วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สัญญาณบอกเหตุถึง การล่มสลายของ สหรัฐฯ อเมริกา

สัญญาณบอกเหตุถึง การล่มสลายของ สหรัฐฯ อเมริกา
  • อารยะธรรมต่างๆในโลก ที่เคยปรากฏขึ้นบนหน้าประวัติศาสตร์นั้น ได้ถือกำเนิดขึ้น และ ล่มสลายลงไป เป็นวัฏจักร จักรวรรดินิยมทั้งหลายที่ได้ล่มสลายลงไปแล้วในอดีต เราจะพบว่า ครั้งนี้ในประวัติศาสตร์จะเป็นคิวของอเมริกา ที่จะกลายเป็นบทเรียนและบันทึกทางประวัติศาสตร์ ที่วางอยู่เคียงคู่กับจักรวรรดินิยมและอารยะธรรมโบราณทั้งหลาย
  • ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา อเมริกาได้รับประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ การเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากในด้านคุณธรรม ส่วนบุคคลและของสังคมการเมือง ผลของการเปลี่ยนแปลงนี้ก็คือ อเมริกาในปัจจุบัน ความเกียจคร้าน ความไร้ศีลธรรมและความเห็นแก่ตัวได้กลายเป็นจิตวิญญาณที่ปกคลุมอยู่ทั่วไปในสังคม และภายใต้ความมืดมน ของสภาพการณ์ดังกล่าวนี้ การปกครองของผู้มีคุณธรรม (meritocracy) จะถูกแทนที่ด้วยการปกครองของชนชั้นและวงศ์ตระกูล ประชาชาติใดก็ตามที่การปกครองของผู้มีคุณธรรม ถูกแทนที่ด้วยการปกครองของชนชั้นและวงศ์ตระกูล สังคมและประชาชาตินั้น จะไม่สามารถดำรงความอยู่รอดของตนสืบไปได้ด้วยความแข็งแกร่งและมั่นคง ปัจจุบันนี้สังคมของอเมริกาไม่ว่าจะในด้านของการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านจริยธรรมทางสังคม ที่ได้ประสบกับความเสียหายและความเสื่อมทรามด้วยมือของกลุ่มชนชั้นและวงศ์ตระกูลดังกล่าว ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็คือพวกนายทุน ที่กำลังควบคุมและครอบงำอยู่ ซึ่งต่างก็ให้การสนับสนุนค้ำจุนซึ่งกันและกัน เกาะกุมและทรงอิทธิพล
  • ปัจจุบันการใช้ชีวิตอยู่ในความฟุ่มเฟือยและความสุขสำราญ จะเป็นเครื่องสนองความพึงพอใจ ของประชาชนชาวอเมริกันมากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด คุณค่าของการทำงานและความพยายามในการที่จะทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จ กำลังหมดสิ้นไปจากสังคม ความพยายามในการทำงานอย่างหนักนับว่าเป็นเรื่องที่ไร้สาระ การโกหกและการหลอกลวงกำลังถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือหลักเพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายต่างๆ ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในทุกระดับของสังคมอเมริกันนับจากระดับสูงสุดจนถึงที่ต่ำสุด บรรดานักการเมืองจะพูดโกหกปลิ้นป้อนอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และความเสื่อมทรามทางศีลธรรมของสมาชิกในสังคมเองก็เป็นเหตุทำให้การโกหกและการหลอกลวงได้แพร่ระบาดไปในหมู่ประชาชนโดยทั่วไป
  • จิม เนลสัน แบล็ค (Jim Nelson Black)ชาวอเมริกัน นักวิจัยเกี่ยวกับปัญหาสังคมอเมริกา มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “เมื่อประชาชาติทั้งหลายได้ตายลง” (When nations die) ส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้เขากล่าวว่า “เมื่อเราพิจารณาประวัติศาสตร์ในช่วงสามพันปีที่ผ่านมาเราจะพบว่ามีอารยะธรรมต่างๆ มากมายปรากฏขึ้น แต่ท้ายที่สุดก็ต้องพบกับความตกต่ำและการล่มสลาย ประวัติศาสตร์โลก ก็คือประวัติศาสตร์ของประชาชาติทั้งหลายที่ถูกพิชิตโดยประชาชาติอื่น หรือผลจากการจรลาจลและความโกลาหลต่างๆ ที่ทำให้มันล่มสลายลง และขณะนี้พยานหลักฐานและกรณีแวดล้อมต่างๆ ของเหตุการณ์ลักษณะนี้ที่กำลังเกิดขึ้น ในประเทศของเรา (อเมริกา) เช่นเดียวกัน เมื่อเราพิจารณาความหายนะและเหตุการณ์ต่างๆ ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่จักรวรรดิ์ ต่างๆได้ล่มสลายลง มีความคล้ายคลึง กับสังคมของเรา ในเวลานี้
  • พวกเราส่วนใหญ่คิดว่าการถูกทำลายล้างของเมืองคาร์เธจ (Carthage) การปรากฏขึ้น ของจักรวรรดิกรีก และการล่มสลายของจักรวรรดิโรม เป็นแค่การจินตนาการเกี่ยวกับอดีตและบทเรียนต่างๆ อันยาวนานแห่งประวัติศาสตร์ที่ถูกหลงลืมไปแล้วเพียงเท่านั้น และเหตุการณ์ต่างๆ อย่างเช่น การพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล การแบ่งแยกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การล่มสลายของระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ของฝรั่งเศส การเสื่อมสลายลงที่ละน้อยของจักรวรรดิอังกฤษนั้น ไม่ค่อยมีความสำคัญ และไม่เป็นที่ชัดเจนสำหรับพวกเราสักเท่าใด ส่วนใหญ่พวกเราไม่ค่อยจดจำเกี่ยวกับบทเรียนต่างๆ ทางประวัติศาสตร์เท่าใดนัก เช่นในกรณีที่เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางปัญญาของฝรั่งเศส หรือประเด็นที่นำไปสู่การปฏิวัติอเมริกา เราได้เรียนรู้บทเรียนจากประวัติศาสตร์เป็นจำนวนมาก แต่ทว่าสิ่งเหล่านี้เป็นอดีตที่ไม่อาจหลีกหนีและเป็นสถานะทางประวัติศาสตร์ของเรา นี่เป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่งที่จะทำให้เราสามารถเข้าใจถึงธรรมชาติและเนื้อแท้ของการดำเนินชีวิตในยุคสมัยนั้นได้อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากว่ายุคสมัยเหล่านั้นและความสัมพันธ์ต่างๆ ของมันจะสะท้อนให้เห็นถึงหัวใจของปัญหาที่อยู่เบื้องหน้าของเราในปัจจุบัน”
  • จิม เนลสัน แบล็ค : ความคล้ายคลึงกันของสถานการณ์ในปัจจุบันของอเมริกากับความหายนะและเหตุการณ์ต่างๆ ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ นับว่าเป็นสิ่งที่น่าทึ่ง
  • มีเหตุผลหลายประการที่สามารถอธิบายถึงการล่มสลายและความพินาศของแต่ละประชาชาติ ซึ่งหนึ่งในเหตุผลที่สำคัญที่สุด(ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะถูกมองข้าม) ที่สามารถกล่าวได้ก็คือ “การละทิ้งศาสนา” รัสเซล เคิร์ก (Russell Kirk) ผู้เป็นเชี่ยวชาญด้านทฤษฎีเกี่ยวกับการเมืองและเป็นนักวิจัยด้านประวัติศาสตร์มีความเชื่อว่า รากศัพท์ของคำว่า “culture” (วัฒนธรรม) มาจากคำว่า “cult” (การเคารพบูชาหรือพิธีปฏิบัติทางศาสนา) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ วัฒนธรรมนั้นถูกประกอบขึ้นบนพื้นฐานของโลกทัศน์ทาง ศาสนาหรือทางจิตวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง อียิปต์โบราณเป็นสังคมแห่งพิธีกรรมที่ก่อรูปขึ้นบนพื้นฐานของการเคารพบูชาบรรดาเทพเจ้าและเทพีธรรมชาติ ส่วนกรีกและโรมันก็มีวิหารเคารพบูชารูปปั้นสักการะของตนเอง ด้วยการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอินเดีย จีนและส่วนอื่นๆ ของโลกจะเห็นได้ว่าทั้งหมดเหล่านี้ รากฐานของอารยธรรมล้วนเกิดขึ้นมาจากลักษณะหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา และเป็นเรื่องธรรมชาติที่ว่าเมื่อความเชื่อต่างๆ แบบดั้งเดิมของประชาชาติหนึ่งได้อ่อนแอลง ก็จะทำให้ประชาชาติทั้งหลายตายลง ศาสนาที่เป็นหลักสำหรับการบริหารจัดการประชาชาติก็ได้ตายไปแล้วจากสังคมอเมริกา
  • วิลล์ ดูแรนท์ (Will Durant) กล่าวว่า "สังคมหนึ่งที่ปราศจากศาสนาจะไม่สามารถ ดำรง อยู่ได้" สังคมอเมริกันกำลังย่างก้าวเข้าสู่เส้นทางที่ปราศจากฎเกณฑ์ทางศาสนา แผ่นป้ายบัญญัติสิบประการ (Ten Commandments) ถูกยกออกไป และคุณค่าต่างๆ ทางด้านศาสนาถูกรวบรวมออกไปจากชนชั้นของสังคม พื้นฐานความเชื่อของคริสต์ศาสนาไม่มีการเรียนการสอนในโรงเรียนต่างๆ ของรัฐอีกต่อไป และส่วนใหญ่มักจะถูกนำมาเย้ยหยันถากถางในเวทีต่างๆ ทางด้านการศึกษาและด้านสื่อ ดังนั้นจะสามารถจินตนาการอะไรได้อีกเกี่ยวกับอนาคตของประเทศนี้
ในหนังสือของเนลสัน แบล็ค ได้ชี้ให้เห็นถึงสามด้านของการล่มสลาย คือ
    • 1.วิกฤติของความไร้กฎระเบียบ
    • 2.การสูญเสียระบบทางด้านเศรษฐกิจ
    • 3.การเมืองของชนชั้นปกครอง นายทุน และ นักการเมือง กับเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ
  • ในประวัติศาสตร์เราจะพบเห็นตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างมากมายที่เกิดจากผลต่างๆ ที่นำมาซึ่งความหายนะจากการล่มสลายของกฎหมายและความเป็นระบบระเบียบ ในสมัยกรีกโบราณ สัญญาณแรกของความหายนะก็คือ การสูญสิ้นการเคารพให้เกียรติของสาธารณชนต่อจารีตประเพณี ความมักง่าย ความเปรอะเปื้อนและไร้ขื่อแปรของบรรดาเยาวชน ซึ่งผลติดตามมาก็คือ ศิลปะและความบันเทิงต่างๆ ที่ชักนำไปสู่ความเสียหาย นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์เอง ก็ได้ทำให้บรรยากาศของพูดคุยและความสัมพันธ์ต่างๆ บิดเบี้ยวไป การบรรยายและการปาฐกถา กลายเป็นสถานที่ของการต่อสู้และการแข่งขันชิงชัยกัน ปัญญาชนเริ่มที่จะหัวเราะเยาะและถากถางซึ่งกันและกัน และโจมตีต่อรากฐานต่างๆ ทางจารีตประเพณีดั้งเดิมของสังคมแบบกรีกโบราณ (Hellenistic) บรรดานักคิดสมัยใหม่จะพูดแต่เรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานต่างๆ และเรียกร้องให้มอบสิทธิในการแสดงทัศนะความคิดเห็นให้แก่เยาวชนคนหนุ่มสาวในสังคม โดยปราศจากการชี้นำทางด้านจารีตประเพณีแบบดั้งเดิม ผู้ที่เริ่มเข้าสู่ยุคใหม่กลายเป็นพวกป่าเถื่อนและเริ่มที่จะทำลายระบบแบบแผนเก่าๆ และชาวกรีกก็ค่อยๆกลายเป็นประชาชาติที่ไร้กฎระเบียบและพบกับความอัปยศ
ความเสื่อมทรามทางด้านวัฒนธรรม
  • สาเหตุหลักที่นำพาวัฒนธรรมไปสู่ความเสื่อมสลาย ได้แก่ /ความเสื่อมถอยของระบบการศึกษา
    • / ความอ่อนแอของรากฐานทางวัฒนธรรม
    • / การสูญเสียความเคารพในจารีตประเพณีต่างๆ / การแพร่ขยายของลัทธิวัตถุนิยม
  • นี่คือ ปัจจัยที่ทำให้วัฒนธรรมทั้งหลายเกิดความเสียหาย โดนัลด์ ดัทลีย์ (Donald Dudley)จากการศึกษาวิจัยของเขาเกี่ยวกับอารยธรรมโรมัน กล่าวว่า “มิใช่มีแค่เพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่ทำให้จักรวรรดินี้ต้องล่มสลายลง ทว่าการล่มสลายนั้นเป็นมาจากความอ่อนเปลี้ยเพลียแรง และความอ่อนแอที่เกิดขึ้นในสังคมของโรมัน แม้ว่าผลกระทบของความอ่อนแอเหล่านี้ อาจจะแตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้วมันคือสาเหตุที่ทำให้อารยธรรมนั้นต้องล่มสลายลง”
  • ความเสื่อมทรามทางวัฒนธรรมของประชาชาติหนึ่งๆ นั้นจะนำไปสู่การการล่มสลายทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว และตัวอย่างของการล่มสลายดังกล่าวนี้จะมีความคล้ายคลึงกัน ในอารยธรรมต่างๆ ที่หลากหลาย จากการศึกษาและวิจัยประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับอารยธรรมทั้งหลาย ความคล้ายคลึงกัน แม้จะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ระหว่างจักรวรรดิทั้งหลายที่ล่มสลายลงไปแล้วก็ตาม แต่ลักษณะวิธีการที่นำไปสู่การล่มสลายของวัฒนธรรมเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น ความสุดโต่งในการใช้ชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือย การแสวงหาความสุขสำราญ และความมัวเมาในโลกีย์ในจักรวรรดิโรมัน ถูกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุที่สำคัญของการล่มสลายทางวัฒนธรรมของจักรวรรดิดังกล่าว
  • ความเสื่อมทรามทางด้านศีลธรรมมักจะเกิดจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ความไร้ศีลธรรม /การทำลายความเชื่อต่างๆ ทางศาสนา /การดึงชีวิตของมนุษย์ไปสู่ความว่างเปล่าและความไร้แก่นสาร/
  • เอ็ดเวิร์ด กิบบอน ( Edward Gibbon) นักประวัติศาสตร์คนหนึ่งที่ได้เขียนเกี่ยวกับการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันไว้เช่นนี้ว่า “ผู้นำของจักรวรรดิต้องประสบกับความอ่อนแอ ความเสื่อมเสียและความเชื่อในเรื่องเหลวไหล ค่านิยมทางศีลธรรมและกฎหมายต่างๆ ที่เข้มงวดได้สิ้นสลายลง การกดขี่และการปราบปรามถูกนำมาใช้ การใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้องทำให้ประชนในชาติ อ่อนแอลงหากต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานของต่างชาติ การกดขี่และการปราบปรามที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมอเมริกาปัจจุบัน ภายใต้ข้ออ้างของการพิทักษ์ปกป้องความมั่นคงของชาตินั้นได้กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว เพียงพอแล้วที่เราจะพิจารณาจากคำรายงานต่างๆ ที่มีการเผยแพร่เกี่ยวกับการเผชิญหน้าของเจ้าหน้าที่ตำรวจของอเมริกาที่ปฏิบัติต่อกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง 
การละเมิดสิทธิมนุษยชนใน อเมริกา 
  • ปัญหาสิทธิมนุษยชน ในสหรัฐ มี 6 ข้อได้แก่ 
    • 1.การดำเนินชีวิต 
    • 2.เสรีภาพและสวัสดิภาพของมนุษย์ 
    • 3.สิทธิและเสรีภาพทางการเมือง 
    • 4.สิทธิในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม 
    • 5.การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ-สิทธิสตรีและเด็ก 
    • 6.การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศอื่น
  • การละเมิดสิทธิมนุษยชน ในสังคมอเมริกัน มีให้เห็นอย่างดาษดื่น แม้แต่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐ มีการกระทำเกินกว่าเหตุหลายคดีความ นอกจากนี้ ชีวิตชาวอเมริกันในปัจจุบัน ก็ขาดหลักประกันด้านความปลอดภัย รวมทั้งความเท่าเทียมกันในสังคม
  • รายงาน ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2004 ว่าในปี 2003 การละเมิดสิทธิมนุษยชน ในหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ก็มีปรากฏให้เห็น อาทิ กรณีของ นาง เจ้าเยี่ยน นักธุรกิจหญิงชาวจีนรายหนึ่ง ที่เดินทางไปสหรัฐ เมื่อเดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว ก่อนจะถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐใส่กุญแจมือและทุบตี โดยไม่มีความผิด
  • การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ในสังคมอเมริกัน ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์การ์เดียน ของอังกฤษ ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2004 ที่ระบุว่าในปี 2002 ครอบครัวชาวอเมริกันผิวขาว มีคุณถาพ ชีวิตที่ดี กว่าครอบครัวอเมริกันเชื้อสายละตินถึง 11 เท่า และมากกว่าอัฟฟริกันอเมริกันถึง 15 เท่า นอกจากนี้ การปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่รัฐ ต่อ ชาว อเมริกันผิวสี โดยทั่วไป ก็แย่กว่าพลเมืองอเมริกันผิวขาว 
  • จากข้อมูลของกระทรวงยุติธรรม สหรัฐ ในเดือนพฤศจิกายน 2004 ระบุว่า นักโทษมากกว่า 70% ในดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นชาวอเมริกันผิวสี สถานการณ์การทำร้ายผู้หญิง และเด็กในสหรัฐ ก็รุนแรงไม่แพ้ประเทศอื่น จากสถิติอาชญากรรมของเอฟบีไอ พบว่าในปี 2003 เกิดคดีข่มขืนกระทำชำเราถึง 93,233 คดี หรือเท่ากับว่ามี ผู้หญิงทุก 63.2 คนใน 100,000 คน ตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิด ทางเพศ ในทุกๆปี มีเด็กที่ถูกบังคับให้เป็นโสเภณีหรือค้าประเวณี ราว 400,000 คน
ด้านสิทธิความเท่าเทียมระหว่างเพศ 
  • จากรายงานของกระทรวงแรงงานสหรัฐเมื่อเดือนมกราคม 2004 ชี้ชัดว่า ผู้หญิงที่ทำงานเต็มเวลา เช่นเดียวกับผู้ชายแต่ได้เงินเพียง 81.1% ที่ผู้ชายได้รับ ซึ่งนั่นคือการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้านความเท่าเทียมกัน ของ เพศชาย และ เพศหญิง
  • กาชาดสากลระบุ การทรมานนักโทษเป็นสิ่งที่ทหารอเมริกันปฏิบัติจนเป็น''ระบบ'' ไปแล้ว ในด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศอื่น หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ และ นิวส์วีก เคยนำมาตีแผ่เรื่องราวเมื่อหลายปีก่อน เกี่ยวกับการใช้วิธีการรุนแรงต่างๆ ในการทรมานนักโทษ ในอัฟกานิสถานและ ในคุก อบูคอหริบ ในอิรัก แหล่งข่าว ของคณะกรรมการกาชาดสากล ให้ข้อมูลว่า การทรมานนักโทษของทหารอเมริกัน ไม่ใช่เกิดขึ้นครั้งเดียว แต่ทำจนกลายเป็น ระเบียบปฏิบัติ ไปแล้ว
  • กองทัพสหรัฐ ได้ทำการเข่นฆ่าอย่างป่าเถื่อน ระหว่างที่เข้าโจมตีในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในสงครามอิรัก ซึ่งจากสถิติการเสียชีวิตของพลเมืองอิรัก คาดว่าการโจมตีอิรัก นำไปสู่การล้มตายของคนมากกว่า 100,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเป็นผู้หญิงและเด็ก
  • สหรัฐอเมริกา มีปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนมากมาย แต่ก็ยังเที่ยวไปทำสงคราม เหยียบย่ำอธิปไตย และละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศอื่น
  • ข้อมูลล่าสุดยืนยัน จำนวน “เด็กไร้บ้าน” ในสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นจนมีจำนวนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในยุคการบริหารประเทศของ “บารัค โอบามา” ชี้ในจำนวนประชากรเด็กทุกๆ 30 คนในเมืองลุงแซมจะมีเด็กไร้บ้าน 1 ราย
  • ศูนย์ครอบครัวคนไร้บ้านแห่งชาติสหรัฐฯ (เอ็นซีเอฟเอช) เผยผลการศึกษาล่าสุดในรายงานชุด “America’s Youngest Outcasts” พบข้อมูลว่า นับตั้งแต่ที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาก้าวขึ้นบริหารประเทศในสมัยแรกเมื่อ 20 มกราคม ปี 2009 เป็นต้นมา จำนวนของ “เด็กไร้บ้าน” ในสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้นเป็น “เกือบ 2.5 ล้านคน” แล้วนับถึงปี 2013 ที่ผ่านมา ถือเป็นจำนวนเด็กไร้บ้านที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ
  • ขณะเดียวกัน ผลการศึกษาครั้งนี้ยังสรุปว่าในจำนวนประชากรเด็กทุกๆ 30 คนในเมืองลุงแซมเวลานี้ จะมีเด็กไร้บ้านรวมอยู่ด้วย 1 ราย โดยที่มลรัฐแคลิฟอร์เนียมีจำนวนเด็กไร้บ้านอยู่มากที่สุดในประเทศ คือ เกือบ 527,000 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 5 ของเด็กไร้บ้านทั่วสหรัฐฯ
  • ผลการศึกษาที่พบว่า จำนวนเด็กไร้บ้านในอเมริกาขณะนี้ที่มีจำนวนเกือบ 2.5 ล้านคนนั้น ถือเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการสำรวจของกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐฯ (ดีโออี) ที่ระบุ จำนวนเด็กไร้บ้านในเมืองลุงแซมมีจำนวนราว 1.3 ล้านคนเท่านั้น
  • ผลการศึกษาล่าสุดชี้ว่า ปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำและการว่างงานที่พุ่งสูงในยุคของรัฐบาลโอบามา คือ ต้นตอสำคัญที่ทำให้พ่อแม่ชาวอเมริกันจำนวนมากสูญสิ้นศักยภาพในการผ่อน-เช่าบ้าน และหลายครอบครัวต้องกลายสภาพจาก “มนุษย์เงินเดือน” เป็น “คนเร่ร่อน” ซึ่งรวมถึงบรรดาเด็กๆในครอบครัวเหล่านี้ที่ต้องกลายเป็นเด็กไร้บ้านในที่สุด
  • ทั้งนี้ ข้อมูลจากรายงานล่าสุดของเอ็นซีเอฟเอชยังระบุว่า จำนวนเด็กไร้บ้านในสหรัฐฯ ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึง 8 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปี 2012-2013
  • นอกจากนี้ ผลจากโครงการพัฒนาและวิจัยอาวุธต่างๆ และ การทำกิจกรรมสงคราม นอกประเทศของสหรัฐ แบบล้างผลาญงบประมาณชาติ ผลประโยชน์ของชาติตกไปอยู่ในมือนักการเมืองและนายทุน ทำให้สหรัฐมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ถึง 18 ล้านๆเหรียญ ในปัจจุบัน ไม่รวมดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกๆนาที มีมูลค่ามากถึง 10 ล้านเหรียญต่อนาที จะเป็นอีกหนึ่งตัวเร่งให้ อเมริกา ไปสู่ความล่มสลาย
  • จากมุมมองทางประวัติศาสตร์ บรรดาจักรวรรดิทั้งมวลในช่วงยุคสุดท้ายของเขาจะมีการปราบปรามประชาชนอย่างกว้างขวาง
  • แคทเธอรีน เอ็ดเวิร์ดส์ (Catherine Edwards) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษกล่าวว่า “สภาพการณ์ที่ไร้ศีลธรรมที่เรากำลังประสบอยู่ในขณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด การคุมกำเนิดและการทำแท้งเพื่อหลีกเลี่ยงการมีบุตรก็เคยเป็นส่วนหนึ่งจากวิธีการที่เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่มีอยู่ในกรุงโรมในยุคสมัยนั้น เมื่อผู้สามีไม่ยอมรับลูกของตนเองที่ถือกำเนิดขึ้นมา ดังนั้นในความเป็นจริงแล้วทำให้เด็กกลายเป็นสิ่งมีอยู่ที่ไร้ซึ่งอัตลักษณ์ ในช่วงวันสุดท้ายของจักรวรรดิโรมันชีวิตกลายเป็นสิ่งไร้คุณค่า กฎหมายต่างๆ กลายเป็นเรื่องยุ่งยากและเป็นภาษีอากรที่หนักหน่วง การค้าและการผลิตเป็นสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดผลกำไร ในที่สุดเด็กๆ (การมีบุตร) กลายเป็นภาระรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นสำหรับการดำเนินชีวิต การทำแท้งและการฆ่าทารก กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา บางครั้งเด็กๆ ถูกขายไปเป็นทาส การดำเนินชีวิตและมารยาทต่างๆ คือความสนุกสนานเฮฮาอย่างเป็นบ้าเป็นหลัง การชุมนุมพบปะที่เต็มไปด้วยความสำเริงสำราญ การมีเพศสัมพันธ์ได้กระทำกันอย่างเปิดเผย ชาวคริสต์ผู้เคร่งครัดศาสนาและผู้คัดค้านจะถูกกีดกันออกจากสังคม”
  • ในสังคมอเมริกาขณะนี้ อัตราที่สูงของการทำแท้งที่พบเห็นในหมู่สตรีชาวอเมริกันคือในช่วงอายุระหว่าง 20 ถึง 24 ปี ซึ่งอยู่ในช่วงวัยที่ดีที่สุดของการเจริญพันธุ์และการให้การอบรมสั่งสอนแก่เยาวชนในอนาคต และในช่วงวัยนี้เองที่จะตกเป็นเป้าของกระแสการโหมโฆษณาชวนเชื่อที่จะชักจูงไปสู่ป่าแห่งความไร้ศีลธรรม ในคุณค่าต่างๆ แห่งการดำเนินชีวิตของชาวอเมริกันมากกว่าวัยใด
  • จากการพิจารณาถึงสภาพการณ์ของสังคมปัจจุบันของเอมริกาในทั้ง 3 ปัจจัย แห่งการล่มสลายที่ได้กล่าวถึงในข้างต้นสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน รัสเซล คิร์ก (Russell Kirk) ได้กล่าวว่า “ในทัศนะของผมสังคมอเมริกันกำลังว่ายวนอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของความหายนะ ในขณะที่หลายคนกล่าวว่า การมาถึงขั้นตอนนี้นับเป็นความเฟื่องฟูของอารยธรรมของเรา แต่ความจริงแล้วสภาพการณ์เช่นนี้เป็นผลมาจากการใช้อำนาจต่างๆ ที่กำลังอยู่ในสภาพของการทำลายล้างวัฒนธรรมของตนเอง การคุยโวโอ้อวดเกี่ยวกับความเป็นเสรีภาพประชาธิปไตย (Democratic freedoms) ที่มีอยู่ในสังคมเสรีนิยม (Liberal society) ในความเป็นจริงมันคือความเป็นทาสแห่งตัณหาและเป็นภาพลวงตาที่กำลังทำลายล้างความเชื่อต่างๆ ทางด้านศาสนา และจากการมุ่งเน้นในการสร้างวัตถุและสร้างชุมชนเมืองศิวิไลนั้นจะนำพาสังคมไปสู่การล่มสลาย และจะลบทำลายแบบแผน มารยาทและจารีตประเพณีที่ดีงามต่างๆ ในชีวิตให้หมดไป” หากเราพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ของการล่มสลายของอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายนั้น เราจะยอมรับได้อย่างชัดเจนว่าอเมริกานั้นกำลังตั้งอยู่ในความสูงชันขั้นสุดท้าย ก่อนจะลงหุบเหว ที่มีคล้ายคลึงกัน กับสิ่งที่ได้เกิดขึ้นในกรีก โรมัน อียิปต์โบราณและในอารยธรรมอื่นๆ และในวันนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายเช่นเดียวกันสำหรับอารยธรรมตะวันตก ศาสตราจารย์อัลลาน บลูม (Allan Bloom) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “จุดจบของการคิดแบบอเมริกัน” ว่า “ประวัติศาสตร์ของโลกในครั้งนี้กำลังจะเป็นคิวของอเมริกา 
  • ประชาชาติอเมริกาขณะนี้กำลังอยู่ในเส้นทางซึ่งจะไปนำพาไปสู่ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ อารยธรรมทั้งหลายก่อนหน้านี้ ไปสู่การล่มสลาย ความเชื่อต่างๆ และผู้นำที่ไร้ความคู่ควรจะถูกโฆษณาในสื่อของระบบการศึกษาและการวางนโยบายต่างๆ อย่างง่ายดาย และแบบอย่างพฤติกรรมทางเพศในอเมริกาในปัจจุบัน มีความน่าเกลียดยิ่งกว่า ที่เคยเป็นอยู่ในอารยธรรมทั้งหลายที่ได้ล่มสลายไปแล้วเสียอีก ชีวิตของมนุษย์กลายเป็นสิ่งไม่มีค่า ทารกแรกเกิดถูกทิ้งขว้างไว้ที่นี่ที่นั่น ทารกในครรภ์จะถูกทำแท้งและเด็ก ๆ จะถูกขายไปเป็นทาส ที่น่าแปลกประหลาด ยิ่งไปกว่าทั้งหมดนั่นก็คือ อีกด้านหนึ่งของพฤติกรรมที่ตรงข้ามกับมนุษยธรรมนั่นก็คือ สาขาวิชาเกี่ยวกับการช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือสำหรับการฆ่าตัวตายของคนแก่ชราที่ได้กลายเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
  • เมื่อเทียบกับชนรุ่นต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ บรรดาครอบครัวของชาวอเมริกันในวันนี้มีเสถียรภาพต่ำกว่ามาก การแต่งงานได้สูญเสียความสำคัญของมันไปแล้ว การหย่าร้างและเด็ก ๆ ที่เกิดจากความสัมพันธ์ในเชิงชู้สาวที่ผิดกฎหมาย ชีวิตทางเพศสัมพันธ์หมู่ได้กลายเป็นที่แพร่หลาย และเด็ก ๆ ได้ตกอยู่ในความเสี่ยงและอันตรายอย่างมากและไม่มีการปกป้องใด ๆ สำหรับพวกเขา มุมมองของประชาชนโดยทั่วไปเกี่ยวกับการสมรส จริยธรรมต่าง ๆ ทางเพศและการเลี้ยงดูและการอบรมขัดเกลาเด็ก ๆ เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างมาก ถึงขั้นที่ว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างเช่น การใช้ชีวิตครอบครัวร่วมกับบุคคลที่มีผู้ให้กำเนิด(พ่อ)คนเดียวกัน สิ่งเหล่านั้นกำลังเป็นภัยคุกคามต่อโครงสร้างแบบดั้งเดิมของครอบครัวซึ่งกำลังจะเป็นตัวทำลายการคุ้มกันต่าง ๆ ทางด้านกฎหมายและทางศีลธรรมให้หมดไป
เบรสซินสกี (Brzezinski) กับการประกาศอันตรายของการล่มสลาย
  • ซบิกนีเยฟ เบรสซินสกี (Zbigniew Brzezinski) ถือกำเนิดในวันที่ 28 มีนาคม 1928 ในกรุงวอร์ซอเมืองหลวงของโปแลนด์ ในปี 1953 เขาได้รับปริญญาเอกสาขารัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด และในปี 1958 ได้กลายเป็นพลเมืองของอเมริกา ปัจจุบันนี้เขาสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอพกินส์ (Johns Hopkins University) ภายหลังจากใช้ชีวิตอยู่ในประเทศนี้มา เป็นระยะเวลานานหลายปี ทำให้เขาในรู้จักสังคมอเมริกา ทั้งในด้านการเมืองและวัฒนธรรมเป็นอย่างดี เขาเป็นนักยุทธศาสตร์ ซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาอดีตคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติของอเมริกาและปัจจุบันนี้ก็เช่นกัน เขาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการกำหนดนโยบายในระยะยาวต่างๆ ของอเมริกา เขาได้เขียนไว้ในบทหนึ่งจากหนังสือเล่มล่าสุดของเขาที่มีชื่อว่า “วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ : อเมริกากับวิกฤตอำนาจโลก” (Strategic Vision: America and the Crisis of Global Power)โดยกล่าวว่า “อเมริกาในขณะนี้อยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายกับช่วงเวลาแห่งการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียต”
  • เบรสซินสกี กล่าวว่า “สถานการณ์ในปัจจุบันของอเมริกามีความคล้ายคลึง กับอดีตสหภาพโซเวียต นั่นคือ ทั้งสองประเทศ ระบอบของรัฐได้กลายเป็นอัมพาต และทั้งสองได้สูญเสียศักยภาพในการที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในทางการเมือง และเพื่อที่จะครอบงำเหนือภูมิภาคต่างๆ ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของโลก จึงต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายและงบประมาณทางทหารจำนวนมหาศาลแต่ก็ไร้ผล และ อเมริกาเองก็ได้สูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากมายไปในอิรักและในอัฟกานิสถาน อิทธิพลระหว่างประเทศของอเมริกาได้ลดลงไปอย่างมาก และปัญหา ภายในประเทศก็ต้องเผชิญกับปัญหาความไม่พึงพอใจทางสังคม (ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่สามารกล่าวได้ก็คือ ขบวนการเคลื่อนไหวแห่ง Wall Street) เบรสซินสกี ได้วิเคราะห์ตรวจสอบไว้ในหนังสือของเขาเกี่ยวกับสัญญาณต่างๆ ของการล่มสลายของอเมริกา กระแสการถดถอยในด้านการบริหารจัดการ ทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศของประเทศนี้ และลักษณะการสูญเสียโอกาสต่างๆ ในเวทีระดับโลก หลังจากสงครามเย็น สาสน์ที่ได้รับจากการวิเคราะห์และวิจัยของเบรสซินสกี ถือได้ว่าเป็นสัญญาณเตือนภัยแห่งประวัติศาสตร์ ที่บ่งบอกถึงการเริ่มต้นของการล่มสลายของอารยธรรม อเมริกา
  • ป.ล. ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีต่อประชาชน การถูกกดขี่ข่มเหง ความยากจน และ ความไร้ศิลธรรม ต่างๆ หากสังคมอเมริกา ยังคงเป็นเช่นนี้อยู่ต่อไป ทุกๆปัญหา จะเป็นเหมือนระเบิดเวลา ที่สุดท้ายจะนำพา อเมริกา ไปถึงจุดล่มสลาย ในอนาคต.
  • แหล่งอ้างอิง : 
  • http://www.operationrescue.org/about-…/abortions-in-america/
  • www.rohama.org/en/content/439
  • www.rense.com/general93/demys.htm
  • www.thecommonconservative.com/?p=211
  • http://www.nolanchart.com/article7132-the-coming-collapse-o…
  • http://www.independent.co.uk/…/love-honour-and-no-way-why-g…
  • http://www.akdart.com/culture2.html
  • http://wwww.sahibzaman.com










ตอนที่ 5. อเมริกันพื้นเมือง กับ สงครามล่าอาณานิคม



อเมริกันพื้นเมือง (อินเดียนแดง) กับคนขาว
ตอนที่ 5. อเมริกันพื้นเมือง กับ สงครามล่าอาณานิคม
  • ชนพื้นเมือง อินเดียน มีความพยายามที่จะปกป้องดินแดนของพวกเขา จากผู้บุกเบิก(คนขาว) อินเดียนได้ถูกหลอกล่อ ให้มีส่วนร่วม ในความขัดแย้งทางทหารโดย ที่คนขาวให้สัญญาว่า หากชนพื้นเมืองร่วมทำสงครามต่างๆจนชนะ ก็จะได้ครอบครองดินแดนที่เป็นอิสระรวมถึงได้รับการปกครองตนเอง แต่สัญญากับอาณานิคมคนขาวที่ได้รับ กลับกลายเป็นสิ่งที่ทำลายพวกเขา โดยการหลอกล่อให้ทำสงครามกับอาณานิคมอื่นๆของคนขาว หรือแม้แต่ให้รบกันเองระหว่างอินเดียนต่างเผ่าด้วยกัน แต่ในขณะที่การต่อสู้เพื่อการครอบครอง ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างฝรั่งเศส /สเปน/ อังกฤษ ... อินเดียน กลับไม่ได้รับประโยชน์ ใดๆในท้ายที่สุด
  • การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียน และโชคชะตาก็มาถึง เมื่อชาวพื้นเมืองอเมริกันหมดประโยชน์ James Loewen กล่าวว่า ''พวกเขา(ชนพื้นเมือง) ทำได้ดีมากในการรบให้ ฝรั่งเศส และ สเปน ต่อสู้กับ อังกฤษ แต่ทั้งหมดก็จบลงด้วยความสูญเสียของอเมริกันพื้นเมือง และนั่นอาจกล่าวได้ว่า มันคือ การลงโทษชาวอเมริกันพื้นเมือง"(James Loewen นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน)

กองทหารอาสาสมัคร.

  • จุดเริ่มต้นของทหารสหรัฐ อยู่ในรัฐบาลท้องถิ่น(อาณานิคม) ซึ่งสร้างกองกำลังที่ลงทะเบียนและทำการฝึกคนขาวเกือบทั้งหมด ในขณะที่กองทัพอังกฤษ ไม่ได้ว่าจ้างอาสาสมัครเหล่านี้ แต่อาณานิคมว่าจ้างและ จ่าย อาสาสมัครเช่น เรนเจอร์
  • ในตอนท้ายของยุคอาณานิคม "การปฏิวัติอเมริกา" กำลังรบที่สำคัญมาจากระบบอาสาสมัคร ที่สะสมอาวุธ และฝึกอบรมอย่างเข้มข้น เรนเจอร์เริ่มมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้และการปฏิวัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขับไล่อังกฤษจากบอสตันใน ปี ค.ศ.1776 และการบุกกองทัพอังกฤษที่ ซาราโตกา ค.ศ. 1777 อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ของการต่อสู้ได้รับการจัดการโดยกองทัพภาคพื้นทวีป ที่ประกอบด้วยทหารปกติ.

สงครามอินเดียน.

  • ในช่วงปีแรกของการล่าอาณานิคม ของอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือ, การกระทำของทหารในอาณานิคม ที่ต่อมากลายเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผลมาจากที่คนขาวมี ความขัดแย้งกับชนพื้นเมืองอเมริกัน 
  • หรือนำชนพื้นเมืองอเมริกันเข้าไปสู่ความขัดแย้ง สงครามต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายหลายร้อยสงคราม มีผลทำให้ชนพื้นเมืองอเมริกัน ได้รับผลกระทบอย่างมาก

สงครามอังกฤษและฝรั่งเศส.

  • จุดเริ่มต้นใน ปี ค.ศ. 1689, การล่าอาณานิคมของคนขาว ทำให้เกิดสงครามใหญ่ ระหว่างอังกฤษ กับ ฝรั่งเศส และสเปน สำหรับการควบคุมทวีปอเมริกาเหนือ 
  • 13 กันยายน ค.ศ 1759 บนที่ราบอับราฮัม ในควิเบก นายพล.เจมส์ วูล์ฟ (ฝรั่งเศษ) แพ้ สหราชอาณาจักร(อังกฤษ) ด้วยความช่วยเหลือของพันธมิตรอินเดียน ในที่สุดการเจรจาสันติภาพก็เกิดขึ้น ที่กรุงปารีส ปี ค.ศ.1763 ฝรั่งเศสได้ลงนามออกไปจากดินแดนโลกใหม่ (ทวีปอเมริกา)
  • สงครามที่สำคัญที่สุด คือสงครามควีนแอนน์ ที่อังกฤษ ชนะ ฝรั่งเศส กรณี อาณานิคม Acadia (โนวาสโก) และ สงครามฝรั่งเศสกับอินเดียน ในปี ค.ศ.1754-1763 (ที่ทำให้อินเดียนเสียชีวิตจำนวนมาก) เมื่อฝรั่งเศสแพ้อังกฤษ และออกไปจากแคนาดา สงครามครั้งนี้มีผลทำให้อาณานิคมต่างๆในอเมริกาเหนือ รวมทั้งจอร์จ วอชิงตัน นำไปเป็นประสบการณ์ทางทหาร ที่พวกเขานำไปใช้ ในช่วงการปฏิวัติอเมริกา (13 อาณานิคม) กับอังกฤษ สงครามที่เนิ่นนาน ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอันยิ่งใหญ่ สำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้อง ในระยะยาวชาวอินเดียนเป็นผู้พ่ายแพ้ที่เสียหายมากที่สุด ในขณะที่สเปนและฝรั่งเศสพ่ายแพ้ เมื่ออังกฤษชนะในที่สุด การควบคุมการตั้งถิ่นฐานรูปแบบหนึ่ง ที่กำไรจากการทำกิจกรรมในช่วงสงคราม อีกประการหนึ่ง คือการล่า อินเดียน เพื่อวัตถุประสงค์ในการถลกหนังพวกเขา และ แลกเงินรางวัลเงินสด ที่นำเสนอโดยรัฐบาลอาณานิคม.
  • สงครามระหว่าง อังกฤษและฝรั่งเศส ยังไม่จบ ในปี ค.ศ.1778 ฝรั่งเศษได้ทำสงครามกับอังกฤษ อีกครั้ง เมื่อฝรั่งเศสเข้าร่วมกับอาณานิคมคนขาวชาวอเมริกัน(อาณานิคมต่างๆของอังกฤษ ในอเมริกา) ในการปฏิวัติอเมริกา ฝรั่งเศสมีบทบาทร่วมกับ 13 อาณานิคมอเมริกัน ในการเอาชนะอังกฤษ.
  • ---------------------------------------------------------------------

  • ในสงคราม สำหรับการครอบครองทวีปอเมริกาเหนือ คนขาวอย่างอังกฤษ นำความขัดแย้ง และความสูญเสีย จำนวนมากมาให้กับชาวพื้นเมืองอเมริกัน คนขาวอย่าง สเปนซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส ก็เป็นผู้มีส่วนร่วมในความหายนะ ของชาวพื้นเมืองอเมริกัน เช่นกัน
  • **ตัวอย่าง** สงครามระหว่างคนขาว ที่มีผลกระทบกับชาวอเมริกันพื้นเมือง
  • ผู้ว่าการอาณานิคม(อังกฤษ) รัฐแคโรไลนา เจมส์ มัวร์ (James Moore) ที่ประสบความสำเร็จในการโจมตี เซนต์ออกัสติน (St.Augustine) อาณานิคมของสเปน ใน รัฐฟลอริด้า ปี ค.ศ.1702 และเป็นการจู่โจมหลายครั้ง ที่ทำให้ อินเดียนในฟลอริด้าเสียชีวิตจำนวนมาก การวางแผนการเดินทางของทหารอังกฤษ และพันธมิตรอินเดียน ที่จะทำลายการตั้งถิ่นฐานของสเปน และการตั้งถิ่นฐานของฝรั่งเศส ที่ Pensacola (รัฐฟลอริด้า) อังกฤษไม่จัดหาอาวุธปืน ให้พวกพันธมิตรอินเดียนของเขา ในการล้อม Pensacola และโจมตี แม้ว่านักรบเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิภาพของพวกเขาในการรบ แต่การขาดซึ่งอาวุธที่มีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งความสูญเสียจำนวนมากของอินเดียน ในขณะที่อังกฤษ ล้มเหลว ในการจ่ายค่าชดเชย ให้พวกอินเดียน อย่างเพียงพอและประเมินความสำคัญอย่างจริงจังของพวกเขา ต่ำเกินไป ในความสมดุลของความได้เปรียบในการรบ ดังนั้นในปี ค.ศ. 1716 เผ่า Tallapoosas และชนเผ่าอื่น ๆ ได้ตีตัวออกห่าง ในการเป็นพันธมิตรกับ อังกฤษ..
  • ฝรั่งเศส มีพันธมิตรอินเดียน เช่น เผ่า Wabanaki เผ่า Abenaki และอื่นๆ ที่พยายามจะขัดขวาง การขยายตัวของอาณานิคม นิวอิงแลนด์(อังกฤษ)ในการรบของฝรั่งเศสพันธมิตรอินเดียนของฝรั่งเศส ได้เสียชีวิต จำนวนมาก ฝรั่งเศส ได้กระทำการโจรสลัด กับการประมงของอังกฤษและอุตสาหกรรมการจัดส่งสินค้า ปล้นในเส้นทางการเดินเรือของอังกฤษ ในที่สุด ปี ค.ศ.1710 เมื่ออังกฤษให้การสนับสนุนทหารอาณานิคมอเมริกัน เข้าทำสงครามพิชิต Acadia(อาณานิคมฝรั่งเศส)และจัดการกับโจรสลัด ในคาบสมุทรโนวาสโก ซึ่ง Acadia เป็นฐานที่มั่นหลักของฝรั่งเศส โดยอังกฤษชนะสงคราม ในปี ค.ศ. 1713 โดยสนธิสัญญาอูเทรกต์ สหราชอาณาจักรได้รับ Acadia และเกาะของแคนาดาที่อ่าวฮัดสัน และเกาะแคริบเบียนของเซนต์ คิตส์... ฝรั่งเศส ต้องยอมรับอำนาจของอังกฤษ ในท้ายที่สุด
  • สงครามชนเผ่า Powhatan ปี ค.ศ. 1622-1644 รัฐ Virginia สงครามความขัดแย้งยาวนาน 12 ปีที่ ชนพื้นเมืองอเมริกันสูญเสียจำนวนมาก อาณานิคมคนขาวที่เหลือได้รับชัยชนะ
  • สงครามชนเผ่า Pequot ปี ค.ศ.1637 รัฐ Connecticut กับ รัฐ Rhode Island การต่อสู้กับชาวอาณานิคมในที่สุดก็นำไปสู่การเสียชีวิตของชนพื้นเมือง 700 ศพ ส่วนที่เหลือถูกนำไปขายเป็นทาสในเบอร์มิวดา
  • King Philip's War สงครามกษัตริย์ฟิลิป ปี ค.ศ. 1675-1678 รัฐ Massachusetts และ Rhode Island ความพยายามของกษัตริย์ฟิลิป ที่จะตั้งถิ่นฐานอาณานิคม เริ่มต้น ที่สวอนซี และ แมสซาชูเซตนำไปสู่ การฆ่าชนพื้นเมืองอเมริกัน และ การเสียชีวิตของเขาเอง
  • การจลาจล ของชนเผ่า Pueblo ปี ค.ศ. 1680-92 รัฐ Arizona กับ New Mexico เจ้าหน้าที่ สเปน ปราบปรามชาว pueblos ชาวอินเดียที่อาศัยอยู่อย่างอิสระและบูชาความเชื่อตามประเพณีของชนเผ่ามานานหลายศตวรรษ ถูกบังคับให้ละทิ้งศาสนาของพวกเขา ให้หันมานับถือศาสนาคริสต์และ ชนเผ่าต้องจ่ายส่วย ให้ผู้ปกครองสเปน ศูนย์กลางของการเคารพบูชาแบบดั้งเดิมของพวกชนเผ่า (kivas) ถูกทำลายพร้อมกับวัตถุศักดิ์สิทธิ์ (Kachina s) ซึ่งพิธีและพระคัมภีร์ของพวกเขาปฏิบัติกันมา การต่อต้านการปกครองของสเปน ชนพื้นเมือง ถูกจองจำและ ทรมานและเสียชีวิต หลังจากสามรุ่นของชนเผ่า จากการถูกกดขี่ ในฤดูใบไม้ผลิ 1680 อินเดียนแดงลุกขึ้นโค่นล้มสเปน ผู้นำศาสนาของชนเผ่า แอบจัดประท้วงอย่างกว้างขวางที่จะเกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคในวันเดียว การวางแผนอย่างเงียบ ๆ ในช่วงฤดูร้อนของปี 1680 ในกว่า 70 ชุมชนจากซานตาเฟและเทาส์ ในหุบเขาโอแกรนด์กับ pueblos Hopi เกือบ 300 ไมล์ทางทิศตะวันตก ในคืนวันที่ 10 สิงหาคม 1680 อินเดียในกว่าสองโหล (pueblo) พร้อมกันโจมตีเจ้าหน้าที่ของสเปน นักรบอินเดีย 2,500 คน ขับไล่อาณานิคมคนขาวออกไป
  • สงคราม ชนเผ่า Tuscarora ปี ค.ศ. 1711-1715 รัฐ Northern Carolina (ภาคเหนือของรัฐแคโลไรนา) สงครามทัสคา ต่อสู้กันใน นอร์ทแคโรไลนา ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1711 จนถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1715 ระหว่างอังกฤษ-ดัตช์-เยอรมัน มาตั้งถิ่นฐาน ขัดแย้งกับ อเมริกันพื้นเมืองเผ่าทัสคา คนขาวเกณฑ์ ชนเผ่าYamasee ชนเผ่าเชอโรกี ต่อสู้กับ อินเดียนเผ่าทัสคา ที่รวบรวมพันธมิตรเข้าสู้ นี้ถือเป็นสงครามอาณานิคมนองเลือดใน North Carolina. ชนเผ่าทัสคาแพ้ และ ลงนามในสนธิสัญญากับเจ้าหน้าที่อาณานิคมในปี 1718 การตั้งถิ่นฐานประสบความสำเร็จเป็นการถาวร ครั้งแรกใน นอร์ทแคโรไลนา โดยชาวยุโรปเริ่มอย่างจริงจังใน 1,653 เผ่าทัสคาอาศัยอยู่ในความสงบกับ คนขาวชาวยุโรปที่เข้ามาใน นอร์ทแคโรไลนา นานกว่า 50 ปีในขณะที่พื้นที่อื่น ๆ ของอาณานิคมคนขาว ในอเมริกามีส่วนร่วมในบาง รูปแบบของความขัดแย้งกับชนพื้นเมืองอเมริกัน อย่างไรก็ตาม คนขาวเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้นบนที่ดิน เผ่าทัสคา และบังคับใช้เป็นทาส และ นำการแพร่ระบาดของโรค หลังจากความสูญเสียเริ่มมากขึ้น เผ่าทัสคาอพยพขึ้นเหนือ ไปนิวยอร์ก
  • สงครามชนเผ่าYamasee ปี ค.ศ. 1715-1718 รัฐ South Carolina อินเดียน Yamasee เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษา Muskhogean homelands ถิ่นฐานดั้งเดิมของพวกเขาอยู่ใน ภาคเหนือและภาคใต้ของ ฟลอริด้า - จอร์เจีย การถือกำเนิดของอาณานิคมสเปน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ได้บังคับให้ ชนเผ่า Yamasee ต้องอพยพย้ายขึ้นเหนือ ไปสู่ เซาท์แคโรไลนา ความสัมพันธ์ระหว่างชนเผ่าและคนขาว ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในภูมิภาค เป็นบวกในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 17 
  • ปัญหาระหว่างการแข่งขันการพัฒนา จากปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรคนขาวอย่างต่อเนื่องในการตั้งถิ่นฐาน ได้กดดันและรุกร้ำ การเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และดินแดนของอินเดียน การเผชิญหน้ากัน ได้กลายเป็นอาวุธปืน ที่อินเดียนต้องหามาครอบครองในการปกป้องตนเองจากคนขาว ได้ก่อให้เกิดหนี้สินกับอินเดียน และมักจะต้องจ่ายคนขาว โดยความเป็นทาส ของชนเผ่า Yamasee เพื่อให้ครอบคลุมบางส่วนของหนี้คงค้าง

-----------------------------------------------------------------------
  • ป.ล.ดังที่กล่าวมาในข้างต้น นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความรุนแรง ความขัดแย้ง และสงครามในทวีปอเมริกา ที่เกิดขึ้นเท่านั้น สงครามต่างๆในทวีปอเมริกา ยังมีอีกหลายร้อยสงคราม ที่นำความสูญเสียมาให้ชนพื้นเมืองอเมริกันจำนวนมาก จากประชากรพื้นเมืองอเมริกัน 18 ล้านคน เหลือเพียง 16,000 คน ในช่วงของสงครามหลายร้อยปี จนชนพื้นเมืองอเมริกัน เกือบจะสูญสิ้นเผ่าพันธ์ไปจากโลกใบนี้.... (จากผลของสงคราม ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ชนะ ชนพื้นเมืองอเมริกัน คือผู้ที่สูญเสียมากที่สุด)
  • ป.ล.จบบทความ อเมริกันพื้นเมือง (อินเดียนแดง) กับคนขาว 
  • เนื่องจากงานเขียนชิ้นนี้ส่วนมาก แปลจากบทความภาษาอังกฤษ ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยล่วงหน้า ด้วยครับ ^^

อ้างอิง:https://en.m.wikipedia.org/…/Native_Americans_in_the_United…
อ้างอิง:
http://student.societyforscience.org/…/where-native-america…
อ้างอิง : http://mettahu.world press.com/…/the-effect-of-the-homestead-act-on…/&prev=search
อ้าวอิง:บทความ ชารอน จอห์นสัน New York - USA 1,996
อ้างอิง:http://endgenocid.org/learn/past-genocides/native-americans/
อ้างอิง :Hubert Howe Bancroft นักประวัติศาสตร์ แห่งแคลิฟอร์เนีย 1963: 474
อ้างอิง: http://www.iearn.org/h…/aeti/aeti-1997/native-americans.html
อ้างอิง:http://www.yale.edu/…/curricul…/units/1999/3/99.03.03.x.html
อ้างอิง: http://writer.dek-d.com/0012/story/viewlongc.php…
อ้างอิง:http://www.albionmonitor.net/9-2-95/indianwars.html
อ้างอิง:http://invention.smithsonian.org/centerpieces/ whole_cloth /
อ้างอิง: Discovery & ExplorationExplorers & TradersOverland TrailsSpanish
อ้างอิง: ExplorationMoreEarly AmericaHistoric PeopleNative
อ้างอิง: http://www.shmoop.com/spanish-colonization/summary.html
อ้างอิง:https://en.m.wikipedia.org/wiki
/Imperio Español
/conquistador
/Simón Bolívar
/José Francisco de San Martín Matorras
/Americo Vespucci
/Five Civilized Tribes
อ้างอิงบทความ :An eye-opening perspective on American missionary work with the Indians in Pennsylvania.
อ้างอิงบทความ:Classic resource for the study of Indian cultures in the United States.
อ้างอิงบทความ:Couthlin, Ellen K. "Returning Indian Remains." The Chronicle of Higher Education, March 16, 1994.
อ้างอิงบทความ:
In light of recent court decisions, what various museums have done to comply with the law.
อ้างอิงบทความ:
Deloria,Vine. Custer Died for your Sins. Norman Oklahoma: U of Oklahoma Press, 1969.
อ้างอิงบทความ:
Classic book that challenges Americans to look at Native Americans and their history from the perspective of Indians.
อ้างอิงบทความ:
Fagan, Brian M. The Great Journey. The Peopling of Ancient America. New York: Thames and Hudson, 1987.
อ้างอิงบทความ:
Well-researched study that traces the path of America's earliest immigrants. Indispensable to my teaching unit. Contains over 125 illustrations and photographs.
อ้างอิงบทความ:
Fedullo, Mick. Light of the Feather: A Teacher's Journey into Native American Classrooms and Culture. New York: Anchor Books, 1992.
อ้างอิงบทความ:
Contains ideas for student projects, based on primary sources.
อ้างอิงบทความ:
Hazen-Hammond, Susan. Timelines of Native American History. New York: Perigee Books, 1997.
อ้างอิงบทความ:
A gold mine of quotations, facts, tribal histories, biographies, Indian legends and symbols. Appropriate for student research. (See Student Bibliography)
อ้างอิงบทความ:
Jaimes, M. Annette, ed. The State of Native America. Genocide, Colonization, and Resistance. Boston: South End Press, 1992.
อ้างอิงบทความ:
Over sixteen contemporary writers and historians discuss tribal sovereignty and legal issues such as water and fishing rights, religious freedom, and education. Well-documented and footnoted.
อ้างอิงบทความ:
Jennings, Francis. The Founders of America. New York: W.W. Norton and Company, 1993.
อ้างอิงบทความ:
Contains over 30 pages of photo-illustrations and maps. Discusses the theories of immigration, the challenges to settlement, the building of civilizations, and the history of cultures in conflict. Includes a chapter called "Immigrants in Their Own Country."
อ้างอิงบทความ:
Morgan, Ted. Wilderness at Dawn. The Settling of the North American Continent. New York: Simon and Schuster, 1993.
อ้างอิงบทความ:
Follows a typical United States history textbook chronology, from before the "Land Bridge" migration to the description of how people lived on the various frontiers that have existed in North America, including "Frontiers in Collision" and the "Black Frontier." Well documented and illustrated.
อ้างอิงบทความ:
Passell, Peter. "Foxwoods, a Casino Success Story." New York Times, August 8, 1994.
อ้างอิงบทความ:
Chronicles the story of the Mashantucket Pequot renaissance in Connecticut.
อ้างอิงบทความ:
Sarf, Wayne M. God Bless You Buffalo Bill: A Layman's Guide to History and the Western Film. East Brunswick, New Jersey: Associated University Presses, 1991.
อ้างอิงบทความ:
Contains helpful suggestions regarding the discussion of films that stereotype Indians.
อ้างอิงบทความ:
Woods, Wilton. "American Indians Discover Money Is Power." Fortune, April 19, 1993.
อ้างอิงบทความ:
Discussion of the sweeping changes that have affected reservation life due to casino gambling.

ตอนที่ 4. เส้นทางแห่งธารน้ำตา.



อเมริกันพื้นเมือง (อินเดียนแดง) กับคนขาว
ตอนที่ 4.เส้นทางแห่งธารน้ำตา.
  • หลังจากการปฏิวัติอเมริกา ชีวิตของชาวอเมริกันพื้นเมืองจำนวนมากถูกกลืนหายไป โดยเฉพาะชนพื้นเมืองในอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกา) ในปี ค.ศ. 1830 พระราชบัญญัติของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ที่เรียกว่า "The remove of the Five Civilized Tribes" (การเนรเทศ 'ห้าอารยะชนเผ่า) 
  • 1.เผ่า Cherokee 21,500 คน
  • 2.เผ่า Chickasaw 5,000 คน
  • 3.เผ่า Choctaw 12,500 คน
  • 4.เผ่า Creek. 19,600 คน
  • 5.เผ่า Seminole 22,700 คน
  • ในระหว่าง ปี ค.ศ.1830 - ค.ศ.1838 เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลางทำงานในนาม ของ "Cotton Growers" นอกจากนี้ยังมีชนเผ่าต่างๆ เช่น Odawa / Meskwaki / Shawnee/ และอื่นๆ รัฐบาลกลางได้ทำการบังคับให้ ชนเผ่าพื้นเมืองอินเดียน ร่วม 300,000 คน ออกจากบ้านเกิดของพวกเขา การเดินทางที่อันตรายจากรัฐทางใต้ ไปยังโอคลาโฮมา ปัจจุบันเรียกว่า''เส้นทางแห่งธารน้ำตา'' ชนพื้นเมืองอเมริกัน ต้องเสียชีวิต ด้วยความหิวโหย ความหนาวเย็น และโรคภัย ในขณะที่อเมริกันผิวขาว ได้รุกร้ำขยายตัวไปทางทิศตะวันตก ด้วยความขัดแย้งที่รุนแรงบนแผ่นดินแม่ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นบ้านของพวกเขา (ชาวพื้นเมืองอเมริกัน)
  • เส้นทางแห่งธารน้ำตา (อังกฤษ: Trail of Tears) หมายถึงการบังคับการโยกย้ายถิ่นฐานของชนพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกาที่รวมทั้งเชอโรคี, ชอคทอว์และอื่นๆ จากดินแดนบ้านเกิดไปตั้งถิ่นฐานยังเขตสงวนอินเดียน (Indian Territory) ใหม่ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกาที่ในปัจจุบันคือโอคลาโฮมา “เส้นทางธารน้ำตา” มาจากคำบรรยายการโยกย้ายของชนเผ่าชอคทอว์ (Choctaw)ในปี ค.ศ. 1831ชนพื้นเมืองอเมริกันที่ถูกโยกย้าย ต้องเผชิญกับสภาวะอากาศ เชื้อโรค และความอดอยากระหว่างการเดินทางไปยังจุดหมาย อันเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ที่รวมทั้งจำนวน 4,000 ผู้เสียชีวิต ของเผ่าเชอโรคีที่ต้องย้ายถิ่นฐาน
  • ในปี ค.ศ. 1831 เชอโรคี, ชิคาซอว์, ชอคทอว์, มัสคีกี (ครีค) และ เซมินโนล (Seminole) (บางครั้งรวมกันเรียกว่าเผ่าวัฒนธรรมห้าเผ่า (Five Civilized Tribes) ตั้งถิ่นฐานเป็นชาติอิสระในบริเวณที่เรียกว่าดีพเซาธ์ (Deep South) ของสหรัฐอเมริกา ขณะนั้นกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (เสนอโดยจอร์จ วอชิงตัน และ เฮนรี น็อกซ์) ได้รับการสนับสนุนอย่างแพร่หลายขึ้นโดยเฉพาะกับกลุ่มเชอโรคีและชอคทอว์ แอนดรูว์ แจ็คสัน เป็นประธานาธิบดีคนแรก ของสหรัฐอเมริกา ที่ใช้วิธีการโยกย้ายชาวพื้นเมืองอเมริกันตามรัฐบัญญัติ ว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐาน ของชาวอเมริกันอินเดียน(Indian Removal Act of 1830) ในปี ค.ศ. 1831ชอคทอว์เป็นชนกลุ่มแรกที่ถูกโยกย้ายและกลายเป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับการโยกย้ายกลุ่มอื่นๆ ต่อมา หลังจากเผ่าชอคทอว์แล้ว 
    • เผ่าเซมินโนล ก็เป็นกลุ่มต่อมาที่ถูกโยกย้าย ในปี ค.ศ. 1832, 
    • มัสคีกี (ครีค)ในปี ค.ศ. 1834,
    • ชิคาซอว์ ในปี ค.ศ. 1837 
    • เชอโรคี ในปีค.ศ. 1838
  • เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1837 ชาวพื้นเมืองอเมริกัน ก็ถูกโยกย้ายจากถิ่นฐานเดิมทางตอนใต้ที่ทำให้ที่ดินทั้งหมด 25 ล้านเอเคอร์กลายเป็นดินแดนสำหรับ การตั้งถิ่นฐานของชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรป ที่เข้ามาใหม่
  • การเพิ่มจำนวนและกระจายตัวของคนขาว ไปทางทิศตะวันตกของประเทศ หลังจากการปฏิวัติอเมริกา ส่งผลในการเพิ่มความกดดันในดินแดน ของชนพื้นเมืองอเมริกันสงคราม และความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น ในปี ค.ศ. 1830 สภาคองเกรส สหรัฐฯ ผ่านพระราชบัญญัติการกำจัดอินเดีย, อำนาจของรัฐบาล ที่จะย้ายชาวอเมริกันพื้นเมืองออกจากบ้านเกิดของพวกเขา ภายในรัฐที่จัดตั้งขึ้น ในความต้องการดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ เพื่อรองรับการขยายตัวของคนขาว นั้นส่งผลในการล้างเผ่าพันธุ์ ของหลายชนเผ่า ด้วยความโหดร้าย
  • (กรณีตัวอย่าง ความโหดร้ายของคนขาว ในระหว่างฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1838 ชนเผ่าเชอโรคี ก็เริ่มเดินทางพันไมล์ด้วยเครื่องนุ่งห่มที่บางไม่เหมาะสมกับสภาวะอากาศอันหนาวเย็น การเดินทางโยกย้ายเริ่มขึ้นจาก เรดเคลย์ ในเทนเนสซี ซึ่งเป็นที่ตั้ง ของเมืองหลวงทางตะวันออกสุดของเผ่าเชอโรคี เผ่าเชอโรคีได้รับผ้าห่มจากโรงพยาบาล ในเทนเนสซี ที่ก่อนหน้านั้นเกิดการระบาดของโรคฝีดาษ ชาวอินเดียนจึงติดเชื้อโรคตามไปด้วย ซึ่งทำให้ไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าไปในเมือง หรือหมู่บ้านตลอดทางที่เดินทางผ่าน และทำให้การเดินทางต้องเดินไกลไปกว่าที่จำเป็น เพราะต้องเดินอ้อมเมืองไปแทนที่จะลัดตรงได้
  • หลังจากที่ข้ามเทนเนสซี และเคนทักกี แล้วก็มาถึงกอลคอนดา ใน อิลลินอยส์เมื่อราววันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1838 ชาวอินเดียนแต่ละคนโดนเรียกเก็บค่าข้ามท่าโดย “เรือเบอร์รี” เป็นจำนวนหนึ่งเหรียญสหรัฐ ขณะที่ตามปกติแล้วราคาเพียงสิบสองเซ็นต์ และไม่ได้รับการอนุญาติ ให้ข้ามจนกระทั่งลูกค้าอื่นข้ามกันไปหมดแล้ว ชาวอินเดียนจึงต้องไปหลบกันอยู่ภายใต้ “แมนเทิลร็อค” ทางด้านเคนทักกี ชาวอินเดียนหลายคนเสียชีวิตไปกับการคอยเรือข้ามฟากที่ “แมนเทิลร็อค” และอีกหลายคนถูกสังหารโดยผู้คนในท้องถิ่น ซ้ำร้ายไปกว่านั้นก็เมื่อฆาตกรหันไปยื่นเรื่องฟ้องรัฐบาลสหรัฐ ที่ศาลเมืองเวียนนา ในรัฐอิลลินอยส์ เรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายค่าฝัง อินเดียนที่ถูกฆาตกรรมหัวละ $35 เหรียญ. ชาวเชอโรคีที่ถูกขับไล่ ก็เริ่มก็ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ทาห์เลควาห์ ในโอคลาโฮมา ความยุ่งเหยิงทางการเมืองที่มีสาเหตุมาจาก สนธิสัญญานิวอีโคตา และเส้นทางน้ำตา เป็นผลทำให้มีผู้นำของชาวอินเดียนที่ไปลงนามถูกลอบสังหารไปหลายคน ที่รวมทั้งเมเจอร์ริดจ์, จอห์น ริดจ์ และ อีไลอัส บูดิโนต์ นั่นคือความโหดร้ายของคนขาว ในเศษเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์)
  • ขณะที่การขยายตัวของคนขาว ได้นำมาซึ่ง การอพยพของคนงานเหมืองมา เพิ่มความขัดแย้ง ทำให้ชนเผ่าพื้นเมือง(หลายชนเผ่า) เหล่านี้ ต้องเร่ร่อน และถูกสังหาร สงครามระหว่างชนพื้นเมือง กับ คนขาว ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
  • ควาย Bison เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชนพื้นเมืองอเมริกัน พวกเขามีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับ Bison ที่ราบอินเดียน วัฒนธรรมของพวกเขาล้วนเกี่ยวข้องกับควายไบซัน ชนพื้นเมืองได้ประโยชน์ จาก ควายไบซัน ใน 52 วิธีที่แตกต่างกัน สำหรับอาหาร, อุปกรณ์สงครามและการดำเนินการดำเนินชีวิต ส่วนหนึ่งของควาย ใช้สำหรับการทำโล่ และ กลอง บางส่วนสำหรับการทำ เป็นกาว ได้อีกด้วย ควายจึงเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ของชนพื้นเมืองอินเดียน
  • การที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนขาว กลายเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า อินเดียนและคนขาว มองดูควายจากจุดที่แตกต่างกัน ในมุมมองของอินเดียนแดงได้เรียนรู้ที่จะล่าควายด้วยความชำนาญกับคันธนูและลูกศร และล่าเพื่อประทังชีวิตโดยไม่ส่งผลกระทบกับจำนวนของ ควายไบซัน ในขณะที่คนขาวล่าไบซัน ไปในเเนวทางเพื่อธุรกิจการค้า แสวงหากำไรจากไบซัน เป็นผลให้ควายถูกล่าและลดจำนวนลงอย่างมาก ผลกระทบจากจำนวนควายไบซันที่ลดลงจนเกือบสูญพันธ์นั้น รุนแรงต่อชนพื้นเมือง เพราะควายไบซัน คืออาหาร คืออุปกรณ์ดำรงชีพ และวิถีชีวิต (ในขณะที่การล่าเพื่อการกีฬา เพื่อความบันเทิงในกิจกรรมกลางแจ้ง โดยนักล่ามืออาชีพ ก็ได้เกิดขึ้นอีกด้วย) ในทางตรงกันข้ามอินเดียน กับควายไบซัน นั้นเป็นศูนย์กลางของชีวิต การหายไปของไบซัน ส่งผบให้อินเดียนมากมาย ต้องอดอยาก มีการประเมินว่าควายไบซันมีจำนวนมากถึง 60 ล้านตัว ก่อนการมาถึงของคนขาว ในตอนท้ายของยุค ควายไบซัน กำลังใกล้จะสูญพันธุ์ ไบซัน มีจำนวนลดลงอย่างน่าตกใจ จำนวนของไบซันเหลือเพียง 100 กว่าตัว ในปี ค.ศ. 1870 เพราะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของคนขาว เรากำลังพูดถึงสัตว์ที่เกือบจะถูกลบออกจากโลกนี้
  • การตั้งถิ่นฐานของคนขาว เป็นตัวแทนของสาเหตุที่สำคัญสำหรับการทำลายควายไบซัน และอินเดียนได้รับผลกระทบโดยตรง ปัจจัยเหล่านี้ได้เกิดขึ้น และการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า การขยายตัวของคนขาว ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงความสมดุลย์ ของธรรมชาติอย่างถาวร.
  • (ในปัจจุบัน มีควายไบซันเหลืออยู่ราว 400,000 - 500,000 ตัวในสองประเทศ จากการออกกฏหมายคุ้มครอง โดยรัฐบาลสหรัฐและแคนาดา)
  • ในปี ค.ศ.1,848 รัฐแคลิฟอร์เนีย เกิดการตื่นทอง ทำให้อินเดียน 300,000 คน จะถูกขับไล่จาก แคลิฟอร์เนีย ไป ซานฟรานซิสโก นักประวัติศาสตร์ให้ความเห็นว่า ครั้งหนึ่ง รัฐแคลิฟอร์เนีย เคยเป็นพื้นที่หนาแน่นที่สุดของประชากรพื้นเมือง ด้วยชนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองที่หลากหลาย ในดินแดนของสหรัฐ แต่การตื่นทองมีผลกระทบอย่างมากกับชีวิตของชนพื้นเมืองอเมริกัน ในด้านการดำรงชีวิตของชาวพื้นเมือง การล่าสัตว์แบบดั้งเดิม และการทำเกษตรกรรม ที่ไม่สามารถทำได้ในรูปแบบเดิมอีกต่อไป มีผลทำให้อินเดียนจำนวนมาก ต้องขาดแคลนอาหารและอดอยาก
  • ระหว่างการขยายตัวของคนขาว ที่รุกร้ำเข้าไปในชายแดนตะวันตก ของรัฐแคลิฟอร์เนีย หนึ่งในความพยายามที่จะทำลายหลักวิธีชีวิต ของอินเดียน ที่เป็นความพยายามของรัฐบาลสหรัฐ ที่จะกีดกันชนพื้นเมืองออกไป หนึ่งในวิธีการที่สำคัญที่สุดคือการไตร่ตรองไว้ล่วงหน้า ในการกีดกันความเป็นเจ้าของ ทั้งพืชไร่ พืชผล ต่างๆ เเละสิทธิเหนือที่ดิน และใช้วิธีการอื่นๆ ในการกีดกันอินเดียน ออกไป การหลั่งไหลของคนขาว จำนวนมากมาย ที่เข้าไปใน รัฐแคลิฟอร์เนีย ด้วยแรงจูงใจจากที่ดินและทองคำ คลื่นมวลชนของผู้มาใหม่ ได้ถูกถาโถมเข้าไปในแคลิฟอร์เนียเข้าไปในหุบเขาที่ห่างไกลที่สุดและพื้นที่ของชนพื้นเมือง เพื่อหาทองคำ เพื่อตัดไม้และครอบงำที่ดินของคนพื้นเมือง ส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างคนขาว กับชนพื้นเมือง คนขาวมีการกระทำที่น่ารังเกียจและโหดร้าย ต่อชนพื้นเมือง ชาวพื้นเมืองที่ตกเป็นเหยื่อของโศกนาฏกรรมที่นึกไม่ถึง ด้วยความอดอยาก และการเผชิญหน้าที่รุนแรง การค้าทาสค้าแรงงาน ส่งผลเกือบล้างเผ่าพันธ์ ประชากรอินเดียนแทบทั้งหมดในแคลิฟอร์เนีย อินเดียนลดลงจาก 300,000 คน เหลือเพียง 160,00 คน การจัดซื้อที่ดินและทรัพย์สิน สวม "สิทธิ" ของคนผิวขาว การทำเหมืองแร่และสิ่งปนเปื้อนที่เข้าสู่ระบบ ของชาวพื้นเมือง พื้นที่แหล่งน้ำปนเปื้อน และพืชพื้นเมืองเหี่ยวเฉา หนองน้ำที่อุดมไปด้วยทรัพยากรที่สำคัญที่เป็นอาหารของชนพื้นเมือง ได้กลายเป็นระบบชลประทานสำหรับพื้นที่เพาะปลูกของคนขาว
กฏหมาย โดยรัฐบาลสหรัฐ ปี ค.ศ. 1862
    • -กฏหมาย homestead 
    • -กฏหมายการตั้งรกราก Ambitious (ไร่โฉนด) 
    • -กฏหมายที่ดิน Morrill (ลงนามในกฏหมายโดย ประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอร์น 1862) และอื่นๆ
  • ทั้งหมดของกฎหมาย ต่างๆที่ออกมาบังคับใช้ มีไว้เพื่อประโยชน์ ในการตั้งถิ่นฐานของคนขาว ด้วยเหตุผลคือ
    • 1. ประชาชนแคลิฟอร์เนีย (คนขาว) ต้องการลบ ชนพื้นเมือง ออกจากแคลิฟอร์เนียได้โดยเร็วที่สุด 
    • 2. คนขาว ต้องการกีดกันชนพื้นเมืองออกจากพื้นที่ เพื่อการป้องกันการตั้งถิ่นฐานของคนขาว และคนงาน จากการถูกโจมตี จากพวกอินเดียน การปกป้องทรัพย์สินของคนขาวจากการสูญเสียหรือการโจมตีอินเดียน 
    • 3. รัฐบาลสหรัฐฯ มีนโยบายด้วยกฏหมาย ที่แตกต่างกัน ที่ชาวอเมริกันในทุกรัฐ ใช้จัดการกับพวกอินเดียนแดง: กฎหมายภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ปี ค.ศ.1787 มาตราของรัฐธรรมนูญสหรัฐ ว่า การพาณิชย์และ การค้าของอินเดียน 
การกระทำของสนธิ ค.ศ. 1890 
  • พระราชกฤษฎีกาภาคตะวันตกเฉียงเหนือค.ศ.1787 ที่กำหนดไว้ในลักษณะที่รัฐบาลสหรัฐจะจัดการกับอินเดียน มาตรา 14 มาตรา 3 ของกฎหมายประกาศว่า "ที่ดินและทรัพย์สินของพวกเขาจะไม่มีวันถูกพรากไปจากพวกเขา โดยปราศจากความยินยอมของพวกเขา และ ทรัพย์สินของพวกเขา สิทธิและเสรีภาพที่พวกเขา จะไม่สามารถบุกเข้าไปรบกวนได้ เว้นแต่เพียงในเวลาสงคราม ที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายโดยรัฐสภา **แต่กฎหมายที่ก่อตั้งขึ้นในความยุติธรรมและความเป็นมนุษย์นั้น จะมีเป็นครั้งคราวสำหรับการป้องกันไม่ให้มีการกระทำผิด กับพวกเขา (ชนพื้นเมือง)ในการรักษาสันติภาพและมิตรภาพกับพวกเขา***
  • นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของแคลิฟอร์เนีย, Hubert Howe Bancroft สรุปการเมืองของรัฐบาล ที่มีต่ออินเดียน ในไม่กี่ประโยคสั้นๆ แต่แฝงไว้ด้วยความน่ากลัว: 
  • "นั่นเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ ในช่วงต้น ระหว่างชาวอเมริกันพื้นเมืองและคนขาว (อเมริกันยุโรป) ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น อาจเป็นไปในเวลาสั้นๆ แห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย คนงานเหมืองเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ด้วยความโลภ และใจร้อน มันเป็นหนึ่งในการล่าของมนุษย์ ของอารยธรรมคนขาว และความรุนแรง และพวกเขาทั้งหมดส่วนใหญ่โหดร้าย "
  • ( Hubert Howe Bancroft นักประวัติศาสตร์แห่งแคลิฟอร์เนีย 1963: 474)
สรุปเนื้อหาสำคัญ ของคนขาว กับ ชนพื้นเมืองอเมริกา
    • 1. รัฐบาลสหรัฐ อเมริกา ตัดสินใจที่จะแก้ปัญหา "อินเดียน" ด้วยนโยบายของการบังคับใช้แรงงานทาส และ อาสาสมัครศาลเตี้ยที่มีหน้าที่ คือการฆ่าชาวอินเดียนท้องถิ่น
    • 2. นโยบายของรัฐ เกี่ยวกับอินเดียนแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ถูกดำเนินงานโดยนโยบายของรัฐบาลกลาง และสำหรับอินเดียนทั้งหมดของอเมริกาเหนือ: การทำสนธิสัญญาการลบอินเดียน จากบ้านเกิดของบรรพบุรุษของพวกเขา
    • 3. ทัศนคติของรัฐบาลกลางเกี่ยวกับ "ปัญหาอินเดียน" ส่งผลให้นโยบายและ การกระทำที่มีผลกระทบอย่างมากสำหรับชาวอินเดียน :
      • -อินเดียนหลายชนเผ่า ส่วนใหญ่ ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลสหรัฐ ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม
      • -อินเดียนแคลิฟอร์เนีย ตกเป็นเหยื่อของนโยบาย การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ส่วนใหญ่ของชาวอินเดียน ที่อาศัยอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียได้ถูกกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะบังคับให้ออกจากพื้นที่ของพวกเขา หรือพวกเขาก็ถูกฆ่าตาย
      • -ประชากรของอินเดียนในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี ค.ศ.1850 จากจำนวน 100,000 คน ลดลงเหลือ 30,000 โดย ค.ศ. 1870 ตามการสำรวจสำมะโนประชากรแห่งชาติ ปี ค.ศ. 1900 เหลือเพียง 16,000 อินเดียนแดงที่ถูกบันทึกไว้ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
    • 4. ประชาชนแคลิฟอร์เนียภาคเหนือ ตอบสนองต่อการบุกอินเดียน, ฆ่าอินเดียน และ แข่งขันทางเศรษฐกิจกับอินเดียน ด้วยการกระทำที่รุนแรงของศาลเตี้ย - โดยไม่มีใคร(คนขาว) ที่ถูกลงโทษโดยรัฐท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐบาลกลาง
  • สรุปผลที่ได้คือ หลายร้อยปี ที่ผลของความขัดแย้งจากสงคราม ความรุนแรงของอาณานิคม โดยการเข้าแย่งชิงทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งนโยบายเลือกปฏิบัติของคนขาว ที่มีต่อชาวอเมริกันพื้นเมือง ได้ทำลายประชากรชาวอเมริกันพื้นเมืองจาก 18ล้านชีวิต เหลือเพียง 16,000 ชีวิต (ในปี ค.ศ.1900)
  • ชาวพื้นเมืองเสียชีวิตจากความขัดแย้ง ความรุนแรง และความไร้เมตตา ที่ได้คร่าชีวิตชนพื้นเมืองอเมริกัน จนทั้งหมดเกือบจะสูญหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์. หากผมจะเรียกคนขาวที่เข้าไปยังแผ่นดินอเมริกาว่า Genocide คงไม่ใช่คำพูดที่เกินจริง!

ป.ล. ในปัจจุบันนี้ประชากรอเมริกันพื้นเมือง คิดเป็น 1.37% ของ ประชากรสหรัฐอเมริกา
ป.ล.2.จบตอนที่ 4

ตอนที่ 3. อาณานิคมของสเปน


อเมริกันพื้นเมือง (อินเดียนแดง) กับคนขาว
ตอนที่ 3.อาณานิคมของสเปน
  • การเดินทางมาถึงของ โคลัมบัส ในการค้นหาโลกใหม่ ได้ค้นพบเวเนซุเอลา ใน ค.ศ.1499 
  • (นักเดินเรือชาวอิตาลียน ชื่อ อเมริโก เวสปุกชี (Americo Vespucci) เดินทางสำรวจให้กับสเปน ได้แล่นเรือสำรวจชายฝั่งประเทศเวเนสุเอลา ทะเลสาบมาราไคโบ พบเห็นบ้านเรือนของชนพื้นเมืองก่อตั้งอยู่ริมน้ำ คล้ายหมู่บ้านของชาวเวนิส จึงเรียกดินแดนที่เขาพบนี้ว่า เวเนสุเอลา ซึ่งหมายถึง เวนิสน้อย) ในปี ค.ศ. 1567 เวเนซูเอลา กลายเป็นอาณานิคมของสเปน การมาถึงของคนขาว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อชนพื้นเมืองตลอดไป ในช่วงถัดไปอีก 350 ปี
  • ยุคแห่งการสำรวจสเปน เริ่มตั้งหลักแหล่งอยู่ในหมู่เกาะแคริบเบียนและผู้พิชิต(conquistador) ก็เริ่มโค่นจักรวรรดิท้องถิ่นที่พบเช่นจักรวรรดิแอซเท็คและจักรวรรดิอินคา ต่อมาคณะสำรวจก็ขยายดินแดนของจักรวรรดิสเปนตั้งแต่บริเวณที่เป็นแคนาดาปัจจุบันในทวีปอเมริกาเหนือไปจนจรด เตียร์ราเดลฟวยโก ทางตอนใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ การเดินทางสำรวจของสเปนเป็นการเดินทางรอบโลกที่เริ่มโดยเฟอร์ดินันด์ มาเจลลันในปี ค.ศ. 1519 และจบลงด้วย Juan Sebastian Elcano ในปี ค.ศ. 1522 ซึ่งเป็นการสำรวจ ตามความตั้งใจ ของโคลัมบัส ในการพยายามหาเส้นทางไปยังเอเชีย โดยการเดินทางไปทางตะวันตก ซึ่งทำให้สเปนหันมาสนใจ ในตะวันออกไกล โดยการก่อตั้งอาณานิคมในเกาะกวม, ฟิลิปปินส์ และเกาะใกล้เคียง ระหว่าง “ยุคทองของสเปน” (Siglo de Oro) จักรวรรดิสเปน ประกอบด้วยเนเธอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก, เบลเยียม, ส่วนใหญ่ของอิตาลี, บางส่วนของเยอรมนี, บางส่วนของฝรั่งเศส, ดินแดนในแอฟริกา, เอเชีย และ โอเชียเนีย และดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกา เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 สเปนก็ครอบครองดินแดนที่กว้างใหญ่ที่สุดกว่าที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ก่อนหน้านั้น
  • การค้าขายระหว่างสเปนและอาณานิคมก็รุ่งเรือง สินค้าต่างๆ ที่รวมทั้งโลหะมีค่าจากอเมริกา ถูกนำกลับมาสเปน ในกองเรือสมบัติ (Spanish treasure fleets) เป็นประจำทุกปี กองเรือมะนิลา(Manila Galleon) ก็เชื่อมระหว่างฟิลิปปินส์ กับอเมริกา โดยมีเรือติดต่ออย่างสม่ำเสมอ ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก การค้าขายส่วนใหญ่เป็นการทำเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง ให้แก่ราชนาวีของสเปน และเพื่อพิทักษ์จักรวรรดิสเปนในยุโรป
  • ในอเมริกา สเปนปกครองอาณาจักรอันกว้างใหญ่ บนพื้นฐานของแรงงานและการใช้ประโยชน์ของประชากรอินเดียน สเปนต้องการจะนำศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ไปยังดินแดนใหม่ ชาวสเปนหลายหมื่นคนข้ามมหาสมุทร มายังดินแดนใหม่ ชาวสเปนมาพร้อมกับ โรคร้าย! ที่ชาวพื้นเมืองในโลกใหม่ไม่มีภูมิคุ้มกัน สิ่งที่ตามมาเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรม ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เช่น ไข้ทรพิษ โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคติดต่ออื่น ๆ ทำลายประชากรพื้นเมืองนับล้าน เป้าหมายของพวกเขาคือการขยายอาณาจักรเพื่อความยิ่งใหญ่ ผลขอบการขยายอาณาเขตปกครองที่ตามมาคือการบังคับใช้แรงงานอินเดียน มีการอภิปรายที่เกิดขึ้นในสเปน เกี่ยวกับสิทธิของชาวอินเดียน นี่เป็นครั้งแรกที่ประเทศต่างๆ ในยุโรปได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับสถานะของคนที่ไม่ใช่คริสเตียน โลกของอินเดียนได้เปลี่ยนไปตลอดกาล โดยนักสำรวจของสเปน ด้วยพฤติกรรมที่ผิด หลักการปกครองของสเปนในอเมริกา.
  • นักล่าอาณานิคมชาวสเปน "conquistadors"(ผู้ออกแสวงหา และพิชิต) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขุนนาง ที่ไม่ดีมาจากทางทิศตะวันตก และทิศใต้ของสเปน สามารถที่จะพิชิตจักรวรรดิใหญ่ ของโลกใหม่ ด้วยเทคโนโลยีทางทหารที่เหนือกว่า ชนเผ่าในท้องถิ่น เมื่อสเปนได้รับชัยชนะ พื้นที่ของชนเผ่าจะถูกแบ่งออกเป็น"encomiendas"หรือทุนของที่ดิน
  • "conquistadors" (ผู้ออกแสวงหา) คือผู้ที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ระบบนี้เป็นระบบที่ทารุณกรรมอย่างหนักต่ออินเดียน ทั่วทวีปอเมริกา อินเดียนถูกลดสถานภาพลงไปอยู่ในสภาพของการเป็นทาส เนื่องจากการปกครอง ที่เลวทรามและรุนแรง
  • ประชากรของแรงงานพื้นเมือง เริ่มมีจำนวนไม่เพียงพอ สำหรับอาณานิคมสเปน ที่กว้างใหญ่ พวกเขาเริ่มที่จะนำเข้าทาสแอฟริกัน มาใช้ในการทำงาน ในสวนตาลและเหมืองแร่เงิน การเหยียดสีผิวยังคงมีบทบาทในโลกใหม่ สังคมโคโลเนียลมีการแบ่งลำดับชั้นระหว่างผู้ปกครองและทาส ระบบอาณานิคมของ สเปน ที่แยกความแตกต่าง สำหรับกลุ่มที่มีเลือดของอินเดียน และ แอฟริกัน เกิดการแบ่งชนชั้นในทุกดินแดนของสเปนในทวีปอเมริกา ด้วยระบอบนี้ การเลือกปฏิบัติและการปราบปราม เป็นคุณลักษณะของการปกครอง โดยอาณานิคมสเปน ตลอดประวัติศาสตร์.
  • รัฐบาลของสเปนในกรุงมาดริด พยายามอย่างหนักในการควบคุมโลกใหม่แม้จะมีระยะทางห่างใกลจากยุโรป การใช้ระบบการทำงานของ viceroyalties (อำนาจของอุปราช ผู้สำเร็จราชการ) และ audencias (ผู้รับราชโองการ) สถาบันพระมหากษัตริย์ สามารถที่จะควบคุม การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของสเปนในทวีปอเมริกา พระมหากษัตริย์มีสิทธิที่จะได้รับหนึ่งในห้าของกำไร จากเหมืองแร่ทั้งหมด และรายได้ที่มากนี้ช่วยให้สเปน กลายเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในยุโรป ในช่วงปี ค.ศ 1600
  • การผสมผสานระหว่างศาสนา และ การเมือง คือสิ่งที่สเปนนำมาใช้สร้างระบบการปกครอง ที่จะกลายเป็นรูปแบบของการปกครองในอเมริกาตะวันตกเฉียงใต้: "สาธารณรัฐโดมินิกัน" ฟรานซิสและมิชชันนารี่(ผู้เผยเเพร่ศาสนา) นิกายเยซูอิต (คริสตศาสนา) ที่ต้องดูแลของพื้นที่ขนาดใหญ่ใน เท็กซัส/แอริโซนา/นิวเม็กซิโก และแคลิฟอร์เนีย ในภายหลัง โดยมีเป้าหมายของการนำศาสนาคาทอลิกไปยังโลกใหม่ สเปนก็ยังสามารถที่จะใช้รัฐบาลคริสตจักรที่มีอยู่ สำหรับงานทางการเมืองของตัวเอง กฎหมายที่เด็ดขาดมาจาก มาดริด อาณานิคมของสเปนก็ได้แผ่ขยายครอบคลุมกว้างใหญ่ขึ้น ทั้งในทวีปอเมริกา
  • เหนือ และ อเมริกาใต้ โดยเฉพาะอเมริกาใต้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนของอาณานิคม สเปน (ในสมัยโบราณเวเนซุเอลา และ แคริบเบียนมีชนพื้นเมืองอินเดียนแดงอาศัยอยู่ คือเผ่า Arawak ในปี ค.ศ.1522 ได้ตกเป็น อาณานิคมของ สเปน ครั้งแรกในละตินอเมริกา )
  • ในที่สุดสงครามอิสรภาพ ในช่วงต้นศตวรรษที่สิบเก้า ก็ได้เกิดขึ้น กับสงครามประกาศอิสระภาพ ของ Simon Bolivar ซีมอง โบลีวาร์ (ในภาษาสเปน: Simón Bolívar) เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวให้ประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้เป็นอิสระ หรือที่เรียกกันในนามว่า "สงครามโบลีวาร์" โบลีวาร์เป็นนักการต่อสู้เพื่อความอิสระให้ประเทศ. เวเนซุเอลา / โคลอมเบีย/ เอกวาดอร์/ เปรู/ปานามาและ โบลิเวีย เป็นอิสระจากอาณานิคมสเปน เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม "ผู้กู้อิสรภาพ"
  • Simón Bolívar 
    • -ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหภาพโคลอมเบีย เมื่อ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1819 – 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1830 
    • -ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโบลิเวีย เมื่อ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1825 – 29 ธันวาคม ค.ศ. 1825 
    • -ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเปรู
  • เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1824 – 28 มกราคม ค.ศ.1827
  • โบลิวาร์เกิดใน ปี ค.ส.1783 ในเมืองการากัส (เวเนซุเอลา) ในตระกูลขุนนางที่มาจากสเปน และกลายเป็นเด็กกำพร้า ตอนอายุสิบหก เขาเติบโตขึ้นมาในช่วงที่ความคิดและอุดมการณ์ที่มีผลต่อความคิดของเขาอย่างลึกซึ้ง เขาเคยอ่านงานเขียน ของนัก ปรัชญา อย่าง จอห์น ล็อค (john locke) / รูสโซส์ (JEAN-JACQUES ROUSSEAU.) / วอลแตร์ (Voltaire)/บารอน เดอ มองเตสกิเออร์ (Baron de Montesquieu) และนักปรัชญาอื่น ๆ นอกจากนี้เขายังชื่นชมในความสามารถ ของ นโปเลียน อีกด้วย. ซีมอง โบลีวาร์ เป็นคนเข้มแข็งมาก ตราบเท่าที่ไม่มีวันแห่งมาตุภูมิ การปลดปล่อยจากการปกครองของสเปน เขาจะต่อสู้จนถึงวันหนึ่งแห่งชัยชนะ ในที่สุด เวเนซุเอลา ก็มาถึงจุดเริ่มต้นของความเป็นอิสระโดยขบวนการต่อต้านการปกครองของ สเปน ในปี ค.ศ.1806, โดย ฟรานซิส เดอมิแรนดา เริ่มการปฏิวัติใน การากัส แต่ล้มเหลว ในปี.ค.ศ. 1810 (หลังจากนั้น 1 ปี ในช่วงที่สเปนเข้าควบคุมกองทัพ อาณานิคม "ฟรานซิส เดอมิแรนดา"ถูกคุมขัง)
  • ในวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ 1811 ผู้ว่าราชการแห่ง เวเนซูเอลาได้ถูกปลดออก 
  • ในปี ค.ศ. 1819 ก็มาถึงจุดเปลี่ยน เมื่อ โบลิวาร์นำหน่วยเล็ก ๆ ของเขาข้ามแม่น้ำ และ ข้ามเทือกเขาแอนดีช บนทางที่แคบและสูงชันโดยกองทัพโคลอมเบีย เข้าโจมตีสเปน โบลิวาร์ชนะการรบ เมื่อ 7 สิงหาคม 1819 นับเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามที่แท้จริง 
  • เวเนซูเอลา ประกาศอิสรภาพ ภายใต้การนำของ Simon Bolivar ในมิถุนายน ค.ศ 1821 เพื่อแยกตัวเอง ออกจากการปกครอง เป็นอาณานิคม ภายใต้อำนาจของ สเปน
  • ปี ค.ศ 1822 ประกาศอิสรภาพโคลัมเบีย / เอกวาดอร์ และปานามา.
  • หลังจากปีของความวุ่นวายในประเทศ และในที่สุดละตินอเมริกา ได้รับอิสรภาพ โดย Simon Bolivar (SimónBolívar) ผู้นำในความสำเร็จ ของอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1821 จนถึง ค.ศ.1830, เวเนซุเอลา / โคลัมเบีย /ปานามา /เอกวาดอร์และประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ เป็นสาธารณรัฐโคลัมเบีย (GranColombia ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศ คือ Repúblicade Colombia) หลังจากนั้น เวเนซูเอลา แยกเป็นประเทศเอกราชในปี ค.ศ. 1830 (สาธารณรัฐเวเนซุเอลา)
  • ***(ผู้ว่าราชการเวเนซุเอลา ถูกไล่ออก นั่นคือจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติต่อต้านการปกครองของสเปนในเวเนซุเอลา (ค.ศ.1811) ได้มีการทำประกาศอย่างเป็นทางการ ของความเป็นอิสระ กับคณะนายพลทหาร )***
  • --------------------------------------------------------------------
  • คณะผู้นำทางทหารที่เกี่ยวข้อง กับการต่อต้านการปกครองของ สเปน
  • จอมพล.เซบาสเตียน ฟรานซิส เดอมิแรนดา รอทดิเกส
  • (แม่ทัพและพลเรือเอกของฝรั่งเศส แห่งเวเนซุเอลา จอมพลพันเอกสเปน)
  • นายทหารของกองทัพสเปน และ ฝรั่งเศส อยู่ในระดับของพันเอก และ จอมพลตามลำดับ เขามีส่วนร่วมในสงครามสำคัญๆ หลายสมรภูมิ ทั้งสงคราม ในแอลเจียร์ (เมืองหลวงของ แอลจีเรีย) สงครามในทวีปแอฟริกา และสงครามอิสรภาพอเมริกันการปฏิวัติฝรั่งเศส และสงครามอิสรภาพของเวเนซูเอลา
  • "ฟรานซิส เดอมิแรนดา" เป็นแกนนำสำคัญ เกี่ยวกับการทำประกาศอย่างเป็นทางการในการประกาศอิสรภาพ "เอกสารปลดปล่อยอเมริกัน "กับจักรวรรดิสเปน รู้จักกันในชื่อ"The First เวเนซุเอลาสากล -สากลอเมริกัน" เขาเป็นผู้มีส่วนร่วมของอิสรภาพ ของสหรัฐอเมริกา ต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส และความเป็นอิสระของเวเนซูเอลาในภายหลัง การปฏิวัติเวเนซูเอลา ที่ช่วยปูทางสำหรับการเป็นอิสระในละตินอเมริกา แผนสำหรับการปลดปล่อยอาณานิคมสเปนด้วยความช่วยเหลือของประชาชนแต่ล้มเหลวในที่สุด แต่เขายังคงเป็นที่รู้จักกันในนามของ "ผู้บุกเบิก" ที่ปูทางให้ Bolívarและอื่น ๆ ทำการปฎิวัติมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ในเส้นทางชีวิตของเขามีส่วนร่วมในการสู้รบ ในสงครามสำคัญทั้งสามสงคราม 
  • 1.สงครามเพื่อประชาธิปไตยอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา 
  • 2.สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส
  • 3.สงครามอเมริกันอิสรภาพ กับสเปน
  • เขาเน้นนโยบายการเป็นผู้สนับสนุนที่แข็งแกร่ง ความเป็นอิสระและอำนาจอธิปไตยของประเทศ ในเวทีระหว่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในพระราชบัญญัติของการประกาศอิสรภาพ ของเวเนซูเอลาและผู้เริ่มต้นและเป็นผู้นำของสังคมรักชาติ เขายังเป็นผู้สร้างของแผนงานทางการเมือง โคลัมเบีย โดย ซิมอง โบลิวาร์ พยายามที่จะดำเนินการ หลังจากการปลดปล่อยของ โคลอมเบีย / เอกวาดอร์และเวเนซุเอลา ในปี ค.ศ.1826 มีเป้าหมายที่จะรวมดินแดนอาณานิคม เป็นประเทศ
  • "ฟรานซิส เดอมิแรนดา"ถูกคุมขังในท้ายที่สุดของชีวิต เเละเสียชีวิตในเรือนจำ เมื่ออายุ ได้ 66 ปี 
  • --------------------------------------------------------------------
  • นายพล. โฮเซ เดอ ซาน มาร์ติน Jose de San Martin ในภาษาสเปน: José Francisco de San Martín Matorras ) เป็นนายพลชาวอาร์เจนตินา ผู้ซึ่งเป็นผู้นำในการประกาศเอกราชอเมริกาใต้ ตอนล่าง (อาร์เจนตินาและชิลี) จากประเทศสเปน
  • เป็นผู้นำในการปลดปล่อย ในอาร์เจนตินาและชิลี ให้เป็นเอกราช ค.ศ 1818
  • เริ่มจากการประกาศเอกราชของประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ ด้วยเหตุที่อาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือได้ประกาศเอกราช ตั้งเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา จึงเป็นตัวอย่างที่ชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ ต้องการเอกราช
  • โดยเริ่มจากชาวอาณานิคมในเมืองคารากัส ได้ก่อการกบฏขึ้นในปี ค.ศ. 1810 ขับไล่แม่ทัพของสเปน ออกไปและตั้งคณะกรรมการขึ้นปกครองตนเอง โดยมีผู้นำในอาณานิคมหลายคน ที่ต้องการปลดปล่อยอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ให้เป็นอิสระ
  • --------------------------------------------------------------------
  • การยึดครองสเปน โดยฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1808 ภายใต้การนำของ จักรพรรดินโปเลียน เป็นการตัดขาดการติดต่อ กับอาณานิคมในอเมริกา อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง มีผลทำให้ สงครามอิสรภาพสเปนอเมริกันโดยคณะนายพลทหารที่สำคัญๆ เกิดขึ้น ต่อเนื่องกันระหว่าง ค.ศ. 1810 ถึง ค.ศ. 1830 มีผลทำให้รัฐต่างๆของสเปน ในอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ได้รับอิสรภาพจากสเปน ดินแดนที่เหลือที่รวมทั้งคิวบา,เปอร์โตริโก, ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสเปนมาจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้รับอิสรภาพ. (ดินแดนในอเมริกาเหนือ ส่วนใหญ่มาถูกผนวกโดยสหรัฐอเมริกา)
  • หลัง สงครามสเปน-อเมริกัน ดินแดนที่เหลือในหมู่เกาะแปซิฟิกขายให้แก่จักรวรรดิเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1899 เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สเปนก็เหลือแต่ดินแดนในแอฟริกา ในกินีสเปน, ซาฮาราสเปน และโมร็อกโกสเปน สเปนถอนตัวจากโมร็อกโกในปี ค.ศ. 1956 และมอบอิสรภาพให้แก่อิเควทอเรียลกินีในปี ค.ศ. 1968 เมื่อสเปนถอนตัวจากซาฮาราสเปนในปี ค.ศ. 1976 ในช่วงแรกอาณานิคมก็ถูกผนวกโดยโมร็อกโกและมอริเตเนีย แต่ต่อมาก็รวมเป็นโมร็อกโกทั้งหมดในปี ค.ศ. 1980 แม้ว่าตามทฤษฎีของสหประชาชาติ ซาฮาราสเปนยังคง อยู่ภายใต้การบริหารของสเปน ในปัจจุบัน หมู่เกาะคะเนรี และบริเวณอีกสองบริเวณบนฝั่งทะเลแอฟริกาเหนือเซวตา และ เมลียายังคงเป็นดินแดนบริหารของสเปน (หมดยุคสมัยแห่ง อาณานิคมสเปน)
  • ป.ล. เราจะเห็นความแตกต่าง ของการทำสงครามเพื่ออิสระภาพ ในอเมริกาเหนือ เป็นไปในแนวทาง เพื่อรวมเป็นสหพันธรัฐขนาดใหญ่ กลายเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาในท้ายที่สุด ในขณะที่อเมริกาใต้ สงครามเพื่ออิสรภาพ นำไปสู่ความเป็นเอกราช ของประเทศต่างๆ หลายประเทศ ในตอนท้าย... แต่ไม่ว่าบทสรุปจะจบลงแบบไหนนั้น ชนพื้นเมืองอเมริกัน ล้วนไม่ได้รับสิทธิ เสรีภาพ และ อิสรภาพ อย่างแท้จริง.

ป.ล.2 จบตอนที่ 3 ติดตามตอนต่อไป ^^