วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตอนที่ 2. การโค่นล้ม พันเอก.โมฮัมหมัด กัดดาฟี่ แห่งลีเบีย



การทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้าย ตบตาชาวโลก ของสหรัฐฯ และพันธมิตร
ตอนที่ 2. การโค่นล้ม พันเอก.โมฮัมหมัด กัดดาฟี่ แห่งลีเบีย.
  • ลิเบีย เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ มีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอียิปต์ไปทางตะวันออก ประเทศซูดานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศชาดและประเทศไนเจอร์ไปทางใต้ และประเทศแอลจีเรียและตูนิเซียไปทางตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อตริโปลี
  • ประเทศลิเบียมีพื้นที่เกือบ 1,800,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ในทวีปแอฟริกา และประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 17 เมืองหลวง กรุงตริโปลี มีชาวลิเบียอาศัยอยู่ 1.7 ล้านคน จากทั้งประเทศ 6.4 ล้านคน ตามข้อมูลสถิติเมื่อปี ค.ศ. 2009 ลิเบียมีดัชนี การพัฒนามนุษย์ (HDI) สูงที่สุดในแอฟริกา และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (อำนาจซื้อ) สูงสุดเป็นอันดับ 4 ในแอฟริกา ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณปิโตรเลียมสำรองขนาดใหญ่และจำนวนประชากรที่ค่อนข้างน้อย ลิเบียเป็นหนึ่งในสิบประเทศผลิตน้ำมันที่ร่ำรวยที่สุดในโลก
  • หลังจากที่ได้รับเอกราชจากอาณานิคม ของ อิตาลี่ มาเป็น "ราชอาณาจักรลิเบีย" เมื่อ ค.ศ. 1951 นับตั้งแต่ ค.ศ. 1969 เป็นต้นมา ลิเบียอยู่ภายใต้การปกครองของมูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี กลางเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 มีการประท้วงและการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลกัดดาฟี เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ฝ่ายกบฏสามารถควบคุมหัวเมืองและนครชายฝั่งได้หลายแห่ง โดยที่ฝ่ายที่สนับสนุนกัดดาฟี ยังคงควบคุมเมืองชายฝั่งบ้านเกิดของกัดดาฟี เมืองเซิร์ทและเมืองบานีวาลิคทางตอนใต้ ของกรุงตริโปลี[ วันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 2011 กองกำลังฝ่ายกบฏสามารถเข้ายึดครองกรุงตริโปลี ได้อย่างเบ็ดเสร็จ และสามารถขับไล่กัดดาฟีกับผู้สนับสนุนจน ต้องถอยร่นออกไปยังที่มั่นแห่งสุดท้ายคือเมืองเซิร์ท สงครามกลางเมืองระหว่างสองฝ่ายดำเนินมาถึงวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2011 ที่เมืองเซิร์ท ขบวนรถของกัดดาฟีและผู้ติดตามถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธ ของนาโต้ระหว่างการหลบหนี ผู้ติดตามถูกสังหารระหว่างการสู้รบ ขณะที่กัดดาฟี บาดเจ็บสาหัสถูกควบคุมตัวและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนมูตัสซิมบุตรชายของกัดดาฟีและอาบู บาค์ร ยูนิส อดีตรัฐมนตรีกลาโหม ก็ถูกสังหารเสียชีวิตในวันเดียวกัน
  • แม้รัฐบาลกัดดาฟีจะถูกโค่นล้มไป แต่ลิเบียก็ยังคงประสบปัญหาความขัดแย้ง หลังการเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 ลิเบียก็แตกออกเป็นสองฝ่าย 
  • โดยฝ่าย New General National Congress มีศูนย์กลางอยู่ที่ตริโปลี
  • ส่วนฝ่าย Council of Deputies ซึ่งเป็นรัฐบาลที่สหประชาชาติยอมรับ มีฐานอยู่ที่โตบรูค ทั้งสองฝ่ายรวมทั้ง "ฝ่ายรัฐอิสลาม 
  • the Islamic State = Isis"
  • ต่างก็สู้กันในสงครามกลางเมืองครั้งใหม่
  • การครอบครองอำนาจในการบริหารประเทศลิเบีย โดย กัดดาฟี่.
  • เมื่อปี ค.ศ. 1969 กัดดาฟี่ เข้าทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งนายทหารคนสนิทผู้บัญชาการกองพลน้อยทหารสื่อสาร (ยศร้อยเอก) และในปีเดียวกันนั้นเอง กัดดาฟี่กับคณะนายทหาร จึงได้ตกลงใจกันที่จะยึดอำนาจโค่นล้มรัฐบาลของลิเบีย ซึ่งลิเบียในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น กลายเป็นแหล่งดึงดูดมหาอำนาจตะวันตก เพราะได้มีการค้นพบบ่อน้ำมัน ในปี ค.ศ. 1959 ชนชั้นปกครองร่ำรวยล้นฟ้า บริษัทต่างประเทศเข้ามาขอสัมปทานน้ำมัน ตระกูลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในลิเบียถัดจากกษัตริย์ไอดริส ได้แก่ตระกูลเชลฮี ซึ่งกุมอำนาจสูงสุดทางการเมือง และจากความมั่งคั่งของชนชั้นปกครอง และความอดอยากยากจนของพลเมือง กัดดาฟีและคณะนายทหารของเขาจึงไม่อาจจะอดทนรอได้ต่อไป
  • วันที่ 1 กันยายน ปี ค.ศ. 1969 ขณะนั้นกษัตริย์ไอดริสเสด็จออกไปนอกประเทศ และในคืนนั้น นายทหารผู้ใหญ่ของกองทัพบกได้เชิญนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ มากินเลี้ยงกันเป็นการใหญ่ พอตกค่ำกัดดาฟี่ก็เคลื่อนกำลังเข้าจู่โจมจับกุมตัวนายทหาร และนายตำรวจเหล่านั้นได้ทั้งหมด จากนั้นนายทหารชั้นนายร้อยทั้งหลายก็แยกย้ายกันเข้ายึดเมืองตริโปลี และ เบงกาซี โดยใช้รถถัง และรถเกาะเข้ายึกสถานีวิทยุ ที่ทำการไปรษณีย์ และสถานที่สำคัญต่างๆ ตลอดจนค่ายทหารที่อาเซีย และพระราชวังด้วย
  • นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กองทัพบก และตำรวจแห่งชาติ ก็อยู่ภายใต้การบังคับการของกัดดาฟี่ เพื่อสะดวกแก่การบังคับบัญชา เขาได้เลื่อนยศตนเองเป็นนายพันเอก และดำรงค์ตำแหน่งประมุขสูงสุดของสาธารณรัฐลิเบีย และผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประธานสภาปฎิวัติ ซึ่งสภาที่มีอำนาจปกครองประเทศ ประกอบด้วยสมาชิก 12 คน ได้แก่นายทหารที่ร่วมคบคิดกันมา กับกัดดาฟี่
  • หลังจากยึดอำนาจจากรัฐบาลได้แล้ว กัดดาฟี ได้แก้ปัญหาเรื่องเอกราชก่อน โดยการไม่ยินยอมให้สหรัฐฯและอังกฤษตั้งฐานทัพ ในลิเบียอีกต่อไป มหาอำนาจทั้งสองจึงต้องถอนกำลังออกทั้งหมด แล้วจึงขึ้นค่าภาคหลวงน้ำมันขึ้นมาอีก 120 เปอร์เซนต์ และภายหลังได้โอนกิจการเกี่ยวกับปิโตรเลี่ยมทั้งหมด มาเป็นของรัฐ ยังผลให้ลิเบียเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดประเทศหนึ่งในสมัยนั้น จากนั้นกัดดาฟี่ ได้ใช้เงินที่ได้จากน้ำมัน พัฒนาโครงการเศรษฐกิจ และก่อสร้างบ้านเรือนที่ทันสมัย ตั้งแต่ ทศวรรษที่ 1980 ปรากฎว่ารายได้เฉลี่ยของชาวลิเบียสูงถึง 7000 เหรียญต่อปี
  • กัดดาฟี่ยึดรถยนต์เมอซีเดซ ที่เจ้านายและนักการเมืองในอดีตใช้กันอย่างหรูหรา ได้ถึง 600 คัน ส่วนตนเองใช้รถจี๊ปแลนด์โรเวอร์ และยังได้ลดเงินเดือนรัฐมนตรีลงครึ่งหนึ่ง ลดค่าเช่าบ้านเพื่ออยู่อาศัยของคนจนลง 1 ใน 3 หลักการปฎิวัติของกัดดาฟี่นั้น มีอยู่ในหนังสือที่เขาเขียนเอง ที่เรียกกันว่า Green Book ซึ่งเป็นการนำเอาหลักการต่างๆ ในพระคัมภีร์กุรอ่านมาปรับใช้ในโลกที่สมัยใหม่ ด้วยเหตุที่กัดดาฟี่ ไม่ยอมก้มหัวให้มหาอำนาจตะวันตก พวกตะวันตก จึงถือกัดดาฟี่ เป็นปฏิปักษ์ กัดดาฟี จึงต้องซื้ออาวุธจากโซเวียตเป็นจำนวนมาก ทั้งรถถัง เครื่องบิน ปืนใหญ่ และยุทโธปกรณ์อย่างอื่นอีก เพื่อป้องกันประเทศ จึงไม่แปลกเลยที่ ในสายตาของชาวลิเบีย และชาวอาหรับมากมาย กัดดาฟี่ คือวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของโลกอาหรับ แต่ในสายตาของรัฐบาลอเมริกา เขาคือปีศาจร้ายที่ต้องต้องทำลายให้สิ้น
  • ในระหว่างสงคราม ลิเบียย้ำไม่ได้ทำร้าย ปชช. ตามที่ ยูเอ็นระบุ รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศลิเบีย กล่าวว่า กองทัพลิเบียเพียงทำหน้าที่ป้องกันตนเอง ไม่ได้เป็นอย่างที่สหประชาชาติและชาติตะวันตกกล่าวหา ที่ว่ารัฐบาลของ พ.อ. โมอัมมาร์ กัดดาฟี ใช้ทหารทำร้ายประชาชน โดยเรียกร้องให้สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส ในนามพันธมิตร 3 ประเทศ หยุดโจมตีทางอากาศต่อลิเบีย ที่อ้างมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ให้บังคับใช้มาตรการห้ามบินเหนือน่านฟ้าลิเบีย
  • ขณะเดียวกัน โทรทัศน์ทางการลิเบีย เผยแพร่ภาพพลเรือนที่ได้รับบาดเจ็บในโรงพยาบาล โดยระบุว่า เป็นผลจากการโจมตีทางอากาศตลอด 5 คืนที่ผ่านมา โทรทัศน์ลิเบียอ้างด้วยว่า มีผู้เสียชีวิตแล้วหลายสิบคน สำนักข่าวจานาของรัฐบาลลิเบียเปิดเผยว่า การโจมตีของชาติพันธมิตรที่เขตอยู่อาศัยของประชาชน ทางตะวันออกของกรุง ตริโปลี ทำให้พลเรือนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รายงานข่าวอ้างเจ้าหน้าที่ทหารลิเบียกล่าวว่า การทิ้งระเบิดของนักล่าอาณานิคมผู้รุกราน ที่เขตทาจูร่า ในกรุงตริโปลี มุ่งเป้าไปที่เขตอยู่อาศัยส่งผลให้พลเรือนเสียชีวิตจำนวนมาก โดยเขตทาจูร่าถูกโจมตี 3 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 3 มีเป้าหมายไปที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยที่พยายามเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ออกจากซากปรักหักพัง ที่เกิดจากการโจมตีทางอากาศ 2 ครั้งแรก
  • ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์รัฐบาลลิเบีย รายงานว่า เครื่องบินรบชาติตะวันตกโจมตีกรุงตริโปลีและเมืองจาฟาร์ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีเป้าหมายทั้งพลเรือนและทหาร พร้อมอ้างว่าปฏิบัติการของกองทัพรัฐบาลเป็นเพียงการป้องกันตนเอง เมื่อถูกโจมตี ก่อน ไม่ใช่การโจมตีเชิงรุก
  • ที่กรุงตริโปลี เมืองหลวงของลิเบีย รัฐบาลลิเบียพาผู้สื่อข่าวไปตรวจโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงตริโปลี ที่มีร่างของพลเรือนและทหารรวม 18 คนถูกเผาไหม้เป็นจากขีปนาวุธหรือระเบิดที่มาจากเครื่องบินของชาติตะวันตก
  • ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ แห่งเวเนซุเอลา กล่าวประณามสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร ที่ใช้กำลังโจมตีลิเบีย และว่าสหรัฐฯ นั้นหวังผลประโยชน์ในด้านน้ำมันในลิเบีย พร้อมทั้งมีคำเตือนประธานาธิบดีบารัก โอบามาว่า อย่าได้คิดใช้กำลังเข้าแทรกแซงเวเนซุเอลา เหมือนกับที่ทำกับลิเบีย ซึ่งท่าทีของผู้นำเวเนซุเอลาสอดคล้องกับอีกหลายประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้
  • ทั้งนี้ ชาเวซ มีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับ พ.อ.โมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียมาอย่างยาวนาน และมักอ้างถึงการล่าอาณานิคมของสหรัฐฯ รวมทั้งประณามการทำสงครามทั้งในอิรัก และอัฟกานิสถาน
  • ซึ่งสถานการณ์ความวุ่นวายใน ภูมิภาคตะวันออกกลาง และแอฟฟริกา ที่มีทรัพยากรน้ำมัน ล้วนเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของสหรัฐฯ ที่เน้นหนักไปในการเข้าครอบครองทรัพยากรพลังงาน "พลังงาน" ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่เป็นยุทธปัจจัย สำคัญที่สุด ของประเทศอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันและแก๊ส สงครามในอิรักและซีเรีย นั้นไม่ใช่เรื่องของการโค่นล้มเผด็จการ เพื่อประชาธิปไตย หรือเพื่อสิทธิมนุษยชน ตามที่สหรัฐและสื่อตะวันตก ใช้กล่าวอ้าง หากแต่เป็นการต่อสู้กัน เพื่อแย่งชิงแหล่งพลังงาน โดยค่ายตะวันตกที่มีอเมริกาเป็นหัวโจก พยายามดำเนินเกมส์รุกเรื่องนี้มาตลอด เพราะตะวันออกกลางนั้น เป็นพื้นที่ๆอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ การเข้าไปมีอิทธิพลในย่านนี้ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ของสหรัฐ. พันธมิตร ที่ไว้ใจได้ของสหรัฐก็คือซาอุดิอาระเบียและประเทศ (กลุ่มอ่าว/การ์ต้า บาห์เรน สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์)ในแถบนั้น
  • ป.ล.เหตุการณ์ลุกขึ้นต่อต้าน การปกครองของกัดดาฟี่ นั่นคือตัวจุดชนวนความขัดแย้งในประเทศ ลิเบีย ที่อยู่ในช่วงเวลาของการปฏิวัติสี ในบริบทของการสนับสนุนฝ่ายต่อต้าน ในการโค่นล้ม รัฐบาลลีเบีย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น