต่จากผลการตรวจล่าสุด แพทย์ชาวอเมริกาที่ได้รับการรักษา กลับพบว่าเชื้ออีโบลา ยังไม่สิ้นฤทธิ ได้ไปฝังตัวอยู่ที่ดวงตา แพทย์ดังกล่าว และได้ทำให้ม่านตาเปลี่ยนสี จากสีฟ้าเป็นสีเขียว แม้ตรวจไม่พบเชื้อในกระแสเลือดแล้วก็ตาม ทีมแพทย์ที่ทำการรักษา ต้องเร่งรีบติดตามตรวจเช็คดวงตาผู้รอดชีวิตจากเชื้อมรณะรายอื่น ๆ จากรายงานในวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 ว่า สีม่านตาของ ดอกเตอร์.เอียน โครเซียร์ แพทย์ชาวอเมริกันที่ลงพื้นที่ในนามองค์การอนามัยโลก รักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสอีโบลาที่ประเทศเซียร์ราลีโอน เมื่อปีที่ผ่านมา และกลายเป็นผู้ติดเชื้อเสียเอง ดวงตาของเขาได้เปลี่ยนจากสีฟ้า กลายเป็นสีเขียว แม้จะได้รับการรักษาหาย จนตรวจไม่พบเชื้ออีโบลาในกระแสเลือดแล้ว ก็ตาม.
  • ดอกเตอร์. เอียน โคเชียร์ ถูกตรวจพบว่าติดเชื้ออีโบลาเมื่อ เดือนกันยายน 2557 และถูกส่งตัวกลับมารักษาที่ ยูนิตพิเศษ รับมือผู้ป่วยอีโบลา โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยอีมอรี่ ในเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐฯอเมริกา และได้รับการประกาศว่าหายจากโรค ในเดือนตุลาคม 2557 หลังผลตรวจไม่พบเชื้อไวรัสแฝงในกระแสเลือดแล้ว แต่หลังจากนั้นอีก 2 เดือน ดอกเตอร์.เอียน โคเซียร์ กลับไปพบแพทย์ที่เดิมอีกครั้งด้วยอาการตาอักเสบ มีความดันดวงตาสูงในลูกตาข้างซ้าย มีอาการบวม และมีปัญหาด้านการมองเห็น จากการตรวจของเหลวจากดวงตาพบว่า มีไวรัสอีโบลาแฝงอยู่ แต่ไม่พบว่ามีเชื้ออยู่ในน้ำตาหรือเนื้อเยื่อรอบ ๆ ดวงตา และหลังจากตรวจพบเชื้อ 10 วัน สีม่านตาของแพทย์รายนี้ได้เปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีเขียว
  • ดอกเตอร์.สตีเฟ่น จักษุแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษา เชื่อว่าเชื้ออีโบลาที่ตรวจพบในดวงตา จะไม่นำมาสู่การแพร่เชื้อให้คนอื่น แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่พบนี้ทำให้ตระหนักได้ว่า ผู้ที่รอดชีวิตจากเชื้อมรณะควรต้องได้รับการติดตามตรวจสุขภาพ ด้านอาการของ ดอกเตอร์. เอียน โคเซียร์ ในตอนนี้หลังได้รับการรักษามาระยะหนึ่งแล้ว พบว่าสีม่านตากลับมาเป็นเช่นเดิม และปัญหาการมองเห็นเริ่มดีขึ้น แต่ยังไม่สามารถตอบได้ว่าต้องใช้เวลานานเท่าไรจึงจะกลับมาเป็นปกติ
  • ทั้งนี้ เคยมีรายงานปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ในหมู่ผู้ป่วยที่รอดชีวิต จากเชื้ออีโบลา มาแล้ว ในการแพร่ระบาดที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้า นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้ออีโบลาสามารถแฝงอยู่ในน้ำอสุจิของผู้ชายได้นานหลายเดือนแม้จะหายจากอาการติดเชื้อแล้ว.
  • ป.ล. "มนุษย์" มักจะประมาทเกินไป ที่คิดว่าสามารถบังคับ ควบคุม เชื้อมรณะนี้ได้ 
  • (บางที การเล่นสนุกกับความตาย ก็ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะพลังของธรรมชาติ ยิ่งใหญ่เกินกว่ามนุษย์ จะจินตนาการ )
  • ป.ล.2 เหมือนอเมริกาจะบอก กับนานาอารยประเทศว่า เรา! อเมริกา มีอาวุธร้ายแรง ที่ชื่อ "อิโบล่า" อยู่ในครอบครอง และเราก็สามารถ "เอาชนะ" โรคร้ายนี้ได้แล้วด้วย ประเทศไหนที่ไม่ยอมก้มหัวให้เรา ก็จงระวังตัวไว้ให้ดี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น