วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตอนที่ 3. สายพันธุ์ของเชื้อโรคชนิดต่างๆ ที่มีอันตรายกับมนุษย์ (จบ)

การทำสงครามทางชีวภาพ (อาวุธเชื้อโรค)
ตอนที่ 3. สายพันธุ์ของเชื้อโรคชนิดต่างๆ ที่มีอันตรายกับมนุษย์ (จบ)
  • การผลิตเชื้อ จุลินทรีย์เพื่อนำมาผลิตอาวุธชีวภาพนั้น จะใช้วิธีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ แต่ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ มีความก้าวหน้าในการวิจัยและพัฒนา เชื้อจุลินทรีย์ต่างๆได้ เช่น ทำให้เชื้อสามารถผลิตเอนไซม์หรือสารพิษที่มีอำนาจทำลายล้าง หรือดื้อยาต้านจุลชีพ และวัคซีนมากขึ้น แต่ก็สามารถใช้เทคโนโลยีชีวภาพป้องกันอาวุธชีวะภาพได้เช่นเดียวกัน 
  • สำหรับจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการผลิตเป็นอาวุธ และเป็นสารชีวะ ที่ทำอันตรายมนุษย์ โดยเฉพาะจุลินทรีย์ก่อโรคติดต่อระหว่างสัตว์กับมนุษย์ เพราะมีข้อได้เปรียบกว่าโรคติดต่อโดยเฉพาะกับมนุษย์ เพราะมนุษย์ มีภูมิต้านทานโรคเหล่านี้ต่ำ และทางการแพทย์เอง ไม่ค่อยชำนาญในการวินิจฉัย และการรักษาโรคเหล่านี้ ส่วนใหญ่ยังไม่มียาป้องกัน และวิธีการรักษาก็ไม่ได้พัฒนาไปมากนัก ดังนี้
  • 1.แบคทีเรีย(Bacteria) เป็นจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคที่จัดอยู่ในจำพวก พืชเซลล์เดียว มีการเจริญเติบโต การกินอาหาร ขับถ่ายของเสียแบบเดียวกับพืช ขยายพันธุ์ โดยการแบ่งตัว เป็นเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องดูด้วย กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายประมาณ 1,500 เท่า แบคทีเรียแต่ละชนิดมีรูปร่างแตกต่างกันไป ดังนี้
  • **พวกที่มีรูปร่างกลม เรียกว่า ค็อกไซ (Cocci) อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เซ่น เชื้อที่ทำให้เกิด หนอง ฝี โรคหนองใน พวกที่มีรูปร่างเป็นท่อน หรือเป็นแท่งยาวเรียกว่า บะซิลไล (Bacilli) เช่น เชื้อโรคที่ทำให้เกิดวัณโรค โรคเรื้อน ไข้ไทฟอยด์
  • **พวกที่มีรูปร่างขดเป็นเกลียวสว่าน เรียกว่า สไปโรคีต (Spirocheata) เซ่น เชื้อที่ทำให้เกิดโรคซิฟิลิสเป็นต้นแบคทีเรียสามารถดำรงชีวิตและขยายพันธุโต้ในสภาวะแวดล้อมแทบทุกอย่าง หรือเจริญงอกงามได้ทั้งในสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต เซ่น ในคน สัตว์ อาหาร นํ้า นํ้านม
  • 2.ไวรัส (Virus) เป็นจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาเชื้อโรคทุกชนิด สามารถผ่านเครื่องกรองที่ใช้กรองแบคทีเรียได้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องดูด้วย กล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า อิเล็กตรอนไมโครสโคป (Electronmicroscope) ตามปกติ เชื้อไวรัสจะมีอยู่ทั่วไปในอากาศ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เซ่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ คางทูม หัดเยอรมัน อีสุกอีใสไข้เลือดออกไข้ทรพิษ โรคไข้สันหลังอักเสบหรือโปลิโอโรคกลัวน้ำ เป็นต้น ไวรัสเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนได้เฉพาะเมื่ออยู่ในเซลล์ (Cell) ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
  • 3.ริคเกทเซีย(Rickettsia)เป็นจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคที่มีลักษณะกึ่งพืชกึ่งสัตว์และมี ขนาดเล็กกว่าเชื้อแบคทีเรียแต่ใหญ่กว่าเชื้อไวรัส มีสภาพกึ่งแบคทีเรีย กึ่งไวรัส คือมีรูปร่างได้ หลายอย่างเหมือนแบคทีเรีย แต่ต้องอาศัยเจริญเติบโตในเซลล์ (Cell) ที่มีชีวิต เชื้อริกเกตเชียสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ มักอาศัยอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นซึ่งเป็นพาหะของโรค เช่น เห็บ เหา หมัด เป็นต้น ตัวอย่างของโรคที่เกิดจากริกเกตเชียได้แก่ ไข้รากสาดใหญ่ หรือไทฟัส เป็นต้น
  • 4. รา หรือ เชื้อรา (Fungus) เป็นเชื้อโรคที่จัดอยู่ในจำพวกพืชเซลล์เดียว มีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรีย เชื้อรามีรูปร่าง 2 แบบ คือ ราแบบรูปกลมเรียกว่า ยีสต์ ส่วนราแบบเป็นสายเรียกว่า สายรา ราบางชนิดจะมีรูปร่างได้ทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ ราบางชนิดจะสร้างสปอร์สำหรับสืบพันธุเกิดเป็นเห็ดขึ้น ราบางชนิดสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ราที่ขึ้นในอาหารจำพวกแป้ง เพราะเจริญเติบโตแบ่งตัวเป็นจำนวนมากจึงทำให้มองเห็นได้ง่าย เช่น ราที่ขึ้นบนผิวขนมปัง เป็นต้น ราหลายชนิดสามารถเห็นไต้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ เชื้อราบางชนิด เช่น ยีสต์ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ใช้ในการทำขนมปัง แต่เชื้อราส่วนใหญ่ให้โทษโดยทำให้เกิดโรค เช่น โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า รวมทั้งเชื้อราในอาหารซึ่งสามารถสร้างพิษปล่อยออกมาปนอยู่ในอาหารแล้วทำให้เป็นโรคมะเร็งได้
  • นอกจากนี้ยังมี ปรสิต (Parasite) ที่สามารถเป็นอันตรายกับมนุษย์ได้ ปรสิต เป็นจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคขนาดใหญ่ จัดอยู่ในจำพวกสัตว์ มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อโรคชนิดอื่นๆ บางชนิดสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เชื้อโรคชนิดนี้มีทั้งพวก เซลล์เดียว ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เรียกว่า โปรโตชัว เช่น เชื้อไข้จับสัน ไข้มาลาเรีย เชื้อโรคบิดมีตัว (บิดอะมีบิก) เป็นต้น และพวกหลายเซลล์ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เรียกว่า หนอน พยาธิหรือ เมตาซัว เช่น พยาธิชนิดต่าง ๆได้แก่ พยาธิตัวกลม พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด พยาธิปากขอ เป็นด้น รวมทั้งแมลงบางชนิด เช่น เหา หิด และโลน จัดอยู่ในพวกปรสิตด้วย
  • __________________________________________
  • จุลินทรีย์ที่เหมาะสำหรับใช้เป็นสารทำอันตรายแก่มนุษย์และสัตว์ มีทั้งแบคทีเรีย และไวรัส โดยเชื้อจุลินทรีย์และสารพิษหลัก ๆ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นอาวุธชีวภาพร้ายแรงมี ดังนี้
  • 1.Anthrax เชื้อแบคทีเรีย เช่น แอนแทรกซ์ มีชื่อว่า Bacillus anthracis มีการสืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ เมื่อตกไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะบ่มตัวอย่างรวดเร็ว และสามารถสร้างเกราะหุ้มได้ ทำให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ฟักตัวอยู่ในดินนานนับหลาย 10 ปี หากตกอยู่ในพื้นที่ใดจะทำให้พื้นที่นั้น ๆ ไม่สามารถใช้งานทางปศุสัตว์ได้
  • เชื้อแอนแทรกซ์ เป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีการเจริญเติบโตเร็ว และสามารถทำให้ติดเชื้อได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ที่มีกีบ เช่น วัว ควาย สุกร ฯลฯ คนก็สามารถรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย และเกิดการเจ็บป่วย โดยมีช่วงระยะเวลาฟักตัวของโรคสั้น เพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือไม่กี่วันก็เกิดอาการรุนแรง และเสียชีวิต มีอัตราตายที่สูง
  • เชื้อแอนแทรกซ์นี้มีคุณสมบัติพิเศษที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมันสามารถสร้าง สปอร์ (spore) ที่เหมือนกับการแปลงตัวเป็นเมล็ด ซึ่งจะทนต่อความร้อนและความแห้งแล้งได้ รอคอยจนถึงเวลาที่มีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ก็สามารถกลับมาเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่ได้ เคยมีนักวิทยาศาสตร์อังกฤษที่นำสปอร์ของเชื้อแอนแทรกซ์ที่เก็บไว้นาน 80 ปี กลับมาเพาะเชื้อก็ยังสามารถขึ้นได้ และยังมีความรุนแรงเหมือนเดิม
  • ที่สำคัญคือ ในการนำเชื้อแอนแทรกซ์มาทำเป็นอาวุธในสงครามชีวภาพนั้น มีหลายประเทศในโลก ที่มีอาวุธแอนแทรกซ์นี้ไว้ในครอบครอง และมักจะเลือกใช้เชื้อสายพันธุ์ ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายชนิดมาทำเป็นอาวุธ โดยสามารถนำมาบรรจุไว้ในหัวกระสุนปืนใหญ่ที่ยิ่งใส่พื้นที่ของข้าศึก หรือนำสปอร์แห้งเป็นผง มาใส่ในกระป๋องสเปรย์นำไปพ่นในที่ต่างๆ หรืออย่างที่ทราบข่าวกันคือ การนำไปใส่ไว้ในซองจดหมาย ฯลฯ ซึ่งทำให้คนที่มาสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งถ้าเป็นเชื้อที่ดื้อยามากๆ ก็แทบจะไม่มียารักษาเลย เคยมีการประเมินว่าความร้ายแรงของเชื้อแอนแทรกซ์ ในการนำมาใช้เป็นอาวุธชีวภาพนั้น จะสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้รุนแรงพอๆ กับการใช้ระเบิดปรมาณูลูกหนึ่งเลย เชื้อดังกล่าวจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบเลือด และทางเดินหายใจ เมื่อรับเชื้อผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนไข้หวัด มีน้ำมูกไหล หลังจากนั้นจะช็อก หมดสติ และเสียชีวิตใน ที่สุด (การใช้เชื้อแอนแทรกซ์เป็นอาวุธ ทำได้โดยการนำเชื้อแอนแทรกซ์ที่เพาะเลี้ยงไว้และนำมาฉีดพ่นโดยเครื่องบิน หรือใช้ทำเป็นหัวรบ ซึ่งญี่ปุ่นเคยใช้อาวุธเชื้อโรคแอนแทร็กซ์นี้กับชาวจีนมาแล้วเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2)
  • 2.เชื้อ C. botulinum เป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสารพิษบอตทูลินั่ม ทำให้อาหารเป็นพิษ เชื้อเพียงจุดเล็ก ๆ ก็ สามารถทำลายชีวิตคนได้ถึง 10 คน โดยซึมเข้าทางเยื้อบุ ของร่างกาย เช่น เยื่อบุทางเดินหายใจ เป็นสารที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ผู้ที่ได้รับสารนี้เข้าไปจะไม่มีโอกาสรู้ตัวจนกว่าพิษจะเริ่มแสดงอาการ ผู้รับพิษจะมีอาการตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรงคลื่นไส้อาเจียนระบบประสาทจะถูกทำลาย และผู้ป่วยจะเสียชีวิตในที่สุด 
  • การแก้พิษป้องกันได้ โดยการฉีดวัคซีน หรือใส่หน้ากากป้องกันก๊าซพิษ แต่เนื่องจากพิษของเชื้อโรคดังกล่าวยังสามารถแยกย่อยได้อีก ดังนั้นการป้องกันจึงทำได้ยาก หากไม่ทราบว่าศัตรูจะแพร่พิษ BOTULINUM ชนิดใด ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าถูกใช้ในสงครามมาก่อน
  • 3.เชื้อ Clostridium perfringens เป็นแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้อาหารเน่าเสียและเกิดอาหารเป็นพิษได้ หากแบคทีเรียชนิดนี้เข้าไปอยู่ในบาดแผลที่สกปรกและอากาศเข้าไม่ถึง จะทำให้เกิดก๊าซในบาดแผล
  • 4.เชื้อ Pasteurella pestis P. pestis ทำให้เกิดกาฬโรค ติดต่อได้เร็วมาก ทำให้ผู้ป่วยเป็น ปอดบวม มีไข้สูงอาเจียน และตายในที่สุด
  • 5.เชื่อ P. tularensis P. tularensis ทำให้เกิดโรค tularemia โดยผู้ป่วยจะไม่ตาย แต่จะทำให้สูญเสียน้ำหนักตัว ปวดศรีษะ ปวดตามร่างกาย และปอดบวม
  • 6.เชื้อรา A. flavus เป็นเชื้อราที่มีอยู่ในธรรมชาติ ชอบขึ้นบนสินค้าเกษตรที่เก็บรักษาไม่ดีส่วนใหญ่อยู่ใน ถั่ว ข้าวโพด พริกป่น สามารถผลิตสารพิษอะฟลาท็อกซิน เป็นสารที่ก่อมะเร็งในตับ ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้สารพิษชนิดนี้เป็นอาวุธชีวภาพมากนัก เนื่องจากสารดังกล่าว คือ สารก่อมะเร็ง ในระยะยาว ดังนั้น จึงไม่ใช่อาวุธที่ให้ผลฉับพลัน แต่เป็นการสังหารแบบตายผ่อนส่งมากกว่า
  • 7.Small pox virus หรือโรคไข้ทรพิษ ถูกจำกัดไปจากธรรมชาติแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ทั่วโลกได้หยุดการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ แต่ยังคงมีสองประเทศที่เก็บเชื้อ smallpox ไว้ในห้องปฏิบัติการ คือ อเมริกา และรัสเซีย แต่รัสเซียเริ่มมีปัญหาเนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ ทำให้เป็นแหล่งอันตรายเพราะหากผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ได้รับเชื้อ ก็จะทำให้เสียชีวิต 20 – 30% เนื่องจากไม่มียารักษา
  • 8.สารพิษ( toxin ) 
  • สารพิษไรซิน (Ricin) สกัดจากเมล็ดละหุ่ง ใช้เป็นยาปราบศัตรูพืช สารดังกล่าวจะไปยับยั้งการผลิตโปรตีนของเซลล์ในร่างกาย ผู้ที่ได้รับพิษจะเสียชีวิตเนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างโปรตีนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตได้ 
  • ไม่มีวิธีการรักษาหรือรายงานเกี่ยวกับการใช้สารไรซินในสงครามชีวภาพ แต่เคยมีคดีฆาตกรรมเกิดขึ้นในกรุงลอนดอน โดยผู้เสียชีวิตถูกแทงด้วยปลายร่มที่เคลือบสารไรซินขณะที่เหยื่อรอรถอยู่ที่ป้ายรถประจำทาง และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
  • ท็อกซิน(สารพิษ)ที่มีศักยภาพในการใช้เป็นอาวุธมี 6 ประเภท คือ 
  • 1.บอตทูลิน ชนิดเอ จากแบคทีเรีย Clostridium botulinum / C.parabotulinum, 
  • 2.สแตฟไฟโลคอคคัส เอ็นเทโรทอกซิน ชนิดบี แบคทีเรีย Staphylococcus aureus
  • 3.ไรซินจากเมล็ดละหุ่ง
  • 4.แซกซิทอกซินซึ่งเป็นแพลงก์ตอน
  • 5.ไทรโคธซิน จากราหลายชนิด 
  • 6.เทโรโดทอกซิน ( Tetrodoxin ) จากปลาปักเป้า 
  • __________________________________________
  • ทั้งนี้โรคที่มีศักยภาพในการใช้เป็นอาวุธชีวะ ได้แก่ เชื้อไวรัสอีโบร่า /โรคแอนแทรกซ์ / แท้งติดต่อ/ กาฬโรค/ ไข้รากสาดใหญ่/ไข้ผื่น/ไข้คิว/ โรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบ/ไข้เหลือง
  • ส่วนอาวุธชีวะที่ใช้ทำลายสัตว์ได้แก่ อหิวาห์สุกร / อหิวาห์สุกรแอฟริกา/ โรคปากและเท้าเปื่อย/โรคนิวคาสเซิล /โรครินเดอร์เปสท์
  • จุลินทรีย์ที่มีศักยะภาพในการใช้เป็นอาวุธชีวะทำอันตรายพืชมี 12 ตัว 
  • - Sclerotium rofsii ทำให้เกิดโรคของถั่วเหลือง หัวผักกาดหวาน ฝ้ายและมันเทศ 
  • - phytopthera infestans ทำให้เกิดโรคใบแห้งของมันฝรั่ง 
  • - Helminthosporium oryzae ทำให้เกิดโรคใบจุดสีน้ำตาลของข้าว 
  • - Pyricularia oryzae ทำให้เกิดโรคไหม้ของข้าว 
  • - Pucinia graminis ทำให้เกิดโรคราสนิมของข้าวสาลี ข้าวโอ็ต ข้าวไรน์ และข้าวบาเลย์ 
  • - Pseudomonas alboprecipitans ทำให้เกิดโรคใบแห้งของข้าวโพด 
  • - Rice Tungro Spherical Virus ทำให้เกิดโรคใบสีส้มของข้าว ซึ่งเป็นโรคจากไวรัสที่ทำลายผลผลิตของข้าวทั่วโลกมากที่สุด 
  • - Rice Tungro Bacilliform Virus ทำให้เกิดโรคใบสีส้มของข้าว 
  • - Rice Transitory Yellowing Virus ทำให้เกิดโรคใบหงิกของข้าวที่ชาวนาเรียกว่าโรคจู๋ 
  • - Rice Ragged Stunt Virus ทำให้เกิดโรคหูดของข้าว 
  • - Rice Gall Dwarf Virus และ Rice Grassy Stunt Virus ทำให้เกิดโรคเขียวเตี้ยของข้าว

  • เชื้อโรคต่าง ๆ ที่สามารถพัฒนาเป็นอาวุธชีวภาพไว้หลายชนิดด้วยกัน คือ โรครินเดอร์เปสต์, โรคเฮโมราจิกเซพติซีเมีย, โรคแอนแทรกซ์, โรคเซอร่า, สารติก, แกรนเดอร์, ปากเท้าเปื่อย, อหิวาต์สุกร, สำนักงานโรคระบาดระหว่างประเทศ (OIE) ได้กำหนดให้โรคระบาดอีกรวม 14 โรคต้องควบคุมด้วยเช่นกัน 
  • ประกอบด้วยโรคทริคโนซีส, บรูเซลโลซีส, วัณโรค, เลปโทสไปรา, แซลโมนิลา, สมองอักเสบนิปาห์, วัวบ้า, กาฬโรคเป็ด, นิวคาสเซิล, เอเวียนอินฟลูอินซา, รวมทั้งโรคระบาดในม้า เช่นกาฬโรคแอฟริกาในม้า, ไข้วัดใหญ่ในม้า, ไข้เห็บม้า, ดูรีน, ปากอักเสบพุพอง, ปิคาน่า, โพรงจมูกและปากอักเสบในม้า, มดลูกอักเสบติดต่อในม้า, เรื้อนม้า, โลหิตจากติดเชื้อในม้า, สมองและไขสันหลังอักเสบในม้า, สมองและไขสันหลังอักเสบเวเนซุเอล่าในม้า, สมองอักเสบเจเปนิส, หลอดเลือดแดงอักเสบติดเขื้อในม้า รวมทั้งหมดมีเชื้อโรคที่สามารถพัฒนา ศักยภาพในการทำอาวุธชีวะภาพได้ 32 เชื้อด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีเชื้อโรคร้ายแรงอย่าง อีโบล่า ซึ่งจัดเป็นเชื้อในกลุ่ม Virus.
  • ป.ล. ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ถูกเขียนไว้ด้วย"สงคราม'' การนำเชื้อโรคมาใช้ในการทำสงครามเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะเชื้อโรคไม่เลือกมิตรหรือศัตรู เชื้อโรคไม่เลือกว่าเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ดังนั้นสงครามครั้งต่อไปของมนุษย์ เราจึงหลีกเลี่ยงสงครามจากอาวุธชีวภาพได้ยากยิ่ง..
  • อ้างอิง: https://en.m.wikipedia.org/wiki/Biological_warfare
  • อ้างอิง: Trevisanato, Siro Igino (2007). "The 'Hittite Plague', an Epidemic of Tularemia and the First Record of Biological Warfare". Medical Hypotheses 69 (6): 1371–1374.doi:10.1016/j.mehy.2007.03.012.
  • อ้างอิง: Mayor, Andrienne (2003), Greek Fire, Poison Arrows, and Scorpion Bombs: Biological and Chemical Warfare in the Ancient World, The Overlook Press, Peter Mayer Publishers, Inc., ISBN 1-58567-348-X, pp 100–101
  • อ้างอิง: (1964), Tomorrow’s Weapons: Chemical and Biological, New York, New York: McGraw-Hill.
  • อ้างอิง: Cornelius Nepos, Hannibal 11.5-6. Herodian 3.9.3-8 and Dio Cassius 68.31-75 and Epitome 75.10 and 76.10.
  • อ้างอิง: Mayor, Adrienne (2003), Greek Fire, Poison Arrows & Scorpion Bombs: Biological and Chemical Warfare in the Ancient World, Woodstock, N.Y.: Overlook Duckworth,ISBN 978-1-58567-348-3
  • อ้างอิง: Wheelis M. (2002), "Biological warfare at the 1346 siege of Caffa.", Emerg Infect Dis(Center for Disease Control),doi:10.3201/eid0809.010536,PMC 2732530, PMID 12194776
  • อ้างอิง: Lederberg J., ed. (2001), Biological Weapons limiting the threat., MIT Press
  • อ้างอิง:Wheelis, Mark, Biological warfare before 1914 (PDF) work supported by United States Institute of Peace (USIP) and by a grant from the University of California Institute on Global Conflict and Cooperation (IGCC)[dead link]
  • อ้างอิง:a b Hobbes, Nicholas (2003), Essential Militaria, Atlantic Books, ISBN 978-1-84354-229-2
  • อ้างอิง:"Biological Warfare", EMedicineHealth
  • อ้างอิง:The Story Of... Smallpox – and other Deadly Eurasian Germs
  • อ้างอิง:Plagues and Peoples, Wm. McNeil^ a b D. Hank Ellison (August 24, 2007).Handbook of Chemical and Biological Warfare Agents, Second Edition. CRC Press. pp. 87–100. ISBN 0-8493-1434-8.
  • อ้างอิง:Anderson, Crucible of War, 541–42; Jennings, Empire of Fortune, 447n26.
  • อ้างอิง:Calloway, Scratch of a Penn, 73.
  • อ้างอิง:Max Boot (August 16, 2007). War Made New: Weapons, Warriors, and the Making of the Modern World. Gotham. pp. 245–250.ISBN 1-59240-315-8.
  • อ้างอิง:Crawford, Native Americans of the Pontiac's War, 245–250
  • อ้างอิง:Foley, Dennis, ‘’ Repossession of our Spirit: Traditional Owners of Northern Sydney,’’ (2001). Also Davis, Jack, in ‘’Aborigines of the West: Their Past and Their Present’’ ed. Berndt, RM and CH (1980), UWA Press, Perth.
  • อ้างอิง:Butlin, Noel, Our Original Aggression: Aboriginal Populations of Southeastern Australia 1788-1850 (1983), Allen & Unwin, Syd.
  • อ้างอิง:Day, David, Claiming a Continent: a new history of Australia (1996), Angus & Robertson, Sydney, p63f.
  • อ้างอิง:Lambert, JT., ‘’Brokers of Cultural Change’’ (2000), ISBN 0-646-36577-0, p245.
  • อ้างอิง:Invisible Invaders: Smallpox and Other Diseases in Aboriginal Australia 1780 - 1880, by Judy Campbell, Melbourne University Press, 2002, Foreword & pp 55, 61, 73-74, 181
  • อ้างอิง:Warren, C. "Could First Fleet smallpox infect Aborigines? - A note". Aboriginal History 31: 152–164.
  • อ้างอิง:Finzsch, Norbert (2008). "Extirpate or remove that vermine: genocide, biological warfare and settler imperialism in the eighteenth and nineteenth centuries". Journal of Genocide Research 10 (2): 215–232.doi:10.1080/14623520802065446.^ Mear, C. "The origin of the smallpox in Sydney in 1789". Journal of Royal Australian Historical Society 94 (1): 1–22.
  • อ้างอิง:Warren Christopher (2013). "Smallpox at Sydney Cove - Who, When, Why". Journal of Australian Studies 38: 68–86.doi:10.1080/14443058.2013.849750.
  • อ้างอิง:http://www.canberratimes.com.au/…/chickenpox-blamed-for-abo…^http://caepr.anu.edu.au/…/Seminar-Topics%E…/07_8_Seminar.php
  • อ้างอิง:Journal of Australian Studieshttp://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/14443058.2013.849750#preview อ้างอิง:http://web.archive.org/…/geocities…/jamie_bisher/anthrax.htm
  • อ้างอิง:S.k. Prasad (2009). Biological Agents, Volume 2. Discovery Publishing House. p. 36.
  • อ้างอิง:Covert, Norman M. (2000), "A History of Fort Detrick, Maryland", 4th Edition: 2000.
  • อ้างอิง:"Scientists and the history of biological weapons: A brief historical overview of the development of biological weapons in the twentieth century".
  • อ้างอิง:a b c Peter Williams & David Wallace (1989), Unit 731: Japan's Secret Biological Warfare in World War II, Free Press, ISBN 0-02-935301-7
  • อ้างอิง: Hal Gold, Unit 731 testimony, 1996, p.64-66^ Japan triggered bubonic plague outbreak, doctor claims, [1]
  • อ้างอิง: Daniel Barenblatt, A Plague upon Humanity, 2004, p.32.
  • อ้างอิง:Barenblatt, Daniel (2004), A Plague upon Humanity, HarperCollins, pp. 220–221
  • อ้างอิง:Christopher Hudson (2 March 2007),Doctors of Depravity, Daily Mail
  • อ้างอิง:a b c d e "CIA review of "Rikugun Noborito Kenkyujo no shinjitsu [The Truth About the Army Noborito Research Institute]" By Ban Shigeo. Tokyo: Fuyo Shobo Shuppan, 2001:". Retrieved 26 June 2012.
  • อ้างอิง:Naomi Baumslag, Murderous Medicine: Nazi Doctors, Human Experimentation, and Typhus, 2005, p.207^ "Weapons of Mass Destruction: Plague as Biological Weapons Agent".GlobalSecurity.org. Retrieved December 21,2014.
  • อ้างอิง:Amy Stewart (April 25, 2011). "Where To Find The World's Most 'Wicked Bugs': Fleas". National Public Radio.
  • อ้างอิง:Russell Working (June 5, 2001). "The trial of Unit 731". The Japan Times.
  • อ้างอิง:a b Stephen Lyon Endicott & Edward Hageman (1998), The United States and Biological Warfare: Secrets from the Early Cold War and Korea, Indiana University Press,ISBN 0-253-33472-1
  • อ้างอิง:"Quarterly Report Rocky Mountain Arsenal Archive July 1-September 30, 1962"(PDF). Retrieved 26 June 2012.
  • อ้างอิง:Countermeasures, Chapter 6 - An Overview of Emerging Missile State Countermeasures, p. 14, accessed November 12, 2008.
  • อ้างอิง:"Hidden history of US germ testing",BBC News, 13 February 2006
  • อ้างอิง:American Experience biological weapons timeline, 15 December 2006
  • อ้างอิง:Eitzen, Edward M. Medical Aspects of Chemical and Biological Warfare: Chapter 20 - Use of Biological Weapons, (PDF: p. 6),Borden Institute, Textbooks of Military Medicine, PDF via Maxwell-Gunter Air Force Base, accessed November 12, 2008.
  • อ้างอิง:a b Kirby, Reid. "The CB Battlefield Legacy: Understanding the Potential Problem of Clustered CB Weapons", Army Chemical Review, pp. 25–29, July–December 2006, accessed November 16, 2008.
  • อ้างอิง:"TX Anticrop Agent & Project 112". Retrieved July 19, 2012.
  • อ้างอิง:"Medical Aspects of Chemical and Biological Warfare, Chapter 34 TRICHOTHECENE MYCOTOXINS p.659"(PDF). Retrieved 26 June 2012.
  • อ้างอิง:Julian Ryall (June 10, 2010). "Did the US wage germ warfare in Korea?". The Telegraph.
  • อ้างอิง:Regis, Ed (June 27, 1999), "Wartime Lies? Two historians contend that the United States engaged in germ warfare nearly 50 years ago", The New York Times^ "The United States and Biological Warfare: Secrets from the Early Cold War and Korea (first chapter on line)", The New York Times, retrieved 2010-04-26
  • อ้างอิง:Typhoid- Biological Weapons
  • อ้างอิง:NTI: Country Overviews: Biological Chronology
  • อ้างอิง: Alibek, K. and S. Handelman. Biohazard: The Chilling True Story of the Largest Covert Biological Weapons Program in the World– Told from Inside by the Man Who Ran it. Delta (2000) ISBN 0-385-33496-6
  • อ้างอิง: Leitenberg, M (2001). "Biological Weapons in the Twentieth Century: A Review and Analysis". Critical Reviews In Microbiology27 (4): 267–320.doi:10.1080/20014091096774.
  • อ้างอิง: Legvold, R (2012). "The Soviet Biological Weapons Program: A History". Foreign Affairs91 (6): 184–185.
  • อ้างอิง:Southern African News Feature:the plague wars
  • อ้างอิง:Working Group on Civilian Biodefense (February 28, 2001), "Consensus Statement: Botulinum Toxin as a Biological Weapon, Medical and Public Health Management",Journal of the American Medical Association285 (8): 1059–70,doi:10.1001/jama.285.8.1059,PMID 11209178
  • อ้างอิง: Rheinhart, Courtney Elizabeth,Clostridium botulinum toxin development in refrigerated reduced oxygen packaged Atlantic croaker (Micropogonias undulatus)
  • อ้างอิง: "Proliferation of Weapons of Mass Destruction: Assessing the Risks" (PDF). U.S. Congress, Office of Technology Assessment. August 1993. pp. 63–65. OTA-ISC-559. Retrieved 9 December 2008.
  • อ้างอิง:Adherence To and Compliance With Arms Control, Nonproliferation and Disarmament Agreements and Commitments, Washington, DC: US Department of State; 2005. Accessed November 18, 2008.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น