วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตอนที่ 5. ปฐมบทของจุดเริ่มต้นทำสงครามกับการก่อการร้าย



การทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้าย ตบตาชาวโลก ของสหรัฐ และพันธมิตร

ตอนที่ 5. ปฐมบท ของจุดเริ่มต้นทำสงครามกับการก่อการร้าย แย่งชิงทรัพยากร สู้เป้าหมายตะวันออกกลาง
  • จากเหตุกาณ์ 9/11 กันยายน 2001 นั่นคือจุดเริ่มของเป้าหมายในการเข้าไปทำสงครามแย่งชิงทรัพยากรในตะวันออกกลาง ที่มุ่งเป้าไปที่อัฟกันนิสถาน ด้วยข้อกล่าวอ้างการปราบปรามการก่อการร้าย ที่สุดท้ายความวุ่นวายขยายผล ไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง เหตุการณ์ 9/11 กันยายน 2001 ที่มีลับลมคมใน และอเมริกานำมาเป็นข้ออ้าง ประกาศสงครามกับการก่อการร้าย ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ถล่มได้อย่างไร?
  • เหตุการครั้งดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ก่อการร้ายชาวอาหรับจำนวน 19 คนเข้ายึดเครื่องบินพาณิชย์ 4 ลำในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนเครื่องบินพาณิชย์ ให้เป็นอาวุธใช้ถล่มสถานที่สำคัญๆต่างๆ ผู้ก่อการร้ายได้เข้ายึดเครื่องบินพาณิชย์จำนวน 4 ลำซึ่งเป็นเครื่องบินพาณิชย์จากสายการบิน อเมริกัน แอร์ไลน์ และ สายการบิน ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ อย่างละสองลำ ดังนี้
    • 1.เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง รุ่น 767-200ER เที่ยวบินที่ 11 จากสายการบิน อเมริกัน แอร์ไลน์
    • 2.เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง รุ่น 757-200 เที่ยวบินที่ 77 จากสายการบิน อเมริกัน แอร์ไลน์
    • 3.เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง รุ่น 767-200ER เที่ยวบินที่ 175 จากสายการบิน ยูไนเต็ด แอร์ไลน์
    • 4.เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง รุ่น 757-200 เที่ยวบินที่ 93 จากสายการบิน ยูไนเต็ด แอร์ไลน์
  • เหตุการณ์ในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตราว 3,000 คน ซึ่งเป็นผู้โดยสารบนเครื่องบินและสลัดอากาศรวมแล้ว 246 ชีวิตมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ตึกถล่ม อีก 2,602 คนรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นนักผจญเพลิงและเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 393 คน มีผู้สูญหาย 24 คน เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความเครียดแค้นชิงชังต่อกลุ่มผู้ก่อการร้ายอย่างมาก รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศจะทำการตอบโต้อย่างรุนแรง โดยได้มีการระดมกำลังจากเจ้าหนาที่สำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) ทางรัฐบาลสหรัฐเชื่อว่าผู้ที่ชักใยอยู่เบื้องหลังคือ โอซามา บินลาเดน(Osama bin Laden) หัวหน้าขบวนการอัลเคดา (AI Qaida) ในประเทศอัฟกานิสถาน จนเกิดการกรีฑาทัพครั้งใหญ่ในการล่าตัวคนที่ฝ่ายอเมริกาเชื่อว่าเป็นหัวหน้าโจรในครั้งนี้ สหรัฐได้ทุ่มเทสรรพกำลังและอาวุธยุโธปกรณ์มากมาย จนทำให้เกิดสงครามในอัฟกานิสถานและลุกลาม มาถึงอิรัก
  • เหตุการณ์ความสูญเสียครั้งดังกล่าว ทำให้หลายประเทศในตะวันออกกลาง ต้องประสบกับสภาวะของสงครามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • เมื่อผู้คนเห็นเครื่องบินสองลำชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในนิวยอร์ค และตึกแฝดได้ถล่มลงมา ในเหตุการณ์ 11 กันยายน ทำให้ทุกคนตกตะลึงกับเหตุการณ์จนไม่ได้พิจารณาอย่างละเอียด ต่อมาผู้คนจึงเริ่มเกิดความสงสัยว่า เครื่องบินที่ทำจากโลหะอลูมิเนียม ที่มีตัวถังโลหะบางกว่า และกลวงนั้น สามารถเจาะทะลุตึกที่มีโครงสร้างเหล็กกล้า ได้อย่างไร โครงสร้างของอาคาร ที่หุ้มด้วยเสาเหล็กที่มีความหนา 2.5 นิ้ว ที่มีระยะห่างระหว่างเสาแค่ 1 เมตร กับเครื่องบินโครงสร้างอลูมิเนียม ที่บางกว่าและกลวง เปรียบเหมือนคุณเอากระป๋องน้ำอัดลม ปาใส่รถไฟ ไม่มีทางที่จะทะลุเข้าไปด้านในตัวรถ และเชื้อเพลิงเครื่องบินนั้นสามารถ “ละลาย” โครงสร้างเหล็กกล้า ได้จริงหรือ?
  • ไม่นานนักความสงสัยนั้นก็หายไป การถล่มของตึกแฝดไม่เกี่ยวข้องกับเครื่องบินหรือการที่เครื่องบินเกิดไฟลุกไหม้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความคิดของชาวอเมริกันหลายล้านคน ที่ไม่พอใจกับผลสรุป เกี่ยวกับการถล่มของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เมื่อความตกตะลึงจากเหตุการณ์ 11 กันยายน จางหายไป ผู้คนมากมายเริ่มมองเห็นความขัดแย้งหลายอย่างในผลสรุปอย่างเป็นทางการ ของรัฐบาล
  • ประการแรก สิ่งที่น่าสนใจคือลำดับที่ตึกแฝดถล่มนั้น ไม่สอดคล้องกับลำดับที่ตึกถูกเครื่องบินชน ตึกทิศใต้ซึ่งถูกชนทีหลังกลับถล่มก่อน และตึกทิศเหนือที่ถูกชนก่อนกลับถล่มทีหลัง ซึ่งหมายความว่า “ไฟ” ใช้เวลาเผาไหม้เพียง 1 ชั่วโมง 42 นาที “ในการทำลายโครงสร้างอาคารใหญ่ จนถล่ม ตึกแรก" และเพียงแค่ 56 นาที “เพื่อถล่มตึกที่สอง" 
  • โดยที่ไฟในทั้งสองตึกเกิดจากน้ำมันในปริมาณใกล้เคียงกันและเป็นตึกแฝด (โดยมีความแข็งแรงเหมือนกันทุกอย่าง) ซึ่งเป็นสิ่งชี้ชัดอย่างแรกว่า การถล่มนั้นไม่เกี่ยวกับไฟไหม้ 
  • ประการต่อมาคือนักวิจัย 11 กันยายน เริ่มตระหนักว่า ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 7 (ตึกสูงระฟ้า 47 ชั้นโครงเหล็กสมัยใหม่ที่แข็งแรงมาก) ได้ถล่มลงในลักษณะเดียวกันเมื่อช่วงบ่ายวันเดียวกัน โดยไม่ถูกเครื่องบินชน หากการถล่มของตึกแฝดจะกล่าวโทษน้ำมันที่อยู่ใน “เครื่องบิน” การถล่มของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 7 ก็ไม่สามารถอธิบายได้ ซึ่งในรายงานอย่างเป็นทางการของคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับเหตุการณ์ 11 กันยายน นั้นไม่กล่าวถึงการถล่มของตึก 7 แม้แต่น้อย เสมือนหนึ่งว่าการถล่มของตึกสูงระฟ้าที่ทันสมัย 47 ชั้นนั้นไม่ควรค่าแก่การกล่าวถึง เมื่อเปรียบเทียบทั้งสามเหตุการณ์ และ สิ่งผิดปกติหลายอย่างในการที่ตึกถล่ม ทำให้นักวิจัยเหตุการณ์ 11 กันยายน เล็งเห็นว่าถูกทางการหลอก และการถล่มของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์นั้นไม่เกี่ยวกับน้ำมันหรือ “เครื่องบิน” เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องบิน การถล่มของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 7 ในช่วงบ่ายวันที่ 11 กันยายน 2001 ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเครื่องบินของผู้ก่อการร้ายนั้นเกินความจำเป็น และตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ก็จะต้องถล่มไม่ว่าจะมี “เครื่องบิน” หรือไม่ก็ตาม มีใครบางคนต้องการให้ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ถล่มจึงทำให้เกิดการถล่ม จากประเด็นนี้จึงเริ่มมี “การตามล่าหาความจริง 11 กันยายน”
  • จากนั้นผู้คนเริ่มกล่าวหารัฐบาลสหรัฐฯ ว่าจงใจทำลายตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “การระเบิดภายใต้การควบคุม” มีผู้คนในสหรัฐจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ กล่าวหารัฐบาลของตนว่า เป็นผู้ร้ายอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน และสุดท้ายพลเมืองสหรัฐฯมากกว่า 65% ก็ไม่เชื่อคำอธิบายจากทางการเรื่องเหตุการณ์โจมตี 11 กันยายน และการถล่มตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ อันที่จริงทุกคนที่ดูข่าว 11 กันยายน ด้วยความสนใจอาจจำภาพเหตุการณ์ที่กล่าวถึง “ระเบิดครั้งที่สาม” ได้
  • คนส่วนใหญ่ซึ่งไม่เห็นด้วยกับทฤษฎี “น้ำมันเชื้อเพลิง” ได้กล่าวหารัฐบาลสหรัฐฯ ว่าจงใจทำลายตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ แต่อย่างไรก็ดี คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการรื้อถอนและการก่อสร้างตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ดีนัก
  • ก่อนอื่นต้องกล่าวย้อนไปว่าจุดที่เคยเป็นที่ตั้งของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์คนั้นเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Ground Zero”
  • วีรบุรุษท่านหนึ่งในเหตุการณ์ 11 กันยายน เจ้าหน้าที่สืบสวนชื่อ จอห์น วัลคอตต์ ผู้ปรากฏตัวใน “Ground Zero” ซึ่งทุ่มเทเวลาไปอย่างมาก เพื่อทำความสะอาดเศษอิฐปูนในพื้นที่ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 
  • จอห์นใช้เวลาอยู่ในพื้นที่จนเป็นโรคแปลก คือมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันในระยะสุดท้าย คำกล่าวเพียงสองวรรคนี้มาจากบทความที่น่ากลัวชื่อ “ความตายจากฝุ่น” ซึ่งเปิดเผยเรื่องราวแปลก ๆ ที่ “ไม่สามารถอธิบายได้” ซึ่งผู้อ่านจำเป็นต้องมีข้อมูลพื้นฐานเพื่อทำความเข้าใจประเด็นหลักในบทความนี้ทั้งเรื่องฝุ่นและกัมมันตภาพรังสี
  • เนื่องจาก วัลคอตต์ นั้นเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนและใช้เวลากว่าห้าเดือนในการทำงานไม่เพียงแค่ที่ Ground Zero แต่รวมทั้งที่พื้นที่ทิ้งขยะเฟรชคิลส์ ด้วย วัลคอตต์ สำลักหายใจไม่ออกในสภาพอากาศของพื้นที่โลเวอร์ แมนฮัตตัน. วัลคอตต์ หวาดกลัวพื้นที่ทิ้งขยะสเตเท็น ไอส์แลนด์ วัลคอตต์ เห็นทุกอย่างในตึกที่ถล่ม ไม่ว่าโต๊ะ ไฟ คอมพิวเตอร์ แต่นอกจากคานเหล็กแล้ว เศษอิฐหินที่วัลคอตต์คัดแยกนั้นมีแต่ผงฝุ่นละเอียด ไม่มีชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ ไม่มีชิ้นส่วนอุปกรณ์หลอดไฟ ไม่มีแม้กระทั่งเมาส์คอมพิวเตอร์
  • บางครั้งกลุ่มเจ้าหน้าที่สืบสวนต้องพักในเพิงไม้ ที่สร้างขึ้นชั่วคราวเพื่อที่จะหนีจากสิ่งที่ วัลคอตต์ เรียกว่า “อากาศพิษที่หลอน” 
  • วันหนึ่งวัลคอตต์ กำลังนั่งกินขนม และดื่มน้ำอัดลมอยู่ในเพิงไม้กับเพื่อนร่วมงาน เมื่อเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับ เอฟบีไอ เข้ามา โดยที่สวมชุดป้องกันสารเคมีอย่างเต็มรูปแบบ และ มีหน้ากากคลุมทั้งศีรษะ ที่ปิดให้แน่นหนาด้วยเทปกาวเพื่อป้องกันฝุ่นควัน 
  • ทั้งๆที่วัลคอตต์อยู่ในพื้นที่ แต่ก็ดูขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับ เอฟบีไอ ที่สวมใส่ชุดป้องกันเป็นอย่างดีกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจนิวยอร์คที่ใส่หน้ากาก ป้องกันสารพิษ 
  • ทำให้เกิดความคิดแว่บหนึ่งขึ้นมาว่า มีอะไรแปลก ๆ เจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับ เอฟบีไอ ซึ่งไม่อายที่ต้องสวมใส่ชุดป้องกันสารเคมีอย่างเต็มรูปแบบ 
  • พร้อมทั้งปิดด้วยเทปกาวอย่างแน่นหนา ต่อหน้า “บุคคลธรรมดา” ที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันใด ๆ นั้นรู้ข้อมูลความจริง ซึ่งทำให้ตอนนี้เจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับนั้น ไม่ต้องเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือโรคมะเร็ง อื่นใดในระยะสุดท้าย เจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับจะมีชีวิตอยู่ได้นานต่อไปแม้ว่าจะเข้าไปในพื้นที่ “Ground Zero” ในช่วงสั้น ๆ
  • ในที่สุด นายจอห์น วัลคอตต์ ก็สามารถรอดชีวิตมาได้ ต่างจากเพื่อนร่วมงานของเขาหลายคนที่เคยทำงานที่ “Ground Zero” ที่โชคดีน้อยกว่า ในวันที่ 17 ธันวาคม 2007 มีการกล่าวถึงอย่างสั้นๆในข่าวทางอินเตอร์เน็ตบางชิ้น ว่า จอห์น วัลคอตต์ ได้รับการผ่าตัดที่แปลกที่สุด (และเจ็บปวดมากที่สุด) คือ การปลูกถ่ายไขกระดูก 
  • จากนั้นเป็นต้นมาเขาก็สามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อีก (โดยยากดระบบภูมิต้านทานโรค ซึ่งป้องกันการต่อต้านการปลูกถ่าย และเขาไม่มีโอกาสออกจากบ้าน เนื่องจากว่าระบบภูมิคุ้มกันของเขาไม่มีแล้วและการติดเชื้อใดๆ ก็ตาม แม้เพียงนิดเดียวสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้โดยง่าย)
  • อธิบายสำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบว่า “การปลูกถ่ายไขกระดูก” คืออะไร การปลูกถ่ายไขกระดูกนั้นจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับกัมมันตภาพรังสีในปริมาณมากไม่ว่าจะเป็นแบบที่ทะลุทะลวงโดยตรงหรือจากที่ตกค้างอยู่รอบตัว(หรือทั้งสองอย่าง) และผู้ที่มีไขกระดูก(ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตเม็ดเลือดขึ้นใหม่) ซึ่งถูกทำลายจากรังสีเหล่านั้น คุณสมบัติที่น่ากลัวของกัมมันตภาพรังสี คือ มันสามารถทำลายเซลล์ไขกระดูกได้รุนแรงที่สุดเมื่อเทียบกับเซลล์อื่นๆของร่างกายมนุษย์ นี่คือเหตุผลว่าทำไมเหยื่อส่วนใหญ่ของกัมมันตภาพรังสีจะป่วยเป็นโรงมะเร็งเม็ดเลือดขาว ยิ่งรังสีเข้มข้นเท่าไหร่ ปริมาณไขกระดูกที่ถูกทำลายก็จะมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นรังสีเข้มข้นกว่าก็หมายถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เห็นได้ชัดว่าจอห์น วัลคอตต์ต้องทนทุกข์กับมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดที่รุนแรงที่สุด เนื่องจากก่อนเข้ารับการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกเขามีชีวิตอยู่ได้ด้วยการรับเลือดของผู้บริจาค เพราะว่าเม็ดเลือดของเขาไม่มีการผลิตขึ้นมาอีกแล้ว
  • นอกจากการทำลายไขกระดูกอย่างรุนแรงแล้ว กัมมันตภาพรังสียังเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งหลายชนิด ซึ่งมีผลต่อร่างกายมนุษย์หรือแม้กระทั่งบางส่วนในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณี ที่มีผู้ได้รับละอองของรังสีเข้าไปจากการหายใจ หรือการรับประทาน อย่างไรก็ตามเป็นการง่ายมาก ที่แพทย์และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ไม่ซื่อสัตย์จะให้ “คำอธิบาย” ที่เสมือนจริงเกี่ยวกับโรคมะเร็งเหล่านี้ พวกเขาสามารถอ้างได้ว่ามันเกิดจาก ”แร่ใยหิน” “ควันพิษ” “ฝุ่นละอองพิษ” และอื่นๆ แต่เมื่อมาถึงเรื่องการทำลายไขสันหลัง ผู้หลอกลวงเหล่านี้ก็ถูกจับได้ การทำลายไขกระดูกสามารถเกิดขึ้นได้จากกัมมันตภาพรังสีเท่านั้น
  • ดังนั้นจึงเข้าใจได้ชัดเจนว่าทำไม เจ้าหน้าที่เอฟบีไอ เหล่านั้นถึงใส่ชุดป้องกันสารเคมีพร้อมด้วยหน้ากากที่ปิดด้วยเทปกาว “เพื่อที่จะป้องกันควันพิษ” ขณะที่ไปยัง “Ground Zero” พวกเขาไม่อยากป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือแม้กระทั่งมะเร็งอื่นๆ ดังนั้นเมื่อพวกเขาปกปิดหน้ากากเพิ่มด้วยเทปกาว พวกเขาไม่ได้ต้องการที่จะป้องกันควันพิษ เหมือนอย่างที่จอห์น วัลคอตต์ เชื่อ แต่เพื่อป้องกันจากละอองกัมมันตภาพรังสี ในอากาศและโดยเฉพาะอย่างยิ่งไอรังสี ซึ่งพวกเขาไม่อยากจะสูดดมหรือรับประทานเข้าไป
  • การทำลายเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ด้วยนิวเคลียร์
  • ผู้เขียนบทความนี้ Dimitri A. Khalezov
  • (ดีมิทรี เอ. คาเลซอฟ) เคยเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรในหน่วยกองทัพบกโซเวียตที่ 46179 หรือที่รู้จักกันในนามหน่วยควบคุมพิเศษในกรมหลักที่ 12 ของกระทรวงกลาโหมแห่งสหภาพโซเวียต กรมหลักที่ 12 คือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัย ควบคุมการผลิต การซ่อมบำรุงทางเทคนิคและอื่นๆของคลังสรรพาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดของรัฐในสหภาพโซเวียต ในขณะที่หน่วยควบคุมพิเศษทำหน้าที่ตรวจสอบการระเบิดของนิวเคลียร์และยังรับผิดชอบในการดูแลการปฎิบัติตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบนิวเคลียร์ มันเป็นสิ่งสำคัญมากเนื่องจากการมีอยู่ของ “สนธิสัญญาว่าด้วยการระเบิดนิวเคลียร์เพื่อสันติ ปี 1976” ระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ภายใต้สนธิสัญญานี้ ทุกฝ่ายจำเป็นต้องแจ้งให้อีกฝ่ายทราบเกี่ยวกับการระเบิดของนิวเคลียร์ทั้งหมดที่มีจุดประสงค์ไม่เกี่ยวกับการทหาร
  • ระหว่างการเข้ารับราชการทหารของผมในหน่วยงานดังกล่าวช่วงปลายทศวรรษที่ 80 ทำให้ผมได้รู้ว่ามี “โครงการรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์แบบฉุกเฉิน” ขึ้นภายในตึกแฝดของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์ค โครงการรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์นี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ความร้อนขนาดใหญ่ (แรงระเบิดใกล้เคียงกับการใช้ระเบิด TNT 150 กิโลตัน) ซึ่งติดตั้งอยู่ลึกลงไปราว 50 เมตรใต้ฐานรากใต้ดินส่วนที่ต่ำที่สุดของแต่ละตึก ในขณะนั้นมันแปลกมากสำหรับผมและพูดกันตามตรงมันเป็นการยากที่จะเชื่อว่าหน่วยงานของสหรัฐฯจะบ้าเลือดถึงขนาดรื้อถอนตึกใจกลางเมืองที่เต็มไปด้วยผู้คนด้วยการระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน อย่างไรก็ตามถ้าผมเข้าใจถูกต้อง ไม่มีใครวางแผนที่จะรื้อเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในความเป็นจริงด้วยวิธีนี้ เป็นวิธีการง่ายที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาการเมือง แผนการรื้อทำลายด้วยนิวเคลียร์อันน่าสะพรึงกลัวจำเป็นที่จะต้องมีขึ้นที่ตึกแฝด ไม่ใช่เพื่อที่จะรื้อตึกจริงๆ แต่เพื่อที่จะได้รับความยินยอมในการสร้างพวกมันอย่างเต็มที่ ปัญหาอยู่ที่ว่าประมวลข้อบังคับอาคารของเมืองนิวยอร์ค(หรือของเมืองชิคาโก้ก็ดี)ไม่อนุญาตให้กรมโยธาธิการออกใบอนุญาตในการสร้างตึกระฟ้า ยกเว้นผู้ก่อสร้างตึกนั้นๆใช้วิธีการรื้อถอนตึกที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นในอนาคตหรือในกรณีฉุกเฉิน ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 60 (เมื่อตึกแฝดได้รับการเสนอเป็นครั้งแรก) ตึกโครงเหล็กประเภทนี้กลายเป็นแนวคิดใหม่ ไม่มีใครรู้วิธีการในการรื้อถอนตึกแบบนี้ เนื่องจากวิธีการรื้อถอนที่ควบคุมได้แบบดั้งเดิมใช้ได้แต่กับตึกแบบเก่า ฉะนั้นจำเป็นต้องมีการคิดค้นวิธีใหม่ขึ้นสำหรับตึกแฝดเหล็กกล้าที่แข็งแรงเหล่านี้ ซึ่งจะชักจูงให้กรมโยธาธิการออกใบอนุญาตในการก่อสร้าง และก็มีการค้นพบวิธีดังกล่าวในที่สุด คือ การรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์
  • ประวัติย่อของแนวคิดการรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์และปรมาณู
  • ความคิดเบื้องต้นที่จะใช้อุปกรณ์นิวเคลียร์ในการรื้อถอนตึกทั้งหลายเกิดขึ้นแทบจะช่วงเวลาเดียวกับการเกิดขึ้นของอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงต้นทศวรรษ 50 ในตอนแรกอาวุธนิวเคลียร์ไม่ได้เรียกว่า “นิวเคลียร์” แต่เรียกว่า “ปรมาณู” ดังนั้นแนวคิดของการรื้อถอนโดยใช้ยุทโธปกรณ์เหล่านี้จึงถูกเรียกว่า “การรื้อถอนโดยปรมาณู” คำเหล่านี้อยู่รอดมาได้และแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อเดิมของอาวุธปรมาณูไปเป็น “อาวุธนิวเคลียร์” แต่คำว่า “การรื้อถอนด้วยปรมาณู” ก็ยังคงพบเห็นได้ในปัจจุบันในชื่อของเครื่องมือพิเศษทางวิศวกรรม SADM และ MADM คำแรกนั้นย่อมาจาก “Special Atomic Demolition Munitions” (วัตถุระเบิดปรมาณูทำลายล้างแบบพิเศษเพื่อการรื้อถอน) ส่วนอันที่สองย่อมาจาก “Medium Atomic Demolition Munitions” (วัตถุระเบิดปรมาณูขนาดกลางเพื่อการรื้อถอน) ในขณะที่หลายคนเชื่อแบบผิดๆว่า SADM นั้นย่อมาจาก “Small Atomic Demolition Munitions” (วัตถุระเบิดปรมาณูขนาดเล็กเพื่อการรื้อถอน) มากกว่าจะเป็น “Special”
  • ในความเป็นจริงแล้วไม่เป็นการผิดแต่อย่างใดที่จะเรียกว่า “ขนาดเล็ก” แทนที่ “ขนาดพิเศษ” เนื่องจาก SADM นั้นที่จริงแล้วมีขนาดเล็ก แรงระเบิดของนิวเคลียร์มักจะไม่เกิน 1 กิโลตันเมื่อเทียบกับ TNT สังเกตว่า SADM สมัยใหม่ทั้งหมดนั้นมีแรงระเบิดหลายขนาดซึ่งสามารถติดตั้งได้ต่ำเท่ากับ 0.1 กิโลตัน และบางครั้งอาจจะได้ที่ 0.01 กิโลตัน (เทียบเท่ากับ 100 และ 10 เมตริกตันของ TNT ตามลำดับ) พวกมันจะเหมาะที่จะเรียกว่า อาวุธ “ขนาดเล็ก” ชื่ออื่นๆที่เป็นที่นิยมสำหรับอาวุธนี้ได้แก่ “มินินุ๊ก” และ “นุ๊กกระเป๋าเอกสาร” แม้ว่าชื่อที่สองจะไม่ค่อยถูกต้องเท่าไหร่นัก ในความเป็นจริง SADM ส่วนใหญ่หมายถึงหม้อขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักระหว่าง 50 ถึง 70 กิโลกรัม ซึ่งสามารถสะพายขึ้นหลังได้ ดังนั้นมันอาจจะเป็นไปไม่ได้ที่ว่ามันสามารถบรรจุลงในกระเป๋าเอกสารได้ อย่างไรก็ตามยังมี “มินินุ๊ก”แบบใหม่ๆที่ประกอบด้วยพลูโตเนียม-239 แทนที่ยูเรเนียม-235 และเนื่องจากค่ามวลวิกฤตของพลูโตเนียม ยิ่งน้อยลงเท่าไหร่ ขนาดของมันก็ลดตามไปด้วย “มินินุ๊ก”ล่าสุดบางลูกที่ประกอบด้วยพลูโตเนียมอาจจะพอดีกับกระเป๋านักการทูต วัตถุระเบิดปรมาณูขนาดกลางเพื่อการรื้อถอน (MADM) มีขนาดใหญ่กว่าทั้งขนาดและแรงระเบิดเมื่อเทียบกับ TNT มันสามารถมีอำนาจการทำลายเทียบเท่ากับน้ำหนักระเบิด TNT 15 กิโลตัน หนักมากถึง 200 กิโลกรัมและอาจจะมีขนาดใหญ่เท่ากับถังแก๊สหุงต้มสำหรับใช้ตามบ้าน
  • อาวุธทำลายล้างปรมาณู ทั้งสองแบบที่กล่าวมาสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการทำลายวัตถุขนาดใหญ่ซึ่งไม่สามารถทำลายได้โดยระเบิดแบบดั้งเดิมจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาฉุกเฉิน เมื่อไม่มีทั้งเวลาและความเป็นไปได้ที่จะเตรียมการทำลาย “แบบปรกติ” โดยวิธีการดั้งเดิม ยกตัวอย่างเช่น อาจจะเป็นสะพาน เขื่อน อุโมงค์ โครงสร้างใต้ดินเสริมเหล็ก ตึกเสริมเหล็กขนาดใหญ่และอื่นๆ อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพสำหรับการรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์โดยใช้ SADM หรือ MADM แบบนี้ไม่สูงนัก เป็นที่ทราบกันว่าเป้าหมายหลักของการรื้อถอนตึกแบบควบคุมได้โดยวิธีการระเบิดจากภายในไม่ใช่เพื่อการทำลายตึกเหล่านี้จริงๆโดยการระเบิดและปล่อยชิ้นส่วนต่างๆฟุ้งกระจายไปทั่ว แต่เพื่อที่จะเอามันลงมาอย่างเรียบร้อยด้วยการทำลายบริเวณรอบข้างให้น้อยที่สุด
  • ด้วยเหตุผลนี้วิศวกรผู้ที่เตรียมการรื้อถอนแบบควบคุมได้ก่อนอื่นต้องคำนวนจุดที่แน่นอนบนโครงสร้างตึกและติดตั้งวัตถุระเบิดแบบดั้งเดิมไปยังจุดที่ถูกต้อง เพื่อที่จะทำลายโครงสร้างเหล่านั้น
  • ในกรณีส่วนมากจะมีมากกว่าหนึ่งจุดที่จะต้องติดตั้งระเบิด เพราะเป็นไปไม่ได้ว่าโครงสร้างแบบนี้จะมีเพียงคานหรือเสารองรับอันเดียวที่จะต้องถูกทำลาย ในกรณีที่ดีที่สุดอาจจะมีหลายอัน แต่ก็ไม่มาก ในกรณีมีการรื้อถอนด้วยปรมาณูโดยใช้วิธีที่กล่าวถึงด้านบนไม่ได้อยู่ในกรณีนี้
  • คนที่วางแผนที่จะใช้อาวุธปรมาณูในกรณีฉุกเฉินอาจจะไม่มีทั้งเวลาและความรู้เพียงพอที่จะทำการคำนวนที่ถูกต้องแม่นยำเช่นในกรณีของการรื้อถอนที่ควบคุมได้แบบดั้งเดิม สิ่งที่ผู้คนเหล่านี้ควรจะมีมากที่สุด คือ ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเบื้องต้นและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ด้วยเหตุนี้วิธีการใช้อาวุธปรมาณูในกรณีนี้ไม่ใช่เพื่อที่จะทลายโครงสร้างเป้าหมาย ”อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย” แต่เพื่อที่จะทำลายมันลงอย่างไม่จำกัดวิธีการและงบประมาณ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมแรงระเบิดของอาวุธปรมาณูที่ใช้ในการรื้อถอนโครงสร้างแบบนี้ในกรณีฉุกเฉินไม่ว่าจะอย่างไรก็รุนแรงมากเกินไป เนื่องด้วยส่วนใหญ่ของแรงระเบิดทั้งหมดถูกใช้ไปอย่างไร้ประโยชน์ เหมือนกับกรณีที่ใช้การระเบิดนิวเคลียร์แบบอื่น ดังนั้นส่วนใหญ่ของพลังงานซึ่งปล่อยออกมาโดยการระเบิดนิวเคลียร์ของอุปกรณ์ปรมาณูสำหรับการรื้อถอนจะถูกใช้ไปสำหรับการสร้างปัจจัยที่รู้จักกันดีของการระเบิดปรมาณู เช่น รังสีความร้อน พลังงานจากคลื่นระเบิด กัมมันตภาพรังสี รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับภารกิจรื้อถอนและอาจจะไม่ได้เป็นสาเหตุของภารกิจนี้ อย่างไรก็ตามปัจจัยการทำลายทั้งหมดของการระเบิดปรมาณูเป็นสาเหตุสำคัญในการทำลายสิ่งแวดล้อม และการทำลายนี้ค่อนข้างรุนแรง และแน่นอนใช้งบประมาณสูงเกินในการรื้อถอน
  • อาจกล่าวได้ว่าการรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์ในความหมายที่กล่าวถึงด้านบนนั้นอาจจะมีดัชนีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่านี้มากเมื่อเทียบกับการรื้อถอนแบบเดิมที่ควบคุมได้ซึ่งได้รับคำนวนมาแล้วอย่างเที่ยงตรง เนื่องจากอันหลังนั้นมุ่งไปที่พลังงานเกือบทั้งหมดของระเบิดที่ใช้ในการทำลายโครงสร้าง มากกว่าที่จะสร้าง พลังงานจากคลื่นระเบิด หรือรังสีความร้อน นอกเหนือจากนี้ตัวอุปกรณ์ปรมาณูสำหรับรื้อถอนเองมีราคาค่อนข้างแพง ในขั้นต่ำ “มินินุ๊ก” ที่ใช้ยูเรเนียมมีราคาสองล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ถ้าไม่มากกว่านั้น(อันที่ใช้พลูโตเนียมมีราคาสูงกว่านั้น) จะเห็นได้ว่าระเบิด TNT หนึ่งพันตันจะมีราคาถูกกว่าอาวุธปรมาณูหนึ่งกิโลตัน อย่างไรก็ตามมีโอกาสเป็นไปได้ที่จะรื้อถอนตึกเพียงไม่กี่หลังโดยใช้ระเบิด TNT 1,000 ตัน ในขณะที่อาจจะรื้อถอนตึกเพียงหลังเดียว (แต่ต้องการจะทำลายตึกอื่นๆรอบข้างด้วย)โดยใช้ “mini-nuke” เมื่อพิจารณาสิ่งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด อาจสรุปได้ว่านี่ไม่ใช่ทางเลือก ที่จะใช้อาวุธปรมาณูใดๆสำหรับการรื้อทำลายไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือกลาง เพื่อรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของพลเรือนในช่วงเวลาแห่งสันติภาพเมื่อไม่มีเวลาเพียงพอที่จะเตรียมการรื้อถอนวัตถุใดๆอย่างถูกต้องด้วยวิธีการดั้งเดิม และในกรณีใดๆการรื้อถอนที่ควบคุมได้แบบดั้งเดิมจะมีราคาถูกกว่าการใช้นิวเคลียร์ Mini-nuke ใช้ได้เพียงแค่สำหรับงานรื้อถอนในกรณีฉุกเฉินจริงๆ
  • แล้วทำไมแนวคิดการรื้อถอนด้วยปรมาณูแบบดั้งเดิมนี้ ถึงได้รับการฟื้นฟูและการดำเนินการ ในโครงการรื้อถอนเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ด้วยนิวเคลียร์ ทั้งที่ทราบว่ามีราคาสูงและมีดัชนีประสิทธิภาพต่ำเมื่อเทียบกับการรื้อถอนที่ควบคุมได้แบบดั้งเดิมโดยการระเบิดภายใน
  • มันเกิดขึ้นเนื่องจากตึกรุ่นใหม่มีปรากฎขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 คือ ตึกโครงเหล็ก โดยไม่คำนึงถึงแนวคิดแบบผิดๆทั่วไปแล้ว ยังไม่มีตึกระฟ้าโครงเหล็กตึกไหนในโลกถูกรื้อถอนด้วยการระเบิดภายในแบบตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์มาก่อน ในขั้นแรกเนื่องจากตึกระฟ้าส่วนใหญ่เป็นตึกใหม่และยังไม่ถึงเวลาที่จะถูกรื้อถอน ตึกที่สูงที่สุดที่ถูกรื้อถอนด้วยการระเบิดภายในมีความสูงเพียง 47 ชั้น คือ ตึกซิงเกอร์ในนครนิวยอร์คซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี 1908 และถูกรื้อถอนในปี 1968 เนื่องจากเลิกใช้ไปแล้ว ตึกนี้มีโครงสร้างที่อ่อนแอกว่ามากเมื่อเทียบกับแบบท่อเหล็กขนาดใหญ่ที่แข็งแรงทนทานของตึกระฟ้าโครงเหล็กที่สร้างขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นโดยไม่สนใจแนวคิดแบบผิดๆทั่วไปแล้วไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะรื้อถอนตึกโครงเหล็กโดยใช้แผนการรื้อถอนที่ควบคุมได้ที่รู้กันจักกันดีอยู่แล้ว ในอดีตเมื่อสมัยตึกยังคงเป็นกำแพงอิฐและแผ่นคอนกรีต โครงสร้างรับแรงยังเป็นเสาและคานรองรับคอนกรีต บางครั้งโครงสร้างรับแรงคอนกรีตเหล่านี้ก็ได้รับการเสริมด้วยการสอดท่อนโลหะลงไป แต่บางครั้งก็เป็นคอนกรีตธรรมดา ในทั้งสองกรณีมีความเป็นไปได้ที่จะคำนวนจำนวนของระเบิดแบบดั้งเดิมที่พอเหมาะเพื่อติดตั้งเข้ากับโครงสร้างหลักในจุดที่เหมาะสม (หรือติดตั้งลงไปในรูที่เจาะลงไปยังโครงสร้างรับแรง) เพื่อที่จะทำลายทั้งหมดลงในคราวเดียวและทำให้ตึกถล่มลงมาตามขอบเขตที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามไม่มีทางที่จะเป็นไปได้กับตึกเสริมเหล็กสมัยใหม่ อย่างเช่น ตึกแฝดเดิมของนิวยอร์คเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ตึก 7 ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ หรือตึกเซียร์ในเมืองชิคาโก้
  • ในที่นี้ไม่มี “โครงสร้างรับแรง” ใดๆในความหมายเดิมของคำ ตึกทั้งหมดเป็น “โครงสร้างรับแรง” อย่างแท้จริง โครงเหล็กของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ประกอบไปด้วยแนวเสาเหล็กสองชั้นซึ่งมีตั้งอยู่ตรงกลางและบริเวณรอบนอกสุด รูปแบบที่เรียกว่า “ปล่อง” เป็นวิธีการก่อสร้างแบบใหม่มากซึ่งปล่อยให้มีพื้นที่เปิดโล่งมากกว่าเสาซึ่งถูกกระจายออกไปทั่วภายในเพื่อที่จะช่วยรองรับน้ำหนักอาคารเหมือนกับที่เคยได้รับการติดตั้งในโครงสร้างแบบเก่า ตึกแฝดประกอบด้วยเสาเหล็กกลวงรับแรง (หน้าตัดสี่เหลี่ยม) ตั้งอยู่ห่างจากกันหนึ่งเมตรบนส่วนนอกของตึกเพื่อขึ้นรูปโครงสร้างแข็งแรงเป็นพิเศษซึ่งช่วยรับแรงจากด้านข้าง (เช่น แรงลม) และแบ่งแรงโน้มถ่วงกับเสาแกนกลาง โครงสร้างรอบนอกประกอบด้วยเสาด้านละ 59 ต้น โครงสร้างแกนของตึกประกอบด้วยเสาเหล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 47 ต้นซึ่งวิ่งยาวจากชั้นหินด้านล่างไปจนถึงยอดตึก ท่านสามารถดูภาพเสาเหล่านั้นได้จากรูปภาพด้านล่าง ที่แสดงให้เห็นเศษซากที่เหลืออยู่ของเสาที่พบในพื้นที่ “ground zero” หลังการถล่มของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่เกิดจากการโจมตีในวันที่ 11 กันยายน
  • เสาเหล็กกล้าเหล่านี้หนามาก ผนังแต่ละอันมีความหนา 2.5 นิ้ว (6.35 เซนติเมตร) ดังนั้นความหนาทั้งหมดรวมเสาจึงเท่ากับ 5 นิ้ว (12.7เซนติเมตร) ตัวอย่างที่ดีสำหรับการนึกภาพตามว่ามันหนาแค่ไหน คือ เกราะด้านหน้าของรถถังที่ดีที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 T-34 ซึ่งมีความหนาเพียง 1.8 นิ้ว (4.5 เซนติเมตร) และเทียบเท่ากับผนังแค่ด้านเดียว รถถัง T-34
  • อย่างไรก็ตามในเวลานั้นไม่มีกระสุนหัวเจาะเกราะซึ่งสามารถเจาะเกราะนี้ได้ แน่นอนว่าไม่มีระเบิดลูกไหนสามารถทำลายเกราะหน้าของรถถังนี้ได้เช่นกัน (ยกเว้นเพียงแต่ hollow-charge shell ซึ่งยังไม่สามารถทำลายเกราะทั้งแผ่นนี้ได้ เพียงแค่ทำให้เกิดรูตื้นๆที่แผ่นเกราะเท่านั้น) สังเกตว่าโครงเหล็กกล้าของตึกแฝดประกอบไปด้วยเสาเหล็กสองชั้นซึ่งหนาเกือบ 2 เท่าของเกราะหน้ารถถัง T-34 จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะพบวิธีการที่จะพังเสาพร้อมกันหลายจุดเพื่อที่จะบรรลุผลของ”การระเบิดเข้าข้างใน” ซึ่งก็คือเป้าหมายเบื้องต้นของการรื้อถอนแบบควบคุมได้ มันอาจจะเป็นไปได้ทางเทคนิคที่จะพังเสาเหล่านี้บางส่วนในบางจุด แต่แม้กระทั้งวิธีการที่เหลือเชื่อก็ไม่สามารถที่ทำให้ "ผลการระเบิดเข้าข้างใน" ที่หวังไว้สำเร็จลุล่วงไปได้ ตึกทั้งสองนั้นทั้งสูงและแข็งแรงเกินไป แกนเหล็กกล้าจะถูกทำลายพร้อมๆกันในหลายจุดทุกชั้น ซึ่งไม่มีใครสามารถทำได้ และถึงแม้จะทำได้ วิธีนี้ก็คงไม่ทำให้ได้ผลตามที่ต้องการ ไม่มีอะไรจะรับรองได้ว่าโครงสร้างสูงตระหง่านนี้จะถล่มลงมาพอดิบพอดีตามแบบที่วางไว้ มันอาจจะกระจายเศษซากตึกไปไกลถึงเศษหนึ่งส่วนสี่ไมล์ก็ได้เมื่อพิจารณาจากแค่ความสูง ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะพังตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ลงมาด้วยวิธีการรื้อถอนควบคุมได้แบบดั้งเดิมใดๆก็ตาม
  • สามารถบอกได้ถึงสิ่งที่เหมือนกันของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 7 และตึกเซียร์ทาวเวอร์ในเมืองชิคาโก้ ทั้งสองแห่งก่อสร้างขึ้นโดยใช้โครงเหล็กกล้าหนาสองชั้นเหมือนกันซึ่งไม่สามารถจะพังได้ในคราวเดียว เนื่องจากเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ดีตามกฎหมายของสหรัฐฯที่ควบคุมเกี่ยวกับการก่อสร้างตึกสูงระฟ้าผู้ออกแบบอาคารต้องเสนอโครงการรื้อถอนที่น่าพอใจบางอย่างก่อนโครงการก่อสร้าง ซึ่งควรได้รับการอนุมัติจากกรมโยธาฯ ไม่มีใครได้รับอนุญาตให้สร้างตึกระฟ้าซึ่งไม่สามารถรื้อถอนได้ในอนาคต นี่คือเหตุผลสำคัญ ซึ่งทำให้ระบบการรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์ติดตั้งอยู่ในตึกระฟ้า นี่อาจจะฟังดูน่าขัน แต่แผนการรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์นี้ ไม่ได้มีไว้สำหรับการรื้อถอนตึกระฟ้าแบบนี้จริงๆ เมื่อสังเกตเป็นพิเศษว่า ไม่มีใครมีประสบการณ์ในทางปฎิบัติเลยในการรื้อถอนตึกระฟ้าด้วยวิธีนี้ มันเป็นเพียงแค่การโน้มน้าวกรมโยธาฯให้อนุญาตการก่อสร้างของตึกระฟ้าแห่งนี้ เห็นได้ชัดว่าผู้ออกแบบและผู้สนับสนุนทั้งหมด ของแผนการรื้อถอนนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะไม่ต้องใช้แนวคิดนี้ในช่วงที่พวกเขายังมีชีวิตอยู่
  • มันทำงานอย่างไร?
  • ขั้นแรกเลยการรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์แบบใหม่นี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการรื้อถอนด้วยปรมาณูแบบดั้งเดิมที่ใช้ SADM และ MADM ดังเช่นที่ได้อธิบายมาข้างต้น มันเป็นแนวคิดใหม่ทั้งหมด ระหว่างขั้นตอนการรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์แบบใหม่ วัตถุระเบิดทำลายไม่ได้ก่อให้เกิดการระเบิดของนิวเคลียร์ในบรรยากาศใดๆ พร้อมด้วยเมฆรูปเห็ดที่รู้จักกันดี รังสีความร้อน พลังงานจากคลื่นระเบิด และรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า มันระเบิดค่อนข้างลึกลงไปใต้ดิน ลึกมากแบบเดียวกับวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ระเบิดในระหว่างการทดสอบนิวเคลียร์ต้นแบบ ดังนั้นมันจะไม่ก่อให้เกิดทั้ง พลังงานจากคลื่นระเบิด รังสีความร้อน กัมมันตภาพรังสีที่ทะลุทะลวง และรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าใดๆ มันจะก่อให้เกิดความเสียหายค่อนข้างเล็กน้อยแก่สภาพแวดล้อมโดยการปนเปื้อนของรังสีต่อไป ซึ่งอย่างไรก็ตามผู้ออกแบบมองว่าเป็นปัจจัยที่ไม่สลักสำคัญอะไร
  • ความแตกต่างพื้นฐานระหว่างการระเบิดนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศและชั้นใต้ดินคืออะไร? ในขั้นแรกของการระเบิดนิวเคลียร์(หรือนิวเคลียร์ความร้อน) พลังงานจากการระเบิดทั้งหมดจะถูกปล่อยออกมาในรูปแบบที่เรียกว่า ”การแผ่รังสีขั้นแรก” ซึ่งส่วนที่สำคัญของมัน (เกือบ 99%) เป็นแถบพลังงานของรังสีเอ็กซ์ (อีกส่วนที่เหลือเป็นแถบพลังงานของรังสีแกมม่าซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บจากรังสี และเป็นแถบพลังงานที่มองเห็นได้ของรังสีซึ่งก่อให้เกิดแสงสว่างวาบที่มองเห็นได้) ดังนั้นพลังงานจากการระเบิดเกือบทั้งหมดซึ่งเป็นรังสีเอ็กซ์จะถูกใช้ไปกับการทำให้อากาศรอบๆร้อนขึ้นเป็นบริเวณหลายสิบเมตรจากจุดศูนย์กลางของการระเบิด มันเกิดขึ้นเนื่องจากรังสีเอ็กซ์ไม่สามารถเดินทางไปได้ไกลนักเนื่องจากเกิดการสูญเสียพลังงานไปในอากาศ การทำให้ร้อนของพื้นที่เล็กๆรอบศูนย์กลางการระเบิดนิวเคลียร์จะส่งผลเกิดการก่อตัวของสิ่งที่เรียกว่า “ลูกไฟนิวเคลียร์” ซึ่งในทางกายภาพไม่ใช่อะไรนอกจากอากาศที่ร้อนมากที่สุด ลูกไฟนิวเคลียร์นี้เป็นสาเหตุของปัจจัยหลักๆเกี่ยวกับการทำลายสองปัจจัยของการระเบิดนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศ คือ รังสีความร้อนและพลังงานจากคลื่นระเบิด เนื่องจากทั้งสองปัจจัยมีผลโดยเฉพาะมาจากอุณหภูมิสูงของอากาศที่อยู่รอบการระเบิด เมื่อมาเป็นการระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ภาพจะแตกต่างไปโดยสิ้นเชิง เนื่องจากรอบ “กล่องเปล่า” จะปราศจากอากาศ พลังงานทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาในช่วงที่เกิดการระเบิดในรูปของรังสีเอกซ์จะสูญเสียไปกับการทำให้หินที่อยู่รอบๆร้อนแทน มันอาจจะมีผลทำให้หินนี้ร้อนเกิน ละลายและระเหิดกลายเป็นไอ การหายไปของหินที่ระเหิดกลายเป็นไอจะมีผลในการเกิดโพรงใต้ดิน ซึ่งขนาดของมันขึ้นอยู่กับแรงระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ที่ใช้โดยตรง
  • ตึกระฟ้าทั้งหมดจะมีฐานรากต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 20-30 เมตรใต้พื้นผิวโลก ดังนั้นเป็นไปได้ที่จะคำนวนตำแหน่งของจุดที่จะวางระเบิดหรือที่เรียกว่า “กล่องเปล่า” (zero-box) เพื่อที่ให้การระเบิดนิวเคลียร์ทำให้เกิดโพรงใต้ดินที่ขอบบนสุดมาไม่ถึงผิวโลก แต่มาถึงเพียงแค่ฐานรากส่วนล่างสุดของตึกที่ต้องการรื้อถอน
  • ตัวอย่างเช่น ในกรณีพิเศษของตึกแฝดของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์ค ฐานรากที่ต่ำที่สุดอยู่ที่ 27 เมตรจากผิวโลก ในขณะที่วัตถุระเบิดนิวเคลียร์ความร้อน 150 ตันได้รับการติดตั้งที่ความลึก 77 เมตร (วัดจากพื้นผิวโลก) หรือ 50 เมตรจากฐานรากใต้ดิน การระเบิดนิวเคลียร์ความร้อนที่ความลึก 77 เมตรนี้จะก่อให้เกิดโพรงความร้อนสูงที่ขอบบนสุดมาแตะถึงฐานรากใต้ดินส่วนที่ต่ำสุดของตึกแฝดที่ต้องการจะทำลาย แต่มันยังคงห่างจากผิวไม่มากเพียง 27 เมตร ดังนั้นโครงสร้างรอบๆจะไม่ได้รับผลกระทบโดยปัจจัยการทำลายใดๆของการะเบิดนิวเคลียร์ใต้ดินนี้ (ยกเว้นการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสีเท่านั้น) ตึกที่จะถูกทำลายจะสูญเสียฐานรากโดยสิ้นเชิง และถูกดูดลงไปยังโพรงร้อนจัดนี้ ซึ่งมีอุณหภูมิที่คาดว่าจะสามารถละลายตึกทั้งหลังได้ แผนการรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ตึก 7 และของตึกเซียร์ทาวเวอร์ในนครชิคาโก้จึงได้รับการคำนวนในแบบเดียวกัน
  • อย่างไรก็ตาม มีอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งควรจะพิจารณาในการคำนวนของโครงการรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์ของตึกระฟ้า นั่นก็คือหินแกรนิตที่ระเหิดกลายเป็นไอภายในโพรง หินแกรนิตเดิมทั้งหมดนั้นที่ตอนนี้อยู่ในสภาวะก๊าซจะถ่ายเทจากโพรงไปที่ไหน? ในความเป็นจริงแล้วภาพของเหตุการณ์ทางฟิสิกส์หลังการระเบิดของนิวเคลียร์ใต้ดินนี้ค่อนข้างน่าสนใจ ลองมาพิจารณาดูกัน
  • 1) การระเบิดของนิวเคลียร์เริ่มทำให้หินรอบๆจุดศูนย์กลางร้อนขึ้น
  • 2) หินเริ่มระเหิดกลายเป็นไอ จากการหายไปของหินที่ระเหิดก่อให้เกิด “โพรงชั้นแรก” ซึ่งเต็มไปด้วยหินเดิมที่อยู่ในรูปก๊าซ แรงดันสูงมากของก๊าซภายในโพรงเริ่มที่จะขยายโพรงชั้นแรกไปยังบริเวณรอบๆที่ยังคงเป็นหินแข็งอยู่
  • 3) โพรงนั้นจะขยายไปจนถึงขนาด “ขั้นที่สอง” เนื่องจากแรงดันสูงมากของก๊าซภายใน ซึ่งได้ขยายโพรงจากขนาดดั้งเดิม (เส้นประ) ไปยังขนาดที่ใหญ่กว่า เพราะว่าการขยายตัวนี้เกิดขึ้นด้วยการทำลายพื้นที่ข้างเคียง พื้นที่ข้างเคียงนี้จะกลายเป็นบีบอัดกันอย่างหนาแน่น
  • 4) “โซนบดอัด” เป็นหินที่แหลกละเอียดทั้งหมด (ถูกบดเป็นฝุ่นขนาดมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า 100 ไมครอน “โซนที่เสียหาย” คือ หินที่ถูกบดละเอียดบางส่วน
  • ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงกระบวนการทางฟิสิกส์ ที่สำคัญทั้งหมดระหว่างการระเบิดของนิวเคลียร์ลึกลงไปใต้ดินตามทฤษฎี ดังนั้นตอนนี้คงเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าแรงดันมหาศาลของหินที่ระเหยกลายเป็นไอภายในโพรงทำให้เกิดสิ่งสำคัญอย่างน้อยสองอย่าง: 1) ขยายโพรงปรกติจากขนาด “เบื้องต้น” ไปยังขนาด “ขั้นที่สอง”; และ 2) เนื่องจากมันทำให้มีการขยายตัวด้วยการสูญไปของพื้นที่ข้างเคียงของหิน มันทำให้เกิดพื้นที่ที่ถูกทำลายสองส่วนรอบตัวเอง แต่ละส่วนมีความเสียหายที่แตกต่างกัน
  • พื้นที่ที่อยู่ติดกับโพรงในศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับนิวเคลียร์เรียกว่า “โซนบดอัด” โซนนี้อาจจะหนาเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของโพรงและเต็มไปด้วยสิ่งแปลกๆมากมาย มันเต็มไปด้วยหินที่แหลกละเอียดหมดแล้ว มันอาจจะถูกบดจนเท่ากับฝุ่นขนาดมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าซึ่งมีขนาดประมาณ 100 ไมครอน ยิ่งไปกว่านั้นสภาพเฉพาะของวัตถุภายใน “โซนบดอัด” นี้อยู่ในสภาพที่แปลกมาก คือ นอกจากภายหลังการทดสอบนิวเคลียร์ใต้ดิน มันจะไม่เกิดขึ้นที่อื่นอีกตามธรรมชาติ
  • ถ้าท่านหยิบหินก้อนหนึ่งขึ้นมาจากพื้นที่นี้ แต่หยิบอย่างนุ่มนวลมาก มันอาจจะยังติดกันและยังคงเป็นหินตามรูปร่างและสีของมัน แต่ถ้าท่านแค่กด “หิน” ก้อนนี้เบาๆด้วยนิ้ว มันจะแตกตัวออกเป็นฝุ่นขนาดเล็กมากที่ประกอบกันอยู่ทันที โซนที่สองติดกับ “โซนบดอัด” เรียกว่า “โซนที่เสียหาย” ในศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับนิวเคลียร์ “โซนที่เสียหาย” นี้เต็มไปด้วยหินซึ่งแตกเป็นชิ้นๆจากเล็กมาก(ขนาดมิลลิเมตร)ไปถึงสะเก็ดขนาดค่อนข้างใหญ่ ยิ่งใกล้กับขอบของ “โซนบดอัด” เท่าไหร่ ตะกอนเหล่านี้ก็จะยิ่งเล็กลงเท่านั้น และยิ่งไกลจากจุดศูนย์กลางการระเบิดเท่าไหร่ เศษเหล่านี้ก็จะใหญ่ขึ้นเท่านั้น ท้ายที่สุดนอกเขตของ “โซนที่เสียหาย” จะไม่เกิดความเสียหายกับหินรอบๆ
  • อย่างไรก็ตามเราได้ทำการพิจารณากระบวนการทางฟิสิกส์ข้างต้นที่เป็นจริงเกี่ยวกับการระเบิดนิวเคลียร์ลึกลงไปใต้ดินตามทฤษฎีแล้ว เมื่อวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ถูกฝังลงไปไม่ลึกมากพอ ภาพจะแตกต่างออกไปเล็กน้อย “โซนที่เสียหาย” และ “โซนบดอัด” จะไม่ได้กลมตามทฤษฎีอย่างในกรณีล่าสุด มันจะออกไปทางรูปไข่ด้วยจุดสิ้นสุดที่ยาวกว่าจะพุ่งขึ้นไปด้านบน เทียบกับไข่ที่ชี้ขึ้นด้านบนด้วยส่วนที่แหลมกว่า หรืออาจจะรีและแหลมขึ้นข้างบนมากกว่าไข่ปรกติ มันเกิดขึ้นเนื่องจากแรงดันของก๊าซที่ระเหยกลายเป็นไอจะพบกับแรงต้านทานที่น้อยที่สุดในทิศทางไปยังพื้นผิวโลก (เนื่องจากใกล้มากเกิน) ดังนั้นทั้ง “โซนบดอัด” หรือ “โซนที่เสียหาย” จะขยายตัวขึ้นไปข้างบนมากกว่าทิศทางอื่น
  • เมื่อแรงดันแผ่ไปยังขอบบนของ “โซนที่เสียหาย” และ “โซนบดอัด” มาพบกับฐานรากใต้ดินของตึกที่จะถูกรื้อถอน ภาพจะยิ่งต่างออกไป เนื่องจากวัสดุที่ใช้สร้างตึกต่างจากชั้นหินแกรนิตรอบข้างในเง่ของแรงต้านทานของวัตถุ ยิ่งไปกว่านั้นมีพื้นที่ว่างมากมายภายในตึก ในขณะที่หินแกรนิตที่เหลือในทิศทางอื่น (ทั้งด้านข้างและด้านล่าง) เป็นของแข็ง ดังนั้นการขยายตัวของขอบบนของ “โซนที่เสียหาย” และ “โซนบดอัด” จะไปได้ไกลที่สุดจากโครงสร้างของตึก ในกรณีของตึกแฝดของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และตึกเซียร์ทาวเวอร์ “โซนที่เสียหาย” จะสามารถสูงขึ้นไปได้ถึง 350-370 เมตร ในขณะที่ “โซนบดอัด” ที่ตามมาติดๆจะสูงขึ้นไปได้ถึง 290-310 เมตร แต่ในกรณีของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 7 ที่เตี้ยกว่า ความสูงทั้งหมดของตึกจะอยู่ใน “โซนบดอัด” ดังนั้นมันจึงถูกทำลายแหลกละเอียดหมด สมรรถภาพของการรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์ที่จะบดเหล็กและคอนกรีตนี้นับเป็นหนึ่งในคุณลักษณะเฉพาะตัวของมัน
  • ภาพฝุ่นบนผลไม้ที่ร้านค้าแผงลอย แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างของฝุ่นละอองละเอียดขนาดเล็กซึ่งปกคลุมไปทั่วทั้งเกาะแมนฮัตตันหลังการรื้อถอนเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ หลายคนเชื่อแบบผิดๆว่ามันคือ “ผงคอนกรีต” ตามที่บอกกัน ไม่ มันไม่ใช่เลย มันคือ “ผงของทุกสิ่งอย่าง” แต่โดยมากมาจากเหล็กที่ถูกบดละเอียด นอกเหนือจากการเข้าใจผิดทั่วไปแล้ว โครงสร้างของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ไม่ได้มีคอนกรีตมากเท่าไหร่ มีการใช้คอนกรีตเพียงจำนวนจำกัดในการทำแผ่นพื้นบางมากๆในการสร้างตึกแฝด มันไม่ได้ถูกใช้ในที่อื่นๆอีก ส่วนใหญ่ของตึกแฝดเป็นเหล็กกล้าไม่ใช่คอนกรีต ดังนั้นผงละเอียดนี้ส่วนใหญ่เป็นผงของเหล็กอย่างที่กล่าวมา แม้กระนั้นมันก็ไม่ใช้แค่ “ผงของเหล็ก” เพียงอย่างเดียว ยังเป็น “ผงของเฟอร์นิเจอร์” “ผงของไม้” “ผงของกระดาษ” “ผงของพรม” “ผงของชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์” และแม้กระทั่ง “ผงของคน” เนื่องจากผู้คนที่ยังคงอยู่ในตัวตึกถูกบดเป็นผุยผงแบบเดียวกับเหล็ก คอนกรีตและเฟอร์นิเจอร์
  • ควรจะเสริมด้วยว่านอกเหนือจากความไม่เพียงพออย่างเห็นได้ชัดของวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ความร้อน 150 กิโลตันสำหรับการบดละเอียดตึกระฟ้าที่สูงที่สุดทั้งหมด (ดังที่ปรากฎในตัวอย่างด้านบนที่ตึกแฝดที่ทำลายไปเพียง 80% ของความสูงทั้งหมดของตึก เหลือไว้แต่ส่วนบนสุดที่หนักและสมบูรณ์) วัตถุระเบิดนิวเคลียร์ของแรงระเบิดที่มากกว่าไม่สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์เนื่องจากเหตุผลทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว ปัญหาคือว่าตาม “สนธิสัญญาว่าด้วยการระเบิดทางนิวเคลียร์เพื่อสันติ ปี 1976” ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต แรงระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ที่ใช้ในวัตถุประสงค์ที่ไม่เกี่ยวกับทางการทหารถูกจำกัดเพียงแค่ 150 กิโลตันต่อการระเบิดนิวเคลียร์แต่ละครั้งและมากสุด 1.5 เมกาตันแรงระเบิดรวมของการระเบิดเป็นกลุ่ม
  • ดังนั้นอุตสาหกรรมการรื้อถอนด้วยนิวเคลียร์ต้องอยู่ภายในกรอบกฎหมายเหล่านี้ ในกรณีของการรื้อถอนเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์มีความเป็นไปได้ที่จะใช้วัตถุระเบิดมากเท่าที่จำเป็น แต่ไม่เกิน 150 กิโลตันต่อลูก นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมโครงการการรื้อถอนเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ด้วยนิวเคลียร์จึงประกอบไปด้วยระเบิดสามลูกด้วยแรงระเบิดรวม 450 กิโลตัน สำหรับผู้ที่ยังนึกภาพว่าระเบิด 150 กิโลตันแรงแค่ไหนไม่ออก สามารถนึกถึงระเบิดปรมาณูที่ถูกทิ้งที่เกาะฮิโรชิมาในปี 1945 ยังน้อยกว่า 20 กิโลตัน
  • ป.ล.ติดตามในบทต่อไป.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น